จากกรณีวานนี้ (28 พ.ค.64) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงถึงการนำเข้าวัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม จำนวน 1 ล้านโดสในเดือนมิถุนายนนี้ โดยระบุว่าจะกระจายให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจจะจัดซื้อพร้อมประกันวัคซีน ซึ่งจะมีการกำหนดราคาขายราคาเดียวกันทั่วประเทศ คาดว่าเข็มละไม่กิน 1,000 บาท โดยจัดหามาจากงบประมาณรายได้ของราชวิทยาลัยฯ เอง และเป็นวัคซีนทางเลือก ซึ่งจะไม่ปนกับวัคซีนฟรีที่รัฐบาลจัดมาให้ประชาชนทั่วไป จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์นั้น
ราชวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ นำเข้า ซิโนฟาร์ม 1 ล้านโดส มิ.ย. นี้ ไม่ได้ฉีดฟรี
ล่าสุดวันนี้ (29 พ.ค.64) นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก Nithi Mahanonda ว่า
“ต้องขอโทษที่แถลงข่าวพูดเร็วเกินไป มีคนคิดเลขไม่ทันเข้าใจไปว่าราชวิทยาลัยฯ จะหากำไรจากวัคซีนตัวเลือก ขอเรียนว่าไม่เป็นความจริง และสรุปสั้นๆ ดังนี้ครับ
ถ้าทุนที่ซื้อวัคซีนมา = X , ค่าขนส่ง = Y , ค่าเก็บรักษา = Z , ค่าประกัน = V ราชวิทยาลัยจะจัดให้ องค์ภาครัฐ องค์กรภาคเอกชนที่ต้องการนำไปฉีดให้กับบุคลากรภายในที่มีชื่อตัวตนระบุชัดเจนในราคา X+Y+Z+V เท่านั้น ไม่มีการบวกเพิ่มแม้แต่บาทเดียว และยังมีข้อกำหนดว่าทุกแห่งจะไปขายให้บุคลากรหรือคนอื่นต่อไม่ได้เป็นอันขาด แต่ท่านจะไปจ้างสถานพยาบาลใดๆ ฉีดให้ สถานพยาบาลนั้นๆ จะไปคิดค่าบริการอื่นใดเป็นข้อตกลงระหว่างสถานพยาบาลและองค์กรที่รับวัคซีนจากราชวิทยาลัยไป
ดังนั้นประชาชนที่องค์กรนั้นๆ จะดูแล จะได้รับบริการฉีดวัคซีน "ฟรี" ครับ
อันนี้เป็นการแบ่งเบาภาระงบประมาณและการกระจายการฉีดวัคซีนให้ประเทศร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข แต่ประชาชนเป็นคนๆ อาจจะไม่สามารถรับวัคซีน”ทางเลือก”นี้ได้ อย่างไรก็ดีคิวของท่านในวัคซีน ”หลัก” ของประเทศจะได้เร็วขึ้น(ผมหวังว่าจะเป็นเช่นนั้นนะครับ)
นอกจากนี้ถ้าเป็นบริษัทเอกชนราชวิทยาลัยมีข้อกำหนดว่าท่านต้องซื้อวัคซีนเพิ่มอีกร้อยละสิบเพื่อบริจาคให้รัฐนำไปฉีดให้กับประชาชนที่ด้อยโอกาสและไม่ได้อยู่กับองค์กรใดๆ เช่นผู้ค้าขายอิสระบนทางเท้า หรือในตลาด #ใครทำอะไรได้ก็ช่วยกัน #ฉีดวัคซีนทุกครั้งสังคมไทยได้ประโยชน์ #คิดถึงคนที่ด้อยโอกาสด้วย"
อย. อนุมัติ ขึ้นทะเบียนรับรอง วัคซีนซิโนฟาร์ม เป็นลำดับที่ 5 ในไทย
ทำความรู้จัก ซิโนฟาร์ม วัคซีนทางเลือกตัวล่าสุดที่กำลังจะเข้าไทย