กรมทรัพยากรธรณีแจง "หินโปร่งแสง" ที่ชาวบ้านพบเป็นแร่ควอตซ์ชนิดหนึ่ง

21 พ.ย. 63

กรมทรัพยากรธรณี ออกโรงชี้แจง "หินโปร่งแสง" ที่ชาวบ้านใน จ.เพชรบูรณ์ พบนั้น ที่จริงเป็นแร่ควอตซ์ชนิดหนึ่ง ที่ใช้ทำแก้วกระจกและขวดน้ำ แต่ถ้าควอตซ์ที่บริสุทธิ์สามารถนำมาใช้ทำเส้นใยไฟเบอร์ออพติกและไมโครชิพสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือนำมาถลุงเป็นธาตุซิลิคอนผลิตเป็นเซลล์แสงอาทิตย์หรือแผงโซลาร์เซลล์ได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ชาวบ้านพบก้อนหินประหลาดโปร่งแสง วอนผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ
- ชาวบ้านแห่ดู 'ก้อนหินโปร่งแสง' เชื่อเป็นของดีราคาแพง ลุยคุ้ยกองดินค้นหา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่นางจิระประไพ กองสงคราม อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 107 หมู่ 9 บ้านโคกสะอาด ต.กันจุ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ ได้จ้างรถแบ็กโฮมาขุดสระน้ำที่บริเวณหลังบ้าน และได้พบก้อนหินประหลาดมีลักษณะโปร่งแสง มีทั้งสีขาวเหมือนสารส้มและสีแดงเป็นจำนวนมาก โดยก้อนหินดังกล่าวมีรูปร่างหลากหลายรูปแบบ บางก้อนมีลักษณะคล้ายผลึกโปร่งแสง มีพื้นผิวที่มีความมันวาวสะท้อนแสงระยิบระยับสวยงามมาก

1605923606929

นางจิระประไพยังบอกอีกว่า สระน้ำที่จ้างรถแบ็กโฮมาขุดดังกล่าว มีเนื้อที่ประมาณ 2 งาน ความลึกประมาณ 8 เมตร เพื่อเตรียมสร้างบ้าน พอขุดลงไปได้ประมาณ 2-3 เมตร ก็พบหินอยู่บริเวณก้นสระน้ำ มีทั้งหินก้อนเล็กก้อนใหญ่เรียงรายอยู่เต็มไปหมด โดยหินก้อนที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างประมาณ 5-6 นิ้ว ยาวประมาณ 7-8 นิ้ว

และในขณะที่รถแบ็กโฮขุดได้มีเหตุการณ์ประหลาดมหัศจรรย์เกิดขึ้น เนื่องจากมีแสงไฟประหลาดพุ่งสะท้อนขึ้นมาจนคนขับรถแบ็กโฮต้องมาถามเจ้าของที่ดินว่าแถวนี้เจ้าที่แรงหรือไม่ เพราะมีแสงไฟปริศนาประหลาดพุ่งขึ้นมา และมีบางช่วงรถแบ็กโฮไม่สามารถขยับเขยื้อนที่ได้เลย คนขับรถแบ็กโฮจึงเอาก้อนหินมาให้เจ้าของที่ดู ซึ่งตนก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคือหินอะไรส่ วนตัวไม่เคยพบเห็นหรือเจอมาก่อนจึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น

1605923621992

ล่าสุด กรมทรัพยากรธรณีได้มีหนังสือชี้แจงว่า หินประหลาดโปร่งแสงที่ชาวบ้านขุดพบคือ แร่ควอตซ์ชนิดหนึ่ง ที่มีชิซิกาเป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติ จะมีสีขาวโปร่งแสงและใสเหมือนกระจก หากเป็นผลึกจะเรียกว่าหินเขี้ยวหนุมาน โดยธรรมชาติแร่ควอตซ์จะมีหลายสี หากสีม่วงเรียก Amethyst สีเหลืองเรียก Citrine เป็นต้น คุณสมบัติของแร่ควอตซ์มีความคงทนต่อการถูกทำลายสูงมีความแข็งเท่ากับ 7 (เพชรความแข็งเท่ากับ 10) ในธรรมชาติเมื่อแร่ควอตซ์ผุพังถูกกัดเซาะทำลายจะแตกสลายเป็นเม็ดกรวดทรายปะปนอยู่ในดินทั่วไปรวมทั้งสันทรายหรือชายหาด

ด้าน ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์กล่าวว่า จากการตรวจสอบของกรมทรัพยากรธรณีพบว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ตะกอนน้ำไหลจึงทำให้มีโอกาสพบหินแปลกๆ ตามที่ชาวบ้านเห็น แถบนี้ถ้าขุดไปก็น่าจะเจออีกถ้าเอาไปขายทั่วไปก็ ไม่น่าจะมีราคา นอกจากว่าชาวบ้านจะเอามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน มาเจียระไนเป็นหัวแหวน ก็ต้องมีเครื่องมือ มีการลงทุน และต้องมีลวดลาย มีสีสัน รวมทั้งไม่ใช่อัญมณีที่คนนิยมใช้ทั่วไป

1605923666087

ส่วนประโยชน์ของแร่ควอตซ์นำมาหลอมในอุตสาหกรรมแก้ว กระจก ขวดน้ำ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ทรายแก้วที่ได้จากการผุพังและสะสมตัวของควอตซ์สำหรับควอตซ์ที่บริสุทธิ์นำมาใช้ทำเส้นใยไฟเบอร์ออพติกและไมโครชิพสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือนำมาถลุงได้ธาตุซิลิคอน (Si) ซึ่งนำธาตุโลหะชิลิคอนมาผลิตเซลล์แสงอาทิตย์

สำหรับประเด็นที่ว่ามีแสงพุ่งขึ้นมาตอนที่รถแบ็กโฮกำลังขุดดินนั้น น่าจะเกิดจากตัวตักของรถแบ็กโฮที่เป็นเหล็กกระทบกับหินที่เป็นควอตซ์ที่แข็งกว่าจนทำให้เกิดประกายไฟแลบ ลักษณะเช่นเดียวกับเวลาที่มีโลหะขูดกับถนนนั่นเอง

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ