พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีสัดส่วนการผลิตที่มาจากก๊าซธรรมชาติสูงที่สุดคือร้อยละ 59 ของพลังงานทั้งหมด รองลงมาเป็นพลังงานถ่านหิน ร้อยละ 23 ส่วนพลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 15 ของทั้งหมด (ข้อมูลสะสมเดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2563)
.
ซึ่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ในอนาคตจะพึ่งพาก๊าซธรรมชาติได้น้อยลง หรืออาจจะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นคงของพลังงานไฟฟ้าในประเทศ หากอยากมีไฟฟ้าใช้ไปนานๆ ก็ต้องร่วมกันประหยัดไฟ ใช้อย่างรู้คุณค่า
.
ขณะที่สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศยังคงน้อย เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่หันมาให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาลดโลกร้อน อย่างเช่นประเทศแคนาดา สวีเดน เดนมาร์ก และนิวซีแลนด์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากลมและแสงอาทิตย์ ได้ถึง 60% ของกำลังการผลิตทั้งประเทศ
.
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือ กกพ. มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการพลังงานให้มีความยั่งยืน มีความโปร่งใส และมีความเป็นธรรม และมีนโยบายสนับสนุนให้ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน ในประเทศไทยเองได้มีการสนับสนุนพลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ซึ่งมีตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จจากการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในหลายแห่ง อาทิ โครงการกองทุนแสงอาทิตย์ โครงการโซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาลจะนะ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ อ. นาทวี (จ. สงขลา) เป็นต้น
..
#CLEANENERGYFORLIFE #ใช้พลังงานสะอาดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน
#คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน #กกพ. #กองทุนพัฒนาไฟฟ้า #พลังงานสะอาด