สื่อนอก ห่วงพาหมูป่าดำน้ำออกถ้ำอันตราย - กูรู ชี้ สอน 2 วันเป็น ต้องใส่ “เว็ทสูท” (คลิป)

5 ก.ค. 61
จากกรณีที่เจ้าหน้าที่หน่วยซีลจะนำ Full face mask หรือ หน้ากากดำน้ำแบบเต็มหน้า อุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ช่วยชีวิตทีมหมูป่า ดำน้ำออกจากถ้ำหลวง เมื่อสภาพร่างกายพร้อมและผ่านการฝึกฝนจนมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาระหว่างทาง โดยระยะเวลาการฝึกขึ้นอยู่กับทักษะของแต่ละคน ซึ่งสิ่งที่ต้องระวังคือ เจ้าหน้าที่จะต้องสอนวิธีแก้ปัญหา หากน้ำในถ้ำมีกระแสแรงจนเข้าไปในหน้ากาก และสอนการเปลี่ยนการหายใจโดยใช้ปากแทน วันที่ 4 ก.ค.61 รายการต่างคนต่างคิด ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์อมรินทร์ ทีวี ช่อง 34 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 18.20 น. ได้เชิญ นายเฉลิมพนธ์ หงษ์ยันต์ ประธานชมรมกู้ภัยทางน้ำ ภาค 7, นายศุภโชค แย้มชื่น เจ้าหน้าที่ชมรมกู้ภัยทางน้ำ ภาค 7 และนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายร่วมพูดคุยในรายการ โดยนายเฉลิมพนธ์ เล่าว่า ตอนแรกที่ทราบว่าต้องเข้าไปร่วมปฏิบัติการค้นหาเด็กทั้ง 13 คน ต้องศึกษาดูแผนที่ของถ้ำ แล้วเดินเท้าเข้าไปสำรวจโครงสร้างภายในถ้ำว่าเป็นอย่างไร ตลอดระยะเวลา 8 วันที่ต้องดำน้ำด้วยการนำถังอากาศ ไฟฉาย เชือกและตีนกบ นำเข้าไปด้านในถ้ำหลวง ที่มีความคับแคบและพบอุปสรรคในเรื่องของน้ำที่ไหลเชี่ยวตลอดเวลา ทำให้ทัศนวิสัยในการมองไม่ค่อยสู้ดีนัก แม้แต่ไฟฉายที่สวมไว้ก็ให้ระยะในการมองเห็นเพียงแค่ฝ่ามือเดียว ประกอบกับระยะทางที่เข้าไป ต้องเดินสลับดำน้ำ ปีนและมุดตามซอกหิน จึงต้องค่อย ๆ คล้ำตามผนังถ้ำคล้ายกับคนตาบอด ยอมรับว่ามีบางช่วงที่ศีรษะกระแทกกับโขดหิน
นายศุภโชค แย้มชื่น เจ้าหน้าที่ชมรมกู้ภัยทางน้ำ ภาค 7 สาธิตวิธีการสะพายถังอากาศ
นายเฉลิมพนธ์ ได้สาธิตวิธีการดำน้ำภายในถ้ำด้วยอุปกรณ์ถังอากาศที่ต้องสะพายไว้ด้านหลัง แล้วนำอุปกรณ์ช่วยหายใจสวมเข้าที่บริเวณปาก พร้อมกับแบกถังอากาศอีกหนึ่งลูกที่มีน้ำหนักประมาณ 10-20 กิโลกรัม เข้าไปเพื่อรอยกับเชือกที่จะส่งต่อให้กับหน่วยซีล แต่ถ้าเชือกที่ส่งต่อเรืองแสง และมีแท่งเรืองแสงจะส่งผลดีในการมองเห็น โดยสำหรับถังอากาศ 1 ใบ อยู่ได้ประมาณ 1 ชั่วโมง ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องมีการคำนวณระยะเวลาให้ดี นอกจากนี้ ถ้าเจออุปสรรคในเรื่องของหินที่ขวางทาง กู้ภัยต้องถอดชุดออกแล้วนอนคว่ำหน้า ดันถังอากาศไปข้างหน้า ถ้าถังอากาศหลุด ต้องควานหากลับมา ผู้ที่ดำน้ำต้องมีสมาธิ ทำใจให้นิ่ง และไม่ตื่นตระหนก วินาทีที่ดำน้ำ ภายในใจตนคิดแค่ว่า "ต้องโผล่ไปเจอน้อง" แต่ตนไปไม่ถึงจุดที่เด็กทั้ง 13 คนอยู่ เพราะหน่วยซีลได้ให้พวกตนออกมาก่อน ซึ่งพวกตนต้องปฏิบัติตาม
Full face mask หรือ หน้ากากดำน้ำแบบเต็มหน้า
ส่วนหน้ากากดำน้ำแบบเต็มหน้า เป็นอุปกรณ์พิเศษที่สามารถจ่ายอากาศได้ 2 ช่องทางและหายใจได้เหมือนอยู่บนบก ถังอากาศ 1 ถัง สามารถใช้ได้ 2 คน โดยมีรูเสียบเชื่อมต่ออยู่ ถ้าหากเด็กจะออกมาต้องจับคู่กับเจ้าหน้าที่ด้วยวิธีการเกาะแขนออกมา ซึ่งเด็กต้องได้รับการฝึกฝนในเรื่องการเคลื่อนตัวมาพอประมาณ เพราะช่วงที่ดำน้ำ หากถังอากาศหมด ต้องถอดเพื่อเสียบกับถังอากาศใหม่ ประกอบกับระยะทางที่จะออกไปหน้าถ้ำเป็นระยะทางไกล โดยช่วงเวลานี้ อยากให้เด็กเรียนรู้การดำน้ำ เนื่องจาก ถ้าไม่มีการฝึกซ้อมเด็กอาจเกิดความหวาดกลัว แล้วเมื่อเจอสถานการณ์จริงเกิดตกใจจนถอดหน้ากากดำน้ำออกถือเป็นเรื่องที่อันตราย ดังนั้นจึงไม่สามารถเร่งให้เด็กออกมาจากถ้ำได้ โดยทางหมอเป็นผู้ประเมินว่าเด็กควรจะออกมาพร้อมกันหรือไม่
Full face mask หรือ หน้ากากดำน้ำแบบเต็มหน้า เมื่อเสียบเข้ากับถังอากาศ
ทั้งนี้ นายเฉลิมพนธ์ เผยว่า วินาทีที่ทราบข่าวว่าเจอเด็กทั้ง 13 คน ตนถึงขั้นน้ำตาไหล เพราะถือว่าประสบความสำเร็จในการช่วยชีวิตคน เนื่องจาก หน้าที่ตนคือต้องนำคนเป็นออกมา ถ้าไม่ได้คนเป็นออกมาถือว่าภารกิจของพวกตนล้มเหลว หลังจากนี้ถ้าหากเจ้าหน้าที่ต้องการความช่วยเหลือ ตนพร้อมเดินทางกลับไปทันที ซึ่งสาเหตุที่เดินทางกลับมาเพราะแม่ของตนป่วย ด้านนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เผยว่า การสูบน้ำยังคงเป็นไปได้ดี ระดับน้ำในถ้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 1 เซนติเมตรต่อชั่วโมง เป็นที่น่าพอใจ และจุดที่เป็นช่วงคอขวดที่มีความยาวขนาด 8 เมตร ทำให้เป็นปัญหาในเรื่องการขนย้ายอุปกรณ์ สามารถสูบน้ำช่วงนั้นได้หมดแล้ว ส่วนเรื่องของการเคลื่อนย้ายเด็กออกมา ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย แต่เด็กที่อยู่ในถ้ำตอนนี้ ได้กินอาหารพาวเวอร์เจล แต่สิ่งที่น่ากลัวตอนนี้คือเรื่องฝน เพราะถ้าหากมีน้ำไหลเข้ามา เจ้าหน้าที่ต้องดูจุดที่ทำให้น้ำซึม เพื่อเบี่ยงเบนทางน้ำไปจุดอื่นแทน
นายเฉลิมพนธ์ หงษ์ยันต์ ประธานชมรมกู้ภัยทางน้ำ ภาค 7
ภายหลังจากจบรายการต่างคนคิด นายเฉลิมพนธ์ เปิดเผยว่า อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมเข้าไปให้กับเด็กทั้ง 13 คน คือ เว็ทสูท หรือ อุปกรณ์เพื่อช่วยให้ไม่หนาวเมื่ออยู่ใต้น้ำ, ฮู้ด และรองเท้า เพื่อป้องกัน ไม่ให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บจากโขดหิน ส่วนตัวคิดว่าถ้าจะสอนเด็กที่ไม่เคยเรียนการดำน้ำมาก่อน อาจต้องใช้เวลาประมาณ 2 วัน แต่เรื่องการประเมินสถานการณ์ระดับน้ำที่จะช่วยเด็กให้ออกมาได้อย่างปลอดภัย ถ้าหากฝนไม่ตก คาดว่าใช้เวลาประมาณ 7 วัน [caption id="attachment_221473" align="aligncenter" width="640"]
_snapshot_00.07_2018.07.05_00.22.56-1024x576.jpg" alt="" width="640" height="360" /> เว็ทสูท ชุดสำหรับใส่ดำน้ำ[/caption] [caption id="attachment_221474" align="aligncenter" width="640"]
_snapshot_00.01_2018.07.05_00.22.42-1024x576.jpg" alt="" width="640" height="360" /> เว็ทสูท ชุดสำหรับใส่ดำน้ำ[/caption] นอกจากนี้ นายสิริชัย เกตุแก้ว หรือ ครูเอก SDI Instructor ครูสอนดำน้ำ ชมรมนักดำน้ำกรุงเทพ (BDC) กล่าวว่า การดำน้ำในลักษณะที่เด็ก ๆ จะใช้นั้น เรียกกว่าการดำแบบสคูบ้า คือการใช้เครื่องช่วยหายใจเหมือนกับนักดำน้ำ แต่แตกต่างกันที่อุปกรณ์ ซึ่งนักดำน้ำจะใช้หน้ากากครอบครึ่งใบหน้า ตั้งแต่ตาไปถึงจมูก ไม่คลุมปาก ส่วนปากต้องคาบเซอร์เคิลสเตท เพื่อเอาอากาศเข้าไป ซึ่งตรงนี้ต้องฝึกหายใจ เพราะว่าจะต้องหายใจทางปากเท่านั้น
สิริชัย เกตุแก้ว หรือ ครูเอก SDI Instructor ที่ ชมรมนักดำน้ำกรุงเทพ (BDC)
แต่ถ้าเป็นหนักกากแบบเต็มใบหน้า ที่ถูกออกแบบมาให้ครอบทั้งใบหน้า ตั้งแต่ตาไปถึงปาก ทำให้สามารถหายใจได้ทั้งทางปากและจมูก คล้ายกับการหายใจปกติ ทั้งนี้ แม้ว่าจะง่ายกว่า แต่สิ่งที่ต้องฝึกเด็ก ๆ คือวิธีการหายใจ
ทีมข่าวทดลองการสวมหน้ากากดำน้ำ
ครูเอก ให้ความรู้เรื่องการหายใจ โดยระบุว่า ต้องหายใจช้า ๆ เพราะถ้าหายใจออกเร็วเกินไป จะมีการคั่งค้างของคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งในถังอากาศนี้มีออกซิเจน 21 %, ไนโตรเจน 79 % เมื่อหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป ก็จะเปลี่ยนเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งถ้าหายใจเร็วจากการตกใจ อาจจะเกิดการคั่งค้างของคาร์บอนไดออกไซด์ในปอด และอาจจะทำให้เด็กเกิดอาการหน้ามืดได้ โดยการเรียนดำน้ำแบบสคูบ้า ต้องเริ่มจากการสอนน้อง ๆ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจให้เป็น แต่ถ้าน้องหายใจไม่เป็น จะทำให้ใช้อากาศในถังเปลือง โดยถังอากาศขนาด 21 ลิตร กับความลึก 2-3 เมตร ถ้าหายใจเป็น ดำน้ำได้นานถึง 2-3 ชั่วโมง
อุปกรณ์การดำน้ำ
อุปกรณ์การดำน้ำ
นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ต้องรู้ คือครูต้องสอนให้เด็ก ๆ เคลียร์หูให้เป็น ในทุกระยะความลึก ถ้าหากเราลงไปในน้ำแล้วรู้สึกตึง หรือเจ็บหู ก็ต้องเคลียร์หูตลอด วิธีการคือการอุดปาก อุดจมูก และพ่นลมหายใจออกแรง ๆ จนไม่รู้สึกเจ็บหู ส่วนการดำน้ำแบบสคูบ้า ในเด็กอายุ 11-12 ปีนั้น ความต่างก็จะเป็นเรื่องขนาดของอุปกรณ์จะเล็กลง ความลึกที่สามารถดำได้ไม่เกิน 12 เมตร แต่ถ้าอายุเกิน 15 ปี จะดำน้ำไม่เกิน 18 เมตร ซึ่งถ้าเด็ก ๆ ดำน้ำออกมา ก็จะเป็นการดำน้ำในลักษณะปีนป่ายหิน เกาะเชือก สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญดูแล เพราะน้องต้องเจอกับกระแสน้ำ และน้ำที่มีลักษณะขุ่น มองไม่เห็นทาง อาจจะเกิดความตกใจได้ ส่งผลให้ตื่นเต้นและหายใจแรง ก็จะเกิดปัญหามีคาร์บอนไดออกไซด์ค้างในปอด ส่วนเวลาที่ใช้ในการสอนนั้น ขึ้นอยู่กับเด็กว่าเรียนรู้ได้เร็วหรือไม่ แต่จากประสบการณ์การสอนที่ผ่านมา เด็ก ๆ จะเรียนรู้ได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ประกอบกับน้องเป็นนักกีฬา และร่างกายแข็งแรง จึงเชื่อว่าน้อง ๆ น่าจะเรียนรู้ได้เร็วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็น่าจะเป็นแล้ว ทั้งนี้ การดำน้ำของน้อง ๆ จะเป็นการช่วยระยะหนึ่งเท่านั้น ซึ่งหลังจากพ้นจุดที่น้ำเต็มทางเดิน น้องก็สามารถถอดหน้ากากออกได้ ส่วนตัวเชื่อว่าการดำน้ำออกมา เป็นวิธีที่เร็วอีกวิธีหนึ่ง

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ