กระทรวงคมนาคม เรียกร้อง กทม.ชะลอปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว สูงสุด 104 บาทตลอดสาย จนกว่าจะได้ข้อยุติร่วมกันเพื่อไม่ให้เป็นภาระประชาชน
วานนี้ (16 ม.ค.2564) จากกรณีกรุงเทพมหานคร มีประกาศปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว สูงสุด 104 บาทตลอดสาย ต่อมา กระทรวงคมนาคม เรียกร้องให้ กทม.ชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว จนกว่าจะมีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่าย
กระทรวงคมนาคม ระบุว่า เป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เป็นภาระค่าเดินทางแก่ประชาชน โดยขาดการดำเนินการตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2561 ในคราวที่เห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สายสีเขียวส่วนต่อขยาย ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกับ กทม.ที่ได้กำหนดให้กระทรวงคมนาคมบูรณาการร่วมกับ กทม.ในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "บีทีเอส" ทวงค่าเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 8,000 ล้าน กทม.รับไม่มีเงินจ่าย
- "บีทีเอส" แจงไม่เคยขู่หยุดวิ่งสายสีเขียว ลุ้นครม.ต่อสัมปทาน
- "ชัชชาติ" ซัด กทม.จ้างวิ่งรถไฟฟ้าให้นั่งฟรี จนหนี้ท่วม 9 พันล้าน แต่ไม่รู้เอางบไหนจ่าย
- กทม.ชี้แก้สัมปทาน "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" ช่วยลดค่าโดยสารได้สูงสุดเหลือ 65 บาท
ทั้งนี้ ในเรื่องขอการปรับแก้ไขสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวตามที่ กทม.ได้พิจารณานำเสนอ ครม. ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมมีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย และ กทม.เพื่อขอเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลการศึกษาของโครงการ แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต้นทุนของโครงการ และเอกสารอื่นๆ เพื่อนำมาศึกษาและให้ความเห็นต่อ ครม.เพื่อให้เกิดการลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 65 บาท ที่ กทม.เสนอใช้เป็นฐานถึงปี พ.ศ.2602 (38 ปี) ลงเหลือไม่เกินอัตราแนวทางที่ระบบรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคมกำหนดใช้ เช่น สีน้ำเงิน สีชมพู สีเหลือง สีม่วง ที่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ 42 บาท แต่กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกันเพื่อลดอัตราค่าใช้จ่ายของประะชาชนต่อไป
Advertisement