16 มิ.ย. 64 หมอยง หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด-19 วัคซีน ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น ยง ภู่วรวรรณ
ผลข้างเคียงแอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวค หมอยง เปรียบเทียบ พร้อมแนะนำวิธีรับมือ
ขณะนี้การศึกษาได้ติดตามกลุ่มที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca จะครบ 1 เดือนหลังฉีดเข็ม 2 ในปลายเดือนนี้ ข้อมูลการฉีดครบ 2 เข็มก็จะได้เห็นกัน เลยอยากเอาข้อมูลที่กำหนดระยะห่าง 10 สัปดาห์กับการตรวจพบภูมิต้านทานที่ 10 สัปดาห์ให้ดู
เพื่อให้ทราบว่าถึงแม้ว่าเราจะเลื่อนเป็น 12 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันก็คงจะอยู่ระดับนี้ แต่ถ้าเลื่อนเป็น 16 สัปดาห์ เชื่อว่าถ้าภูมิคุ้มกันตกลงก็ไม่น่าจะมากกว่านี้มากและการกระตุ้นเข็มที่สองของวัคซีน AstraZeneca โดยทั่วไปจะสูงขึ้น 1 Log Scale กำลังรอติดตามปลายเดือนนี้ และการกระตุ้นภูมิต้านทานถ้าทิ้งระยะห่าง ภูมิต้านทานที่กระตุ้นขึ้นจะสูงกว่าระยะที่เข็มแรกกับเข็มสองเข้ามาชิดกัน แต่ข้อเสียของการเว้นระยะห่างคือการป้องกันโรคในช่วงเว้นระยะจะมีประสิทธิภาพยังไม่เต็มที่ ถ้ามีวัคซีนมากพอก็ไม่ควรเว้นระยะห่าง ในยามขาดแคลนวัคซีนหรือต้องการปูพรมคนหมู่มาก การได้เข็มเดียวก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย ปัญหาจึงอยู่ที่ทรัพยากรที่เราจะมีมาโดยเฉพาะวัคซีน ถ้าหามาได้มากก็ไม่ควรจะเว้นระยะห่างไปถึง 16 สัปดาห์ กลยุทธ์ในด้านระบาดวิทยาจึงต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมก่อน
ส่วนวัคซีน Sinovac เราก็กำลังจะตรวจภูมิต้านทาน 3 เดือนหลังฉีดเข็มที่สองในต้นเดือนหน้าเพื่อดูการลดลงของภูมิต้านทานและจะติดตามดูว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้เข็มที่สามเมื่อไหร่
ข้อสังเกตจากการดูรูปทั้งสองนี้ เป็นการตรวจภูมิต้านทานต่างวิธีกัน วิธีหนึ่งเป็นการตรวจ IgG รวม อีกวิธีหนึ่งเป็นการตรวจ IgG ที่จำเพาะต่อ RBD และการตรวจทั้งสองวิธีมีหน่วยไม่เหมือนกัน ดังนั้นการตรวจถ้าเราไม่รู้ดูเพียงแต่ตัวเลขจะเกิดความสับสนได้ ในทางปฏิบัติการตรวจภูมิต้านทานจึงใช้ในงานวิจัยมากกว่างานบริการ เพราะในงานบริการจุดอ้างอิงหรือมาตรฐานสากลยังไม่มี
#หมอยง
หมอยง แนะวิธีเตรียมตัวก่อนฉีด วัคซีนโควิด หลังฉีดมีอาการแบบไหนควรไปพบแพทย์?