พี่ชายรับสาวสวิฟท์แดงเคยคบหนุ่มขับรถพยาบาล-กู้ภัยโชว์หักหลบเก๋ง คนเจ็บโคม่า (คลิป)

13 เม.ย. 61
จากกรณีมีการเผยแพร่คลิปวีดีโอ รถยนต์ซูซูกิ สวิฟท์ สีแดง กีดขวางรถพยาบาล ขณะนำผู้ป่วยขั้นวิกฤตไปส่งใน จ.นครราชสีมา โดยเจ้าหน้าที่ประจำรถพยาบาลคันดังกล่าว ให้ข้อมูลว่า ขณะเกิดเหตุ รถพยาบาลได้มีการเบรกกะทันหัน ทำให้ผู้ป่วยเกือบจะตกเตียงในรถ อีกทั้งระบุว่า หากมีการขับเบี่ยงซ้ายและขวา อาจจะทำให้ผู้ป่วยร่วงลงจากเตียงได้ ซึ่งวันนี้ (12 เม.ย.) พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ออกหมายเรียก น.ส.จิราพร จุ้ยเสงียม เจ้าของรถเก๋งสีแดง เพื่อมารับทราบข้อกล่าวหาในความผิด กรณีที่เห็นรถฉุกเฉินแล้วไม่หลีกทางให้ ซึ่งมีโทษปรับ 500 บาท (อ่าน: ตร. ออกหมายเรียก “สาวเก๋งแดง” รับทราบข้อกล่าวหา โทษปรับ 500 บาท) [caption id="attachment_182713" align="aligncenter" width="640"]
_snapshot_00.50_2018.04.09_22.25.25-1024x576.jpg" alt="" width="640" height="360" /> คลิปที่มีการเผยแพร่บนโลกโซเชียล[/caption] อย่างไรก็ตาม ทีมข่าวอมรินทร์ ทีวี ได้จำลองสถานการณ์ กรณีที่รถกู้ชีพต้องใช้ความเร็วในชั่วโมงเร่งด่วน หากต้องพาผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาลว่าจะเกิดอะไรขึ้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ขับรถด้วยความเร็ว 130-140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งหากขับด้วยความเร็วประมาณนี้บนถนนทางตรง รถก็ยังคงนิ่ง สามารถประคองและปฐมพยาบาลผู้ป่วยได้ด้วยการนั่ง หากรถเบรกกะทันหัน จะทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมและช่วยเหลือผู้ป่วยได้ แต่ผู้ป่วยยังคงนอนถูกล็อกอย่างแน่นหนา
เจ้าหน้าที่สาธิตนำคนเจ็บขึ้นบอร์ด
แต่หากเป็นชั่วโมงเร่งด่วน จำเป็นต้องมีการขับเบียดแซงซ้ายหรือขวา และขับหลบสิ่งกีดขวางที่อยู่ข้างหน้า จะทำให้ภายในรถค่อนข้างที่จะควบคุมหรือดูแลผู้ป่วยยากลำบากพอสมควร หรือแทบจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ แต่ในส่วนของตัวผู้ป่วยยังคงอยู่บนเตียงตามปกติ เพราะด้วยระบบการล็อก และระบบเป็นที่ยึดบนรางล้อของตัวรถยังคงช่วยกันยึดตัวผู้ป่วยเอาไว้
เจ้าหน้าที่สาธิตดูแลคนเจ็บบนรถพยาบาลฉุกเฉิน
ส่วนกรณี หากขับด้วยความเร็ว 60-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การเหวี่ยงของตัวรถก็จะน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือขับเบียดแทรง ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปกติ แต่อาจจะมีเหวี่ยงบ้างเล็กน้อย ส่วนการหยิบจับเครื่องมือก็พอจะหยิบได้สะดวก
เจ้าหน้าที่สาธิต การดูแลคนเจ็บ ในขณะขับรถความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง
อีกทั้งตัวเตียงนอนของผู้ป่วยไม่สั่นคลอน ส่วนเครื่องมือ ที่ต้องใช้วัดหรือปฐมพยาบาลคนป่วยนั้น ด้วยสภาพพื้นที่ในรถค่อนข้างแคบ หากมีเจ้าหน้าที่อยู่บนรถมากว่า 2 คน ก็จะแน่น อีกทั้งเวลาเกิดการโยกของตัวรถ ก็จะทำอุปกรณ์ที่ติดตั้ง เช่น สายวัดความดัน สายออกซิเจน อาจจะเกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือตัวของเจ้าหน้าที่ได้ ด้านพี่ชายของนางสาวจิราพร จุ้ยเสงี่ยม หรือ แก้ว คนขับรถยนต์ซูซูกิสวิฟต์ สีแดง เปิดเผยว่า น้องสาวไม่ได้กลับมาที่บ้าน ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่า ตัวน้องสาวไม่อยากทำให้ครอบครัวไม่สบายใจ จึงไม่ติดต่อมา มีเพียงส่งข้อความมาขอโทษที่ทำให้ครอบครัวเดือดร้อนเท่านั้น
นางสาวจิราพร จุ้ยเสงี่ยม ผู้ขับรถเก๋งคันสีแดงในคลิป
โดยก่อนหน้านี้ น้องสาวเคยเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ตนฟังแล้ว ซึ่งตนไม่ได้ทราบรายละเอียดทั้งหมด ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปมชู้สาวนั้น ยอมรับว่า น้องสาวตนเคยเป็นแฟนเก่าของนายจิรากร แซ่ตั้ง หรือ เอส หัวหน้ารถพยาบาลจริง แต่เลิกกันไปประมาณ 2-3 ปีแล้ว ส่วนรายละเอียดขอให้น้องสาวตนเป็นผู้พูดด้วยตัวเอง ขณะนี้ครอบครัวค่อนข้างเครียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงไม่ขอให้สัมภาษณ์ใดๆ เพิ่มเติม

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ