กลับมาพบกับธุรกิจไม้สักระดับพรีเมี่ยม เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก Ong-Orn ที่นำองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจของโตโยต้า มาประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยผ่าน 4 ขั้นตอนการดำเนินงาน คือ รู้, เห็น, เป็น, ใจ
โดยในวันนี้มาเสนอใน part ที่ 3 คือ "เป็น" ทำเป็นด้วยตัวเอง
สืบเนื่องจากจากสัปดาห์ที่แล้ว ทีม Toyota ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ได้ชี้ให้เห็นปัญหาต่าง ๆ ของ Ong-Orn Furniture สัปดาห์นี้จะมาดูวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันของโตโยต้าและผู้ประกอบการ ด้วยหลักไคเซน เขาแก้ปัญหาอย่างไร เขาแก้ปัญหาโดยการการจัดทำบอร์ดควบคุมงานเข้า-ออก จากเดิมที่ไม่เคยมี ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้พนักงานได้เห็นสถานะการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของตัวเอง และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวมากขึ้น เช่น
1.ปรับเปลี่ยนการแจกจ่ายงาน จะได้ไม่เกิดการรองาน ผลิตล่าช้า หรือกำหนดระยะเวลาเสร็จไม่ได้
2.ปรับเปลี่ยนพื้นที่ แผนกขัด-พ่นสี จัดพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนเพื่อลดการทำงานซ้ำซ้อน
3.ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เพิ่มอุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ ที่ทำสีแล้วไปจัดเก็บในที่ที่เหมาะสม
กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน สินค้าส่งได้ตามกำหนด ลดต้นทุน ซึ่งพอทำเป็น ได้ความรู้ในการจัดการ ก็สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาหรือวางระบบกับส่วนอื่นๆของธุรกิจได้เพิ่มเติม
ในสัปดาห์หน้า เราจะพาไปดู Part สุดท้ายในส่วนของ "ใจ" เข้าใจ ใส่ใจ ถูกใจ จนนำมาซึ่งการพัฒนาร่วมกัน และกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ที่จะสืบทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนใกล้เคียงได้อย่างไร สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.toyota.co.th/tsi