ล็อกดาวน์ ได้ผลจริงหรือ? เอกชนขอนายกฯ ทบทวน ชี้เคอร์ฟิวแต่ตัวเลขไม่ลด ซ้ำเยียวยาไม่ชัดเจน

20 ก.ค. 64

เอกชนวอนนายกฯ ทบทวน ล็อกดาวน์ เอกชนวอนทบทวนล็อกดาวน์ ชี้ประกาศเคอร์ฟิวแต่ตัวเลขไม่ลด เรื่องเยียวยาก็ไม่ชัดเจน เหมือนซ้ำเติมประชาชน

วันที่ 20 ก.ค.64 ทางด้านประธานเครือข่ายเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ นายธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์ ได้ขอให้รัฐบาลทบทวนมาตรการเคอร์ฟิว และหาแนวการบังคับใช้กฎหมายที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ไม่ให้เกิดผลเสียเกินความจำเป็นโดยรัฐบาลควรพิจารณายกเลิกเคอร์ฟิวบนข้อมูลเชิงสถิติว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดหรือไม่ ทั้งที่สร้างปัญหาตามมาในการบังคับใช้กฎหมาย และกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนในวงกว้าง การประกาศเคอร์ฟิวจะผลักแรงงานที่ทำงานในเวลากลางคืนเข้ามากระจุกตัวร่วมกับพนักงานในเวลากลางวัน ทำให้ความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้นกว่าสภาวะปกติ

ดังนั้นการแก้ปัญหาควรเน้นการกระจายตัวของประชากรเป็นสำคัญ ไม่ใช่การตัดปัญหาอย่างง่ายซึ่งเห็นได้จากการประกาศนโยบายเคอร์ฟิว ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับอัตราการลดลงของผู้ติดเชื้อแต่อย่างใด ทั้งยังสร้างปัญหาในเชิงปฏิบัติ เช่น ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่สามารถเรียกรถสาธารณะได้, หน่วยงานกู้ภัยอาสาสมัครชุมชนไม่กล้าออกปฏิบัติหน้าที่ภายหลังระยะเวลาเคอร์ฟิว, กรณี BTS แล้วประชาชนกลับบ้านหลังสามทุ่มอาจกลายเป็น cluster ใหม่จากการเดินทางที่แข่งกับเวลา หรือกรณีแม่ค้าลงมาดูเนื้อหมูและไปซื้อน้ำแข็งแช่หมูกลัวหมูจะเสีย ระยะห่างไม่กี่เมตร กลับถูกดำเนินคดี เสียเงิน เสียเวลาไปขึ้นศาล ถูกคุมขัง ทั้งที่การกระทำดังกล่าวแทบไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใด และไม่ส่งผลต่อการแพร่เชื้ออย่างมีนัยยะแต่อย่างใด

เจตนารมณ์นโยบายแก้ปัญหาโควิดหัวใจในการแก้ปัญหาคือการลดการแพร่เชื้อในประเทศไม่ให้ประชาชนอยู่รวมกลุ่มกันจนอาจเกิดเป็นคลัสเตอร์ใหม่ ในทางปฏิบัติกลับมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มรูปแบบซึ่งจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อหารดำเนินชีวิตของประชาชน เป็นการซ้ำเติมประชาชนทั้งที่เจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นเรื่องดี

การออกนโยบายของภาครัฐต้องทำบนพื้นฐานตัวเลขและปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว การสื่อสารที่ชัดเจนในการแก้ปัญหา และแผนเยียวยาระยะสั้น กลาง ยาว ประกาศให้ประชาชนรับทราบเพื่อการเตรียมตัว และวางแผนการใช้ชีวิตประจำวัน ตระหนักว่าเพราะรัฐบาลไม่มีความชัดเจนในการเยียวยาที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายครัวเรือน ประชาชนกบัวบ้าน รถ ถูกยึด หนี้บัตรเครดิต และหนี้อื่นที่เมื่อถึงกำหนดชำระต้องจ่ายพร้อมดอกเบี้ยอันเกินกำลังผ่อน ประชาชนจึงต้องออกมาเพื่อหารายได้เข้าจุนเจือครอบครัวทั้งที่ผลกระทบมาจากนโยบายและมาตรการโควิดของรัฐบาลโดยตรง

ภาครัฐควรแอ่นอกเป็นผู้รับผิดชอบเช่นสัตบุรุษไม่ใช่คนกาลกิณีนโยบายที่ทำแล้วไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การทบทวนถึงผลดีเสียความคุ้มค่าของโครงการภูเก็ต sandbox ว่ามีข้อเสียมากกว่าดี และควบคุมได้การแพร่เชื้อจากต่างชาติได้จริงหรือไม่ ไม่ควรย้อนแย้งกับนโยบายหลัก ควรปรับเปลี่ยนและประกาศให้ชัดเจน และใช้ข้อเท็จจริงทางตัวเลขในการวัดผลควบคุมนโยบายเป็นสำคัญ ไม่ปล่อยอีโก้นำจนสร้างผลกระทบ และความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ผิดควรถอยและสร้างทีมที่ปรึกษาที่มีคุณภาพในการให้ข้อเท็จจริงเพื่อการตัดสินใจ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ขนส่ง งดทำ ใบขับขี่ ต่อทะเบียนรถ 13 จังหวัดล็อกดาวน์ เริ่ม 20 ก.ค. เป็นต้นไป
- ผู้ว่าฯ กทม.ยกระดับล็อกดาวน์เมืองหลวง ตามมติ ศบค. ในพื้นที่สีแดงเข้ม
- เช็กเลย! เดินทางข้ามจังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม-ล็อกดาวน์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
- หมอธีระวัฒน์ แนะ ตรวจหาเชื้อทุกคนก่อน ล็อกดาวน์ หวั่นติดกันในครอบครัว ลามแพร่ชุมชน

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม