ที่ปรึกษาศบค. รับ วัคซีน mRNA ไฟเซอร์ โมเดอร์นา กระตุ้นภูมิมากกว่า ซิโนแวค

6 ก.ค. 64

6 ก.ค 64 กรณี วัคซีน mRNA ศ.คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ชี้ฉีดวัคซีนทั้งซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า ครบ 2 เข็ม ป้องกันป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้มากกว่า 90 % ลดการใช้เตียง ส่วนบูสเตอร์โดสให้บุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มเสี่ยง และป่วยเรื้อรังก่อน

วันนี้ (6 กรกฎาคม 2564) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ศ.คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าวว่า ได้รับมอบหมายจากคณะที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของ ศบค. ที่มีศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร เป็นประธานผมเป็นรองประธาน และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ 10 คณะเป็นกรรมการ โดยคณะกรรมการชุดนี้รายงานตรงต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อวานนี้ (5 กรกฎาคม 2564) มีการประชุมเรื่องวัคซีนโควิด 19 ซึ่งได้รายงานผลต่อนายกรัฐมนตรีไปแล้ว และมอบหมายให้แถลงทำความเข้าใจให้ประชาชนทราบในฐานะของ ศบค.

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ประกาศจองวัคซีน โมเดอร์นา เคาะรายละเอียด ขั้นตอน 8 ก.ค. นี้ 

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์อุดมกล่าวต่อว่า ในช่วง 2 เดือนนี้ ประมาณ 96 ประเทศทั่วโลกมีการระบาดของไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) อย่างมาก ส่วนประเทศไทยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา พบ 85-90% เป็นสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) และเมื่อเดือนมิ.ย. - ก.ค. พบเป็นสายพันธุ์เดลต้าทั้งประเทศ 30% ถือว่ามีการแพร่ระบาดเร็วมาก โดยเฉพาะใน กทม.และปริมณฑล พบเป็นสายพันธุ์เดลต้าถึง 50% ซึ่งสายพันธุ์อัลฟ่าระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 60-70% และสายพันธุ์เดลต้าระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า 40% คาดว่าในอีก 1-2 เดือนนี้ ทั้งไทยและโลกส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะเป็นสายพันธุ์เดลต้า เพราะกระจายเร็วมาก ในภาพรวมไม่ได้มีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า แต่มีลักษณะพิเศษคือผู้ป่วยอยู่ในสภาวะต้องการออกซิเจน ซึ่งมีระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติเร็วขึ้น ปอดอักเสบเร็วขึ้น 3-5 วัน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ออกซิเจนไฮโฟลว์ ซึ่งสายพันธุ์อัลฟ่าใช้เวลา 7-10 วัน ถึงจะมีอาการเป็นปอดอักเสบ เมื่อคนติดเชื้อมาก มีอาการรุนแรง ความต้องการเตียงผู้ป่วยหนัก (ไอซียู)จึงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มสีแดง ถ้าปล่อยให้เหตุการณ์ไปอย่างนี้เรื่อยๆ ระบบสาธารณสุขจะอยู่ไม่ได้

การกลายพันธุ์ของไวรัสเป็นเรื่องปกติ ปรับตัวเพื่ออยู่รอด ยิ่งแบ่งตัวระบาดได้เยอะ ยิ่งกลายพันธุ์ได้เยอะ สิ่งสำคัญคือเมื่อไวรัสกลายพันธุ์จะทำให้ดื้อต่อวัคซีน เดิมเรามีวัคซีนที่ควบคุมการระบาดสายพันธุ์ดั้งเดิมคืออู่ฮั่น ซึ่งได้ผลดีมาก เมื่อไวรัสตัวกลายพันธุ์เป็นอัลฟ่า และเดลต้าประสิทธิภาพประสิทธิผลของวัคซีนลดลง ไม่ใช่วัคซีนไม่ดี แต่การกลายพันธุ์เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ดื้อต่อภูมิจากวัคซีนเดิม จึงต้องหาวัคซีนเจนเนอเรชันใหม่ให้ครอบคลุมสายพันธุ์อัลฟ่า และเดลต้า ซึ่งขณะนี้ผู้ผลิตวัคซีนต่างๆ อาทิ แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวค ไฟเซอร์ โมเดอร์นากำลังอยู่ระหว่างพัฒนา อย่างเร็วสุดปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องนำมาพิจารณาในการสั่งซื้อวัคซีนในระยะต่อไป ดังนั้นระหว่างรอจึงให้วัคซีนบูสเตอร์โดสเพื่อเพิ่มภูมิ ต่อสู้กับเชื้อกลายพันธุ์ให้ได้

“วันนี้มาแถลงไม่ใช่เพราะว่าช่วงนี้มีแต่ข่าววัคซีน เราได้คุยกันมา 2-3 เดือนแล้ว ทั้งการฉีดเข็ม 3 การฉีดวัคซีนไขว้เข็ม 1-2 ซึ่งไม่ได้ออกข่าวเป็นทางการ จากนี้สายพันธุ์เดลต้าจะเป็นสายพันธุ์ที่มีมากที่สุดในโลก รวมถึงไทย หากดูข้อมูลวัคซีนที่เราใช้ปัจจุบัน พบว่าสายพันธุ์เดลต้าทำให้ภูมิที่จะสร้างลดลง เช่น วัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ทำให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เบตาลดลง 7.5 เท่า กับเดลต้า 2.5 เท่า ส่วนในอังกฤษ แอสตร้า 2 เข็มกับเบตาลดลง 9 เท่า เดลต้าสร้างภูมิคุ้มกันลดลง 4.3 เท่า สำหรับผลการศึกษาซิโนแวคในประเทศไทยเมื่อฉีด 2 เข็ม ทำให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลต้าลดลง 4.9 เท่า” ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดมกล่าว

เมื่อแปลงตัวเลขทางคลินิกเกี่ยวกับคนไข้ เรายอมรับว่าไฟเซอร์ กระตุ้นภูมิต้านทานสูงสุด วัคซีน mRNA ได้แก่ ไฟเซอร์ โมเดอร์นา มีภูมิต้านทานขึ้นระดับพันถึงหมื่น รองลงมาคือแอสตร้าเซนเนก้า หลักพันต้นๆ ส่วนซิโนแวค จะอยู่ที่หลักหลายร้อยปลายๆ ในเรื่องการป้องกันโรค ไฟเซอร์ป้องกันสายพันธุ์เดลต้าลดลงจาก 93% เหลือ 88% แอสตร้าเซนเนก้าป้องกันสายพันธุ์เดลต้า 66% เหลือ 60% และป้องกันการนอน รพ. เจ็บป่วยรุนแรง ไฟเซอร์ได้ 96% แอสตร้าเซนเนก้า 92% ถือว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ อยากย้ำว่า การป้องกันลดลง แต่การป้องกันเจ็บป่วยรุนแรง การนอน รพ. ป้องกันการตายยังได้ผลสูงมาก ส่วนซิโนแวค ยังไม่มีข้อมูลว่าป้องกันได้เท่าไรแต่มีข้อมูลของหลายประเทศและไทยฉีดที่ภูเก็ตเยอะที่สุด พบว่าซิโนแวค 2 เข็ม ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงเข้า รพ. และป้องกันตายได้มากกว่า 90%

“ต้องทำความเข้าใจใหม่ว่า วัตถุประสงค์ของการฉีดวัคซีนไม่มีทางป้องกันติดเชื้อได้ 100% แต่ละตัวมีประสิทธิภาพแตกต่างออกไป ที่สำคัญอยากจะย้ำคือ ป้องกันเจ็บรุนแรง และตายได้สูงมากเกิน 90% ซิโนแวคทำให้ไม่ต้องไป รพ. เตียงจะได้มีพอ เพราะตอนนี้เตียงตึงมาก ทั้งเขียว เหลือง แดง บุคลากรทางการแพทย์ แพทย์ พยาบาล จะได้ผ่อนภาระงานลง ตอนนี้หนักจริงๆ ทุก รพ. ทั้งในกทม. ต่างจังหวัด เช่น เตียงหนักสีแดงในภาวะปกติก่อนมีโควิด เฉพาะกทม. รพ.ใหญ่ มีรวม 230 เตียง เราเบ่งเท่าตัว 400 กว่าเตียง แต่หมอพยาบาลเท่าเดิม ต้องฝึกสอนหมอพยาบาลแผนกอื่น มาช่วยกันอยู่เวรดูแลคนไข้ หลักการคือต้องช่วยกัน อย่างน้อยวัคซีนป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยรุนแรงเข้ารพ.เป็นผู้ป่วยหนัก มันคุ้มค่ามหาศาลสำหรับชีวิตแล้ว และช่วยปกป้องระบบสุขภาพระบบสาธารณสุข กำลังคนด้านสาธารณสุข ซึ่งกำลังไม่ไหวจริงๆ นี่คือประโยชน์ที่ได้เห็น” ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดมกล่าว

อยากย้ำว่า ทั่วโลกติดเชื้อโควิดแล้วตาย 2.1% คือติดเชื้อ 50 คน ตาย 1 คน ถ้าดูด้านดีที่สุด คือเราป้องกันการติดเชื้อได้ด้วยวัคซีนโดยเฉลี่ย 60-70% จึงต้องช่วยกันป้องกันตัวเอง ด้วยมาตรการด้านสาธารณสุข ใส่แมสก์ ล้างมือบ่อยๆ ใช้แอลกอฮอล์เจล เว้นระยะห่าง เลี่ยงไปที่แออัด สำคัญมากจริงๆ ตอนนี้ข้อมูลผู้ป่วยรายใหม่ 60-70% ติดเชื้อจากคนในครอบครัว 20% เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า องค์กร 40% ดังนั้นมาตรการส่วนบุคคลกับสังคมสำคัญมาก ย้ำอีกทีว่าวัคซีนแม้ป้องกันไม่ได้เต็มที่ แต่ป้องกันเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ 90% คุ้มค่าแล้ว

ขอให้ไปฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง นอกจากนี้ ข้อมูลจากรัฐแมสซาซูเซสต์ สหรัฐอเมริกา พบว่า ฉีดไฟเซอร์ครบ 2 เข็ม จำนวน 3.7 ล้านคน ติดเชื้อโควิดใหม่ 0.1% ส่วนในอินเดียฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม กว่า10ล้านคนติดโควิด 0.2% ย้ำว่าวัคซีนมีประโยชน์แน่ ช่วยชีวิตไม่ให้เจ็บป่วยรุนแรงไม่ให้ตาย ปกป้องระบบสาธารณสุขไม่ให้เกินกำลัง

ตอนนี้มีข้อมูลมากขึ้น พบว่า คนไข้ติดเชื้อโควิดตามธรรมชาติ ภูมิต้านทานตกเร็ว ภายหลังติดเชื้อ 3 - 6 เดือน บางคนไม่มีภูมิต้านทานขึ้น แม้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ 40-50 วัน มีการเจาะหาภูมิก่อนออกรพ.ศิริราช เป็น 0 เพราะฉะนั้น ไวรัสเป็นเรื่องใหม่มีอีกหลายอย่างที่ไม่รู้ก่อนกลับจึงได้ฉีดวัคซีนให้ ส่วนการฉีดวัคซีนมีภูมิคุ้มกันขึ้นมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ชนิดวัคซีน แต่ป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ ข้อมูลเปลี่ยนไว 1-2 สัปดาห์อาจเปลี่ยนแล้ว การฉีดภูมิต้านทานขึ้นแน่นอนแต่ 3-6 เดือนอาจลดลงได้

ขณะที่นักวิจัยที่ออกซ์ฟอร์ดกำลังเก็บข้อมูล Half Life Period ระยะเวลาที่ระดับภูมิคุ้มกันลดลงครึ่งหนึ่งใช้เวลา 3-4 เดือน ซึ่งอาจจะป้องกันไม่ได้ ถ้าภูมิไม่สูงมาก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องบูสเตอร์โดส ไม่อยากเรียกว่าเป็นการฉีดเข็มที่ 3 เพราะตอนนี้ยังไม่มีแนวทางจากองค์การอนามัยโลกหรือประเทศใดออกมา มีเพียง 2 ประเทศที่ฉีดวัคซีนเข็ม 3 คืออาหรับเอมิรเตส์ และบาห์เรน 2 เข็มแรกเป็นซิโนแวค ส่วนเข็ม3 เป็นซิโนฟาร์ม ซึ่งเป็นเชื้อตายเหมือนกัน อย่างน้อยกระตุ้นได้ แม้จะไม่มาก ถ้าจะกระตุ้นมากจะต้องต่างชนิด ต่างแพลตฟอร์ม เช่นแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นไวรัลเวคเตอร์ ไฟเซอร์ โมเดอร์นา ที่เป็น mRNA หลักการสำคัญที่ทุกประเทศเน้นคือขอให้ฉีดวัคซีนเข็ม 1-2 ให้ได้ครบก่อน เข็ม 1 ป้องกันอาจได้น้อยแต่เข็มสองจะช่วยป้องกันได้แน่นอน โดยเฉพาะสายพันธุ์กลายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศตอนนี้ประเทศไทยมีแอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวค และซิโนฟาร์ม ส่วนโมเดอร์นาซึ่งเป็นวัคซีนทางเลือกกำลังเข้ามา อย่างไรก็ตาม ต้องฉีดวัคซีนให้ครบทั้ง 2 เข็มก่อน หากฉีดแอสตร้าเซนเนก้า ห่างกัน 3 เดือน การฉีดเข็มที่ 3เว้นระยะเวลา 6 เดือน จะได้ mRNA รุ่นใหม่ อาการข้างเคียงอาจน้อยลง และปลอดภัยมากกว่า

ถ้ากรณีภูมิต้านทานตกเร็ว ทางการแพทย์มีข้อมูลคือต้องฉีดบูสเตอร์ เช่น ฉีดซิโนแวค 2 เข็มระดับภูมิคุ้มกันจะลดลงครึ่งหนึ่ง (Half Life Period) ใน 3-4 เดือน จึงต้องการบูสเตอร์โดส ซึ่งขณะนี้ซิโนแวคใช้มากที่สุดในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ตอนนี้ห่างจากเข็ม 2 ประมาณ 3-4 เดือนพอดี ที่ประชุมจึงมีมติที่ชัดเจนว่า กลุ่มนี้จะต้องได้บูสเตอร์โดสก่อน และต้องเป็นแพลตฟอร์มอื่น คือ แอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน mRNA ซึ่งกำลังจะได้วัคซีนบริจาคจากไฟเซอร์

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ศึกษาการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ครบ 2 เข็ม เว้น 6 เดือน จึงฉีดเข็ม 3 พบว่ากระตุ้นภูมิต้านทานได้ 6 เท่า มีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง ขณะนี้ไม่มีประเทศใดหรือองค์การอนามัยโลก กำหนดแนวทางการให้บูสเตอร์โดส สำหรับประเทศไทย ได้ให้โรงเรียนแพทย์ เช่น ศิริราช จุฬาฯ ทำการศึกษา การฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิว่าตัวไหนจะเหมาะที่สุด คาดว่าในอีก1 เดือนจะทราบผล ซึ่งจะเป็นการศึกษาลำดับแรกๆ ในโลก โดยวานนี้ที่ประชุมได้สรุปผลการจัดลำดับกลุ่มที่จะได้รับการกระตุ้นภูมิ ลำดับที่ 1 คือ บุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนกว่าคน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง ต้องสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ลำดับถัดมาคือ คนที่มีความเสี่ยง กลุ่มโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อ้วน มะเร็ง ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ยาเคมีบำบัด

คำถามที่ว่า ทำไมไม่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กซึ่งเป็นชนิดเดียวที่รับรองฉีดให้กับกลุ่มอายุ 12-17 ปี ขณะนี้ภาพรวมประเทศ เด็กยังไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักที่จะต้องได้ฉีดวัคซีน เนื่องจากเมื่อติดเชื้อจะไม่มีอาการรุนแรงแต่ผู้ใหญ่มีความเสี่ยงจึงนำไปฉีดให้กลุ่มนี้ก่อน เพื่อลดการเสียชีวิตวันละ โดย 20 ล้านโดส ที่ได้เซ็นสัญญาจองและจะได้รับในไตรมาสที่ 4 ส่วนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 5 ล้านโดส และโมเดอร์นาที่รพ.เอกชนจัดหา จะช่วยกันระดมฉีดให้เต็มที่ ตอนนี้เรื่องของบูสเตอร์โดสสำคัญแน่นอน และขอให้ทุกคนอย่ามองข้ามซิโนแวค แม้การป้องกันจะน้อยแต่ลดเจ็บป่วยรุนแรงไม่ต่างแอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ ขอให้ฉีดไปก่อน มีบูสเตอร์โดสมา มีเวลาอีก 3-6 เดือนข้างหน้า รอคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุข และจะแจ้งให้ประชาชนได้ทราบ

คำถามว่ามีข้อมูลว่าฉีดเข็ม 1 ซิโนแวค เข็ม 2 ฉีดแอสตร้าเซนเนก้าได้หรือไม่ องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ยังไม่ให้เปลี่ยน ขอให้ฉีดเข็ม 1 และ 2 ชนิดเดียวกันก่อน เนื่องจากไม่ต้องการให้ผลมากวนกัน อาจมีผลเสีย ตอนนี้ มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดได้ศึกษาการฉีดข้ามกันเกือบ 10 คู่ ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ภูมิคุ้มกันขึ้น 1,300 ยูนิต, ไฟเซอร์เข็ม 1 ร่วมกับแอสตร้าเซนเนก้าเข็ม 2 เพิ่มมากกว่า แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม 5 เท่า, ถ้าแอสตร้าเซนเนก้า เข็ม 1 ร่วมกับไฟเซอร์เข็ม 2 ภูมิมากกว่าฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม 9 เท่า ถ้าฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม เพิ่ม 10 เท่า หากฉีดแอสตร้าเซนเนก้าเข็มแรก ไฟเซอร์เข็ม 2 ภูมิคุ้มกันได้เกือบเท่าไฟเซอร์ 2 เข็ม ทั้งนี้ เป็นแค่การทดลอง ยังไม่เป็นข้อกำหนด อยู่ในขั้นให้โรงเรียนแพทย์ช่วยกันทำ ไม่ต้องกังวล ฉีดแบบเดิมตามองค์การอนามัยโลกกำหนดไปก่อน

“อยากจะย้ำว่าโควิดกลายพันธุ์ได้ตลอด ตอนนี้กำลังคิดวัคซีนเจนเนอเรชันใหม่ อย่าเพิ่งรีบร้อน กรรมการตั้งคณะทำงานเอาผู้เชี่ย

ครม. ไฟเขียวรัวๆ อนุมัติจัดซื้อ 3 วัคซีนไฟเซอร์ -ซิโนแวค-โมเดอร์นา 

สหภาพยุโรป เผย ไฟเซอร์ โมเดอร์นา แอสตร้าเซนเนก้า จอห์นสัน อาจต้าน โควิดกลายพันธุ์ ได้ 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ