น้ำส้ม ไม่ใช่นึกจะขายก็ขายได้ เปิดดูข้อกฎหมายควบคุมทั้งบบรจุขวดขาย และแบบคั้นขายสดๆ รวมถึงภาษีความหวานที่ต้องจ่าย
กรณีแม่ค้าโพสต์เฟซบุ๊กเตือน ถูกล่อซื้อน้ำส้ม 500 ขวด ก่อนเรียกค่าปรับ 12,000 บาท ฐานไม่มีใบอนุญาต ที่มีการรายงานไปก่อนหน้านี้นั้น
แม่ค้าถูกล่อซื้อน้ำส้ม 500 ขวด ก่อนเรียกค่าปรับ 12,000 บาท ฐานไม่มีใบอนุญาต
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขายน้ำส้ม ไว้เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2559 ว่า การผลิตน้ำส้มคั้นขายจะมี 2 ส่วน คือ
- ผลิตบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิทแล้วส่งไปขายตามร้านค้าต่างๆ นั้นเข้าข่ายเป็นโรงงาน ต้องขออนุญาตจาก อย.ก่อน โดยผลิตภัณฑ์ต้องถูกสุขลักษณะ ระบุว่าเป็นน้ำส้มคั้นสด 100% ห้ามใส่อะไรลงไปเด็ดขาด และต้องมีฉลากแสดงชื่อสินค้า สถานที่ผลิต ส่วนประกอบ รวมถึงมีเลข 13 หลัก ที่ได้รับอนุญาตจาก อย.
- ร้านค้า รถเข็น ที่คั้นสด ๆ และจำหน่ายทันที ต้องขออนุญาตในการเปิดร้านจำหน่ายจากท้องที่ก่อน และการดำเนินการต้องถูกสุขลักษณะ
ขณะเดียวกัน พ.ร.บ.สรรพสามิตปี 2560 ได้มีการเรียกเก็บภาษีความหวาน รวมถึง น้ำผลไม้ หากมีปริมาณน้ำตาลเกิน 6 กรัมแต่ไม่เกิน 8 กรัม ต่อเครื่องดื่ม 100 มิลลิลิตร จะต้องเสียภาษี 0.30 บาท/ลิตร, หากมีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 กรัม แต่ไม่เกิน 14 กรัม จะต้องเสียภาษี 0.50 บาท/ลิตร, หากมีปริมาณน้ำตาลเกิน 14 กรัม ต่อเครื่องดื่ม 100 มิลลิลิตร จะต้องเสียภาษี 1 บาท/ลิตร
ซึ่งความหวานที่ได้จากธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่มีค่าความหวานเกินกว่า 6 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร มีผลทำให้น้ำผลไม้ 100% ทุกรายล้วนต้องเสียภาษีดังกล่าวอย่างเลี่ยงไม่ได้
โฆษกรัฐบาลปัดข่าว ขึ้นภาษี คง VAT ไว้ที่ 7% ช่วง 1 ต.ค. 63 ถึง 30 ก.ย. 64
แทบไม่ต้องจ่าย! วัคซีนทางเลือก สรรพากร แจงแล้วคิดภาษี 2 เด้งไม่เป็นความจริง