โควิดสายพันธุ์อินเดีย หมอยง เผยฉีด แอสตร้าเซนเนก้า - ซิโนแวค ป้องกันได้

23 พ.ค. 64

โควิดสายพันธุ์อินเดีย มาแล้ว หมอยง เผยแพร่ง่ายติดเร็ว แต่วัคซีนในประเทศไทย แอสตร้าเซนเนก้า - ซิโนแวค สามารถป้องกันได้

เมื่อวันที่ 22 พ.ค.64 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรรณ หรือ หมอยง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหลังมีการรายงานพบการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส โควิดสายพันธ์ุอินเดียในประเทศไทยมากขึ้น 

หมอยง แนะไม่ควรฉีดวัคซีนต่างชนิด ห่วงประเด็นผลข้างเคียง

โดยระบุว่า โควิด 19 สายพันธุ์อินเดีย แพร่กระจายได้ง่าย (ติดต่อง่ายๆ) แต่วัคซีนที่ฉีดในประเทศไทยสามารถปกป้องได้ เมื่อเช้าพูดพิมพ์เพื่อกระตุ้นให้อยากเรียนวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กรุ่นใหม่ แต่อาจจะทำให้เข้าใจยากต้องอ่านซ้ำหลายครั้ง เอาเป็นว่าจะสรุปให้ฟัง สายพันธุ์ อินเดีย ที่แสดงในรูปเมื่อเช้านี้ เป็น B.1.617.2 ที่ระบาดมากในอินเดียและกระจายไปหลายประเทศ รวมทั้งอังกฤษ ยุโรป และในสหรัฐอเมริกา แม้กระทั่งประเทศไทย

สายพันธุ์นี้ดูตามหลักพันธุกรรมแล้ว สามารถแพร่กระจาย หรือติดต่อได้ง่าย จะติดต่อง่าย หรือง่ายกว่าสายพันธุ์อังกฤษ จึงจะทำให้เกิดการระบาดกว้างขวางขึ้นได้ (แค่สายพันธุ์อังกฤษ เราก็ลำบากพอสมควรแล้ว) แต่สายพันธุ์อินเดียนี้ วัคซีนที่มีอยู่ในประเทศไทย สามารถป้องกันได้

จากการศึกษาในประเทศอังกฤษ สายพันธุ์อินเดียที่เข้าไประบาดในอังกฤษ ส่วนใหญ่จะเกิดในชุมชนที่มีการฉีดวัคซีนอัตราการครอบคลุมต่ำ

หมอยง ชี้วัยทำงาน วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เตรียมพาราเซตามอลไว้ได้เลย 
หมอยง แจง หายป่วยโควิด จำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

และจะพบมากในเด็กวัยรุ่นหรืออายุน้อยที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มากกว่าผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนแล้ว

 

จากหลักฐานทางพันธุกรรม โดยเฉพาะตำแหน่งที่หลบหลีกภูมิต้านทานจากวัคซีน ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง

 

การให้วัคซีนที่มีอยู่ในประเทศไทย สามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของสายพันธุ์อินเดียได้

 

ดังนั้นการจะยับยั้งการระบาดของสายพันธุ์นี้ได้ดีในขณะนี้ คือการให้วัคซีนให้เร็วที่สุด และให้หมู่มากที่สุด

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ