วันนี้ ( 24 ส.ค.64 ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวผ่านทางระบบออนไลน์ ประเด็น การเฝ้าระวังสายพันธุ์และการกลายพันธุ์โควิด-19
ศ.เกียรติคุณ ดร. วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ขณะนี้สายพันธุ์เดลตาทั่วโลก พบกลายพันธุ์แล้วใน 60 ตำแหน่ง เนื่องจากมีการแพร่สู่คนมาก และมีการแตกสายพันธุ์ย่อย เป็น AY.1-AY.22 อีก 27 สายพันธุ์ย่อย
ขณะนี้ในไทยสุ่มตรวจพบเดลตาแล้ว 4 สายพันธุ์ย่อย ดังนี้
ศ.เกียรติคุณ ดร. วสันต์ กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลพบว่าเดลตาสายพันธุ์ย่อยที่ตรวจจับได้ ไม่ได้บ่งชี้ว่ามาจากสถานกักกันที่รัฐจัดให้กับผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ หรือจากสนามบิน แต่บ่งชี้ว่าเป็นเชื้อลูกหลานของเดลตาที่เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศไทยอยู่แล้ว ซึ่งต้องจับตาว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์หรือทางคลินิกเพียงพอ จะบอกได้ว่า สายพันธุ์ย่อยเหล่านี้ดื้อต่อวัคซีนมากกว่า เบื้องต้นการรักษายังเหมือนกันในทุกสายพันธุ์ย่อย
ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผว่า การพบสายพันธุ์ย่อยนี้พบกันทั่วโลก ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นโควิดสายพันธุ์ไทย ยังต้องจับตากันต่อไปเพราะยังพบน้อย โดยขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าระบาดได้เร็วขึ้น มีอาการรุนแรงหรือดื้อวัคซีนมากขึ้นหรือไม่ และยังไม่มีการจัดชั้นให้เป็นสายพันธุ์น่าจับตามองหรือสายพันธุ์น่ากังวล โดยขณะนี้สายพันธุ์ย่อยยังมีลักษณะการแพร่กระจาย ยังไม่กระจายไปทั่ว
ขณะที่นายแพทย์สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ผู้อำนวยการกองการแพทย์จีโนมิกส์และสนับสนุนนวัตกรรม เปิดเผยว่า สายพันธุ์เดลตา มีการอัปเดตมาตลอด มีการกลายพันธุ์ที่จำเพาะของแต่ละสายพันธุ์ แต่ทุกสายพันธุ์ย่อยยังคงคุณสมบัติระบาดได้รวดเร็ว อาการค่อนข้างรุนแรง และดื้อต่อวัคซีน ในกรณีสายพันธุ์ย่อย เดลตาพลัส ซึ่งมีความกังวลว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้นนั้น ยังไม่พบในไทย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ศรีลังกา พบ โควิดเดลตา กลายพันธุ์ใหม่อีก 3 ตัว เร่งศึกษาระบาดง่ายขึ้นหรือไม่
- สวีเดนพบ โควิดเดลตา กลายพันธุ์ใหม่ หวั่นระบาดได้ง่ายยิ่งขึ้น
- สหรัฐฯ เผย โควิดเดลตา ระบาดง่ายเหมือนอีสุกอีใส ฉีดวัคซีนแล้วยังแพร่เชื้อได้
Advertisement