3 กูรูตำรวจติงสิระเปิดสภารับลุงพล สร้างบรรทัดฐานใหม่ผู้ต้องหา เชื่อผบ.ตร.ไม่แจง (คลิป)

10 มิ.ย. 64

กรณีทนายษิทรา เบี้ยบังเกิด นำตัวนายไชย์พล วิภา ผู้ต้องหาในคดีการเสียชีวิตของน้องชมพู่ เข้าพบกับนายสิระ เจนจาคะ ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ที่รัฐสภา เพื่อยื่นคำร้องร้องขอความเป็นธรรม อ้างว่าพนักงานสอบสวนเขียนสำนวนเท็จ เพื่อยื่นต่อศาลในการใช้ออกหมายจับนั้น 

929925

ล่าสุดวันที่ 10 มิ.ย.64 พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยกับอมรินทร์ ทีวี ว่า เรื่องดังกล่าวไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ตนอยากจะให้ทุกคนไตร่ตรองสิทธิและหน้าที่ของตัวเองให้ดี โดยนายสิระ มีอำนาจหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนจริง ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจก็มีหน้าที่ของตัวเอง การยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมของนายไชย์พล ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจทำหน้าที่โดยมิชอบ ทำไมทนายความไม่แนะนำให้นายไชย์พล แจ้งความแทน เช่น มาตรา 157 หรือจะแจ้งกองปราบฯ หรือหากไม่มั่นใจในเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็สามารถฟ้องศาลได้โดยตรง

497630

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเดินทางมาพบคณะกรรมาธิการฯ ของนายไชย์ เป็นสิทธิ์ของประชาชน แต่แบบนี้ต่อไปจะเป็นแบบอย่างให้ผู้ต้องหารายอื่นหรือไม่ ต่อไปคนร้ายถูกจับ พ่อค้ายาเสพติด ก็จะเดินทางมาที่รัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือต่อกรรมาธิการฯ ยกตัวอย่างคดีของ นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ที่กรรมาธิการเข้ามามีส่วนร่วม กระทั่งมีการสอบพยานใหม่ มีการกลับคำให้การและข้อมูลอื่น ๆ

ดังนั้น นายสิระ ต้องคิดให้มาก ว่าการยื่นมือเข้ามายุ่งเกี่ยวนั้น หมิ่นเหม่หรือแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ เพราะต้องเรียกตัวผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาพูดคุย อย่างไรก็ต้องเปิดเผยข้อมูลพยานหลักฐานในเนื้อหาสำนวนคดี ซึ่งตนเตือนไว้ว่าหากมีการเปิดเผยสำนวน ถือเป็นการผิดกฎหมาย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ น่าจะไม่อยู่เฉยแล้วฟ้องกลับ ส่วนที่มีการร้องขอให้เรียกผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเข้ามาพูดคุยกับกรรมาธิการ ตนคิดว่าผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะไม่เดินทางมา เพราะทำหน้าที่อย่างถูกต้องแล้ว หากคิดว่าไม่ถูกต้องก็ต้องไปฟ้องเอา

883111

พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ กล่าวด้วยว่า ตลอดระยะเวลาการทำงาน ตนไม่เคยพบเห็นปรากฏการณ์แบบนี้มาก่อน เห็นชัดเจนว่ามีคำว่า “กระแส” เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำไมต้องมายื่นด้วยตัวเอง ทำไม่ไม่ฝากทนายไปยื่น แล้วทำไมประธานคณะกรรมาธิการฯ ต้องมารับด้วยตัวเอง อีกทั้งการประกาศว่าคณะกรรมาธิการฯ จะเดินทางไปหาแม่ของน้องชมพู่ ตนอยากถามว่าไปทำไม ไปเพื่ออะไร มีประโยชน์อะไร เพราะการไปพบแม่ของน้องชมพู่ คงหนีไม่พ้นคำถาม คุณแม่เป็นอย่างไร ซึ่งแม่น้องชมพู่ออกข่าวทุกวัน สุดท้ายก็หนีไม่พ้นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม

นอกจากนี้ คดีน้องชมพู่ยังได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว หากกระบวนการดำเนินไปแล้ว แต่แม่ของน้องชมพู่ ไม่ได้รับความเป็นธรรม คณะกรรมาธิการฯ ค่อยเดินทางไปพบก็ได้ “พวกที่เข้ามาเกาะนั้นไม่ถูกต้อง แต่หากไม่ได้รับความเป็นธรรมจริง ๆ ค่อยว่ากันไป พวกที่มายุ่งเกี่ยวเพราะกระแส พวกคุณไม่มีคุณธรรม ไม่มีจิตสำนึกว่าพ่อแม่เขาเสียใจขนาดไหน สังคมบิดเบี้ยวไปหมด” ตนยังเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย แต่ขณะนี้สังคมกำลังบิดเบี้ยว เพราะทุกคนทุกฝ่ายเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระแสมากเกินไป ซึ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดถึงกรณีนี้ว่าไม่เหมาะสม ตนเห็นว่านายกรัฐมนตรีทำถูกแล้ว เพราะเหตุการณ์นี้ไม่สมควรเกิดขึ้น

244602

ผศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันอาชญาวิทยา และการบริหารยุติธรรม วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า กรณีที่ทนายษิทรา พาลุงพล ไปร้องเรียนที่ กมธ. กับนายสิระ ในส่วนนี้ตนมองว่า การดำเนินคดีในแต่ละคดีจะมีความแตกต่างกัน แต่ในคดีของลุงพล เป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจมาเป็นระยะเวลานาน โดยการที่ไปพบนายสิระ ในฐานะประธานกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ก็คงจะเป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละบุคคล

แต่หากถามว่าควรจะไปพบหรือไม่นั้น หากในคดีนี้ผู้ต้องหามีความคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ยังมีช่องทางอื่นหลายช่องทางที่สามารถร้องเรียนได้ แต่กลับเลือกไปขอพบนายสิระ ในส่วนนี้ก็ต้องแล้วแต่ท่านว่าจะพิจารณาอย่างไร

204749

ส่วนกรณี ของท่านนายกรัฐมนตรีที่พูดถึงเรื่องลุงพล ในส่วนนี้ก็ขอย้ำคำเดิมว่า ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประธานกรรมาธิการว่าจะรับเรื่องหรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไร แต่อยากให้สังเกตว่าในประเทศไทยมีคดีอาชญากรรมเกิดขึ้นทุกวัน แต่จุดประสงค์คือจะทำอย่างไรที่ไม่ใช่แค่คดีที่ประชาชนสนใจ แต่ต้องทุกคดีที่จะได้รับความเป็นธรรม ถึงแม้จะไม่ต้องเดินทางมาร้องเรียนต่อกรรมาธิการ แต่ตำรวจก็สามารถดำเนินคดีอย่างเป็นธรรมได้ ขณะเดียวไม่ใช่จะมองแต่สิทธิ์ของผู้ต้องหา จนลืมมองสิทธิ์ของผู้เสียหาย หรือญาติของผู้เสียชีวิต ในส่วนนี้ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญเช่นกัน

425225

ประเด็นที่ กมธ.จะเชิญ ท่าน ผบ.ตร.เข้ามาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องคดีดังกล่าว ในส่วนกรณีนี้ความเป็นจริงก็สามารถทำได้ เหมือนในหลายกรณีที่มีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาพูดคุย แต่คดีลุงพลมีการออกหมายจับ และประกันตัวสู้คดี เพราะฉะนั้นหมายความว่าคดีนี้กำลังจะมีการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกกล่าวหาในชั้นศาล รายละเอียดทั้งหมดที่เป็นเรื่องของสำนวนคดี จึงมีความสำคัญมาก หากตำรวจออกมาพูดให้ความเห็นหรือถูกซักรายละเอียด จนเกิดบางประเด็นหลุดรอดออกไป ก็อาจจะมีผลให้ทางฝ่ายทนายจำเลย หยิบประเด็นมาเป็นข้ออ้าง เป็นช่องทางในการต่อสู้ เสมือนเป็นเทคนิคในการต่อสู้ในชั้นศาล

เพราะฉะนั้นกรณีที่เกิดขึ้นขณะนี้ ในอนาคตอาจจะกลายเป็นบรรทัดฐาน หากมีผู้ที่ถูกกล่าวหาจนกลายเป็นผู้ต้องหา ไปร้องเรียนผ่านประธานกรรมาธิการ ปรากฏว่าก็ต้องมีการเรียก ท่าน ผบ.ตร. ทุกคดี ดังนั้นหมายความว่าท่าน ผบ.ตร. วัน ๆ ก็คงไม่ต้องทำอะไร แล้วต้องเดินทางไปชี้แจงให้กับกรรมาธิการทุกคดี ซึ่งในส่วนนี้ตนมีความเชื่อมั่นว่า จากประสบการณ์การทำงานของท่าน ผบ.ตร. ตัวท่านเองคงจะทราบดีว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นเทคนิคของทางฝ่ายผู้ต้องหาและทีมกฎหมายที่จะหยิบยกมาใช้ต่อสู้ในชั้นศาล

431976

พ.ต.อ.สุรโชค เจษฎาเดช ฉายาสารวัตรแรมโบ้ อดีตผู้กำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ และอดีตสารวัตรกองปราบนครบาล มองว่า ความเห็นส่วนตัวคิดว่าถ้าตนเป็น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะให้เกียรติสภา แต่จะมอบหมายให้ตำรวจภูธรภาค 4 และผู้บังคับบัญชาตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร รวมทั้ง ผกก.สภ.กกตูม ที่รับผิดชอบในคดีเข้าไปชี้แจง ควรจะต้องไปชี้แจง กมธ. ทราบข้อเท็จจริง แทนที่จะไปด้วยตัวเอง

707391

เรื่องที่นายกรัฐมนตรี ออกมาตำหนิว่าไม่ควรนำผู้ต้องหามาแถลงข่าวในสภา ตนมองว่านายกฯ ออกมาตำหนิในฐานะผู้นำสูงสุดในประเทศ และเป็นประธานคณะกรรมข้าราชการตำรวจ ช่วงที่กำลังประชุมสภาเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ การเอาตัวผู้ต้องหามาในช่วงนี้ จึงมองว่าไม่เหมาะสม นายกฯ จึงออกมาปราม ถ้าเป็นแบบนี้บ่อย ๆ เหมือนฝ่ายนิติบัญญัติเข้ามาก้าวก่ายฝ่ายผู้บริหาร ตนมีความเห็นว่า นายกรัฐมนตรีทำถูกต้องแล้ว ถ้าทุกคดีเข้ามาในสภาคงไม่ต้องทำอะไรกันพอดี

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม