5 แพลตฟอร์ม ฟู้ดเดลิเวอรี่ ลดค่าจีพีเหลือ 25% ลดค่าส่ง-ค่าอาหาร ตลอดเดือน มิ.ย.

29 พ.ค. 64

พาณิชย์ ตกลง 5 แพลตฟอร์ม ฟู้ดเดลิเวอรี่ ลดค่าจีพีเหลือ 25% ใน กทม.และปริมณฑล ลดค่าส่ง - ลดค่าอาหาร ตลอดเดือน มิ.ย. พร้อมจับคู่สถาบันการเงินปล่อยกู้ ผู้ประกอบการดอกเบี้ยต่ำ-ปลอดหลักทรัพย์

วันที่ 28 พ.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังประชุมของกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับแพลตฟอร์มให้บริการส่งอาหาร ฟู้ดเดลิเวอรี่ (Food Delivery) 5 แพลตฟอร์ม ตัวแทนร้านอาหารทั่วประเทศ และตัวแทนสถาบันการเงิน 6 แห่ง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าผู้ให้บริการ Grab, Gojek, Lineman และ foodpanda ตกลงลดค่า GP (Gross Profit) หรือกำไรขั้นต้น ซึ่งเป็นค่าดำเนินการของแพลตฟอร์ม ที่เรียกเก็บจากร้านอาหาร จาก25-35% เหลือร้อยละ 25% ส่วน Robinhood ไม่คิดค่าจีพียกเว้น และ foodpanda ไม่คิดค่า GP สำหรับร้านใหม่ 

เปิดใจ 2 ตำรวจพาแกร็บส่งอาหารซอยเปลี่ยว ห่วงไม่ปลอดภัยไม่คิดดังตังค์ไม่รับ

นอกจากนี้ 4 แพลตฟอร์มประกอบด้วย Robinhood, foodpanda, Grab และ Gojek จะลดค่าขนส่งด้วย โดย 3-5 กิโลเมตรแรก ลดสูงสุดจาก 40 บาท เหลือ 0 บาท ส่วน 5 แพลตฟอร์มจะลดราคาอาหารที่ขายสูงสุด 60%

ทั้งนี้ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1-30 มิ.ย.2564 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับค่า GP ส่วนค่าอาหารจะลดทั่วประเทศ โดยผู้ประกอบการแพลตฟอร์มจะสูญเสียรายได้ 250-350 ล้านบาท และกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท

นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. ระบุว่าตัวเลขที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มส่งอาหารเสนอแผนลดค่าจีพีที่ 25% ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อร้านอาหาร แม้ว่าจะเป็นเพียง 1 เดือน หากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลาย อาจจะต้องมีการเจรจาขอให้ผู้บริการส่งอาหารลดค่าจีพีต่อไป และในอนาคตหากมีการปรับขึ้นค่าจีพีที่ไม่เป็นธรรม รวมไปถึงค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าโฆษณา ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

นอกจากนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหาร กระทรวงพาณิชย์จะจัดโครงการจับคู่ระหว่างสถาบันการเงิน ช่วยร้านอาหารสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและปลอดหลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้รับความร่วมมือจาก 6 สถาบันการเงิน ประกอบด้วย ประกอบด้วย 1.SME D Bank 2.ธนาคารกรุงไทย 3.ธนาคารออมสิน 4.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 5.ธ.ก.ส. และ 6.บสย. โดยจัดกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ 1.ให้สถาบันการเงินให้ข้อมูลกับร้านอาหารที่สนใจเข้าถึงแหล่งเงินกู้วันที่ 1-6 มิ.ย.2564ในรูปแบบออนไลน์ และต่างจังหวัดจะให้พาณิชย์จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการให้ร้านอาหารที่สนใจสอบถามข้อมูลจากสถาบันการเงิน และ 2.จะมีการจับแมตช์ชิ่งให้ยื่นเรื่องเพื่อขอกู้เงินตามเงื่อนไขทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ในวันที่ 7-20 มิ.ย. 2564 เพื่อช่วยให้ร้านอาหารในช่วงวิกฤติโควิดได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและปลอดหลักทรัพย์ในบางกรณี

โดยร้านอาหารที่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในปัจจัยที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเป็นนิติบุคคลจำนวน 15,967 ร้าน และบุคคลธรรมดา 103,000 ร้าน รวมแล้ว 118,967 ร้าน

ศบค. แจง ผ่อนคลายร้านอาหาร ขึ้นอยู่กับมาตรการดูแลลูกค้า

เตือนภัย สั่งอาหารออนไลน์ ไรเดอร์แขวนไว้หน้าบ้านเจอมือมืดฉกไปกินแทน

 

advertisement

ข่าวยอดนิยม