พี่ชาย อัพ นำทีมตั้งกลุ่มอาสา เส้นด้าย ช่วย ปชช.ที่ไม่มีเส้น ฝ่าวิกฤติ โควิด19

27 เม.ย. 64
รอราชการไม่ไหว พี่ชาย อัพ นำทีมตั้งกลุ่มอาสา เส้นด้าย ช่วยเหลือประชาชนด้วยกันเอง ฝ่าวิกฤติ โควิด19
วันที่ 27 เม.ย.64 ท่ามกลางการแพร่ระบาด โควิด19 อย่างหนักในประเทศไทย เคสผู้ป่วยที่ยังรอการรักษาอยู่ที่บ้านมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซ้ำเคสตายคาบ้านที่สร้างความหดหู่ใจให้กับคนในสังคม จนล่าสุดได้เกิดกลุ่มจิตอาสาที่มีคนในครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากการป่วยโควิด19 และเข้าถึงการรักษาช้า อย่างคุณ อัพ อดีตนักกีฬาอีสปอร์ต เข้าร่วมด้วย โดยใช้ชื่อว่า "เส้นด้าย" ขึ้น
โดย เพจดังกล่าวได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความการเปิดตัวว่า จากวิกฤตการณ์โควิด 19 ที่ปรากฏในสังคมที่ทำให้เกิดกรณี “อาม่า” “คุณอัพ” รวมถึงเคสคนติดโควิดหนีขึ้น “แท็กซี่สีชมพู” ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยในประเด็นเรื่องอภิสิทธิ์ของคนบางกลุ่ม และข้อจำกัดในการเข้าถึงทรัพยากรของประชาชนจนทำให้มีผู้เสียชีวิตในอีกหลายกรณี
ความไม่พร้อมและมาตราฐานที่ไม่ชัดเจนในการบริหารงานของผู้มีอำนาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงการรักษาที่แตกต่างกันของประชาชน หรือแม้แต่สวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ต้องทำเพื่อป้องกันสาธารณชน เช่น การรับส่งผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโควิด 19 รัฐก็ไม่สามารถจัดหาให้ได้
เรื่องนี้เป็นเรื่องความเป็นความตาย ประชาชนไม่อาจรอทางราชการได้ เราทุกคนในฐานะประชาชนที่พอจะกำลัง จึงต้องลงมือทำทันที ผมและเพื่อน ๆ ในหลายวงการจึงขอจัดตั้งกลุ่มประชาชนอาสาเพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงในการพาสังคมให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ โดยมีภารกิจดังนี้
- จัดเตรียมรถ นำส่งผู้ป่วยโควิด - 19 ที่ต้องการไปรักษาที่ร.พ. แต่ไม่สามารถ เดินทางไป โรงพยาบาลได้เอง
- จัดเตรียมรถ นำส่งผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดโควิด - 19 ที่ต้องการไปตรวจที่ร.พ.แต่ไม่สามารถ เดินทางไป โรงพยาบาลได้เอง
- ประสานหาคิวตรวจ
- ประสานหาคิวเตียง
เราขอเรียกกลุ่มนี้ว่า “เส้นด้าย” เนื่องจาก "เส้นด้าย " แม้จะบาง แต่มีความแข็งแกร่ง การรวมตัวของเส้นด้ายธรรมดาหลายเส้นๆ ถึงแม้มีความ หนา หยาบ ต่างกัน แต่เมื่อมามัดรวมกัน จะมีพลังเหนียวแน่น สามารถยึดโยง ความมั่นคงให้กับสิ่งต่าง ๆ ได้ แตกต่างกับ "เส้นได้ " ที่หมายถึง สังคมแห่งอภิสิทธิ์ชนที่มักจะใช้ “เส้นสาย” เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบในการเข้าถึงทรัพยากร
สมาชิกประกอบด้วย
1. กุลเชษฐ วัฒนผล - พี่ชายคุณอัพ กุลทรัพย์ วัฒนผล
2. คริส โปตระนันทน์ - นักกฎหมาย
3. น.พ. เฉลิมชัย กุลาเลิศ - แพทย์เอกชน
4. พท.ว. ชณิดาภา ภาสฐาชนันท์ - แพทย์แผนไทย
5. พีรพล กนกวลัย -อดีต สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
6. เรืออากาศโท ธนเดช เพ็งสุข - อดีตข้าราชการทหารอากาศ
7.ชุมพล หลักคำ - อาสาชุมชน
8 กัณตภณ ดวงอัมพร - นักธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์
9.นายิกา ศรีเนียน - ศิลปิน วัยรุ่น นักกิจกรรมสังคม
10.อภิวัฒน์ ด่านศรีชาญชัย – นักธุรกิจ
11.วรินทร อัศนีวุฒิกร – นักกิจกรรมมหาวิทยาลัยมหิดล
12. นฤธัช สีบุญเรือง – อาสาสมัครกู้ภัยร่วมกตัญญู
13.นิกม์ แสงศิรินาวิน – ที่ปรึกษากรรมาธิการสาธารณสุข
14. ณิชา บุญลือ - นักธุรกิจ
15. ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ - นักธุรกิจ
16.เต็มสินี โสภาสมสวัสดิ์ -พนักงานเอกชน
17. จิดาภา เชียงอินทร์ -เลขานุการ
18. ณัฐวุฒิ ช่ออุบล - แอดมินเพจ
เบื้องต้นพวกเรารวบรวมและยืมรถจากผู้สนับสนุนมาใช้ได้ 4 คัน
โดยมีขอบเขตในการทำงานในช่วงเริ่มต้นในสองข้อ
1. พื้นที่ในกรุงเทพ - ปริมณฑล
2. เสริมในส่วนที่ระบบงานของรถทางราชการไม่สามารถรับได้
กลุ่มของเราจะไม่สิ้นสุดเพียงแค่ภารกิจวันนี้ หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะชวนทุกท่านมาร่วมเป็นเส้นด้ายยึดโยงสังคม ให้ดีกว่าที่เป็นอยู่
/ หมายเหตุ / ทางกลุ่มเปิดกว้าง หากใครพร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมเป็น เส้นด้าย สร้างสังคมด้วยกัน
ภารกิจนี้ยังต้องการทรัพยากรเพิ่มเติม หากใครจะสมทบอะไร ก็ติดต่อเข้ามาได้นะครับ
1. อาสาเพื่อรับสายโทรศัพท์ในการติดต่อประสานงาน
2. รถกระบะใส่แคป สำหรับการขนส่งช่วยเหลือ ผู้ป่วยเพิ่มเติม
3. บัตรหรือVoucherเติมน้ำมันดีเซล
4. ชุดPPEสำหรับคนขับ
5.ประกันโควิดสำหรับคนขับ
เบอร์โทรศัพท์ประสานงานชั่วคราว

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ