กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยประชาชนที่มีปัญหา นอนไม่หลับ นอนหลับไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ โรคประจำตัว เพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน แนะหลัก 10 ประการช่วยให้หลับเพียงพอและ มีคุณภาพ สร้างสุขอนามัยที่ดีในการนอนกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยประชาชนที่มีปัญหา นอนไม่หลับ นอนหลับไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ โรคประจำตัว เพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดอุบัติบนท้องถนน แนะหลัก 10 ประการช่วยให้หลับเพียงพอและ มีคุณภาพ สร้างสุขอนามัยที่ดีในการนอน
"กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่" ทำ Sleep Test พบหยุดหายใจระหว่างนอนหลับไป 109 ครั้งต่อชม.
นายแพทย์บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลกได้กำหนดให้วันศุกร์ในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคมทุกปี เป็นวันนอนหลับโลก (World Sleep Day) ซึ่งในปี 2564 นี้ กำหนดคำขวัญ “Regular Sleep Healthy Future” เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการนอนหลับ และประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนอน และเป็นโอกาสที่จะเผยแพร่ความรู้และพยายามส่งเสริมสุขภาพด้วยการนอน โดยปีนี้สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยร่วมมือกับกรมอนามัยจัดงานวันนอนหลับโลกในประเทศไทย ภายใต้คำขวัญที่ว่า “หลับตื่นให้เป็นเวลา สุขภาพดีกว่าในอนาคต” เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงการนอนหลับที่เพียงพอและสุขอนามัยการนอนที่ดีทุกช่วงวัย
เนื่องจากการนอนหลับไม่เพียงพอ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ โรคประจำตัว ภาวะภูมิต้านทานต่ำ และเพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งพบว่าคนไทยร้อยละ 30 มีปัญหานอนไม่หลับช่วงกลางคืนหรือหลับไม่เพียงพอแบบไม่มีคุณภาพ และร้อยละ 10 ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีปัญหาการนอนไม่หลับเรื้อรัง โดยร่วมกันจัดทำคู่มือการนอนหลับเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับประชาชนทุกกลุ่มวัย ส่งเสริมให้มีสุขอนามัยการนอนหลับที่ดี มีระยะเวลาในการนอนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ได้แก่ เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3–5 ปี ควรมีระยะเวลาในการนอน 11-13 ชั่วโมง เด็กวัยเรียนอายุ 5-10 ปี ควรมีระยะเวลาในการนอน 10-11 ชั่วโมง วัยรุ่นอายุ 10–17 ปี ควรมีระยะเวลาในการนอน 8.5-9.5 ชั่วโมง วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุควรมีระยะเวลาในการนอน 7-9 ชั่วโมง
“สำหรับวิธีการที่ช่วยให้หลับเพียงพอและสุขอนามัยที่ดีในการนอนหลับ (Sleep hygiene) สามารถปฏิบัติได้ตามหลัก 10 ประการ ดังนี้
1) รับแสงแดดให้เพียงพอในตอนเช้าอย่างน้อย 30 นาที
2) นอนงีบในเวลากลางวัน ไม่ควรเกิน 30 นาที
3) ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4) หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน หรืออาหารมื้อหนักอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน
5) หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน
6) เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวัน
7) ห้องนอนมีอุณหภูมิที่เหมาะสม เตียงที่นอนต้องสบาย
8) ผ่อนคลาย ไม่วิตกกังวลก่อนนอน
9) ใช้ห้องนอนเพื่อนอนเท่านั้น
10) หากนอนไม่หลับภายใน 30 นาที ให้อ่านหนังสือหรือฟังเพลงเบา ๆ
ทั้งนี้ กรมอนามัยและสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยจะร่วมมือกันส่งเสริมให้คนไทย ทุกกลุ่มวัยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องการนอนหลับ ปฏิบัติตามสุขอนามัยการนอนหลับที่ดี 10 ประการ เพื่อแก้ปัญหาการนอนไม่เพียงพอและนอนไม่มีคุณภาพของคนไทย ให้มีสุขภาพที่ดีทุกกลุ่มวัยต่อไป” รองอธิบดี กรมอนามัย กล่าว
เห็นถนนเป็นบ้าน! ลุงเมา นอนหลับสนิทกลางทาง 4 เลน
จับแล้ว 2 แม่ลูก บดยานอนหลับเจ้าอาวาส ฉกเงินวัด อ้างป่วยทางจิต
Advertisement