ทั้งนี้ จงหนานซาน นักระบาดวิทยาชั้นนำของจีน นำคณะนักวิจัยจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคกว่างโจว ศึกษาพบว่าการวัคซีนชนิดเชื้อตาย (ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม) จำนวน 2 โดส มีประสิทธิภาพต้านโรคโควิด-19 จากสายพันธุ์เดลตาโดยรวมที่ร้อยละ 59 โดยป้องกันการป่วยขั้นปานกลางร้อยละ 70.2 และการป่วยขั้นรุนแรงร้อยละ 100 ทว่าการฉีดวัคซีน 1 โดส ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ร้อยละ 13.8 ไม่สามารถสร้างการป้องกันที่เพียงพอได้
อย่างไรก็ตาม การควบคุมโรคระบาดอย่างมีประสิทธิภาพของจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้การทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนนั้นถือเป็นเรื่องท้าทาย โดยคณะนักวิจัยเผยว่าสภาพการณ์ตามจริงในการศึกษานี้ ได้เปิดโอกาสในการตรวจสอบประสิทธิภาพการป้องกันสายพันธุ์เดลตาของวัคซีนชนิดเชื้อตายที่มีอยู่ 2 ชนิดในปัจจุบัน
อนึ่ง ผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสารอีเมอร์จิง ไมโครบส์ แอนด์ อินเฟกชันส์ (Emerging Microbes & Infections)
อ้างอิง https://www.xinhuathai.com/high/224243_20210823
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เตรียมหารือสัปดาห์หน้า บูสต์เข็ม 3 ให้ประชาชนกลุ่มฉีด ซิโนแวค ไปแล้ว 2 เข็ม
- กรมควบคุมโรค เผย ฉีดไขว้ ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า ภูมิคุ้มกันสูงกว่า วัคซีนชนิดเดียวกัน
- ศบค. ไฟเขียวซื้อวัคซีน ซิโนแวค อีก 12 ล้านโดส เผยฉีดไขว้ภูมิสูง
Advertisement