ธปท.ออกมาตรการช่วย ลูกหนี้รายย่อย ครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภท ยื่นได้ถึง 31 ธ.ค.นี้

31 ส.ค. 64

ธปท. ออกมาตรการช่วย ลูกหนี้รายย่อย ครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภท บรรเทาภาระหนี้ผู้ได้รับผลกระทบโควิด ยื่นขอรับความช่วยเหลือได้ถึง 31 ธ.ค. นี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อช่วยลดภาระหนี้ในระยะยาวแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยมีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน สะดวก บรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็วโดยครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภทดังนี้

  1. บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เน้นการบรรเทาภาระหนี้ กรณีเปลี่ยนเป็นหนี้ระยะยาวเกินกว่า 48 งวด โดยให้ทบทวนอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราที่กำหนด หรือรวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือสินเชื่อรายย่อยอื่น

  2. จำนำทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์

    จำนำทะเบียนรถยนต์
    1.ลดค่างวด
    2. สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง พิจารณาใน 2 ทางเลือก คือ การคืนรถ สำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หากราคา ขายประมูลได้จริงต่ำกว่าภาระหนี้ตามสัญญา ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะลูกหนี้
    3. รวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

    จำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์
    1.ลดค่างวด
    2. รวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

  3. เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์

    เช่าซื้อรถยนต์
    1. ลดค่างวด หรือ ขยายเวลา
    2. สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง พิจารณาใน 2 ทางเลือก คือ พักชำระค่างวด โดยยกเว้นดอกเบี้ยในช่วงที่พัก หรือคิดดอกเบี้ยจากฐานค่างวดในช่วงที่พักชำระหนี้ และการคืนรถ สำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หากราคาขายประมูลได้จริงต่ำกว่าภาระหนี้ตาม สัญญาผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้ 
    ทั้งนี้ การช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2 เมื่อคำนวณอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา (EIR : Effective Interest Rate) ต้องไม่สูงกว่า EIR เดิม
    3. รวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น
    4. หากลูกหนี้ชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียวเพื่อปิดบัญชี ให้ลดดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ไม่น้อยกว่า 50% ตามข้อกำหนดของ สคบ.

    เช่าซื้อรถจักรยานยนต์
    1. ลดค่างวด หรือ ขยายเวลา เมื่อคำนวณ EIR ใหม่ตลอดอายุสัญญาต้องไม่สูงกว่า EIR เดิม
    2. รวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น
    3. หากลูกหนี้ชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียวเพื่อปิดบัญชี ให้ลดดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ไม่น้อยกว่า 50% ตามข้อกำหนดของ สคบ.

  4. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน
    1. บรรเทาภาระหนี้ โดยลดค่างวด หรือ พักเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน หรือ พักเงินต้น และพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ย หรือ พักชำระค่างวด
    2. ทยอยชำระคืนเป็นขั้นบันได (step up) ตามความสามารถของลูกหนี้ หลังลดค่างวดหรือพักชำระหนี้
    3. รวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น


ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งความประสงค์รับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม - 31 ธันวาคม 2564 ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทางการเงิน โดย ธปท. ขอให้ผู้ให้บริการทางการเงินให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานะของลูกหนี้ตามมาตรการที่กำหนด รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมตามนโยบายของผู้ให้บริการทางการเงิน

n3464-02

นอกจากนี้ ธปท. มีช่องทางสนับสนุนในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อน ดังนี้

1. มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ สำหรับการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ได้ขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 และจะเพิ่มการไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อในระยะต่อไป 

2. โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน เพื่อเป็นแหล่งให้ข้อมูลและข้อแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้รายย่อยและธุรกิจ ซึ่งลูกหนี้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและนำไปแก้ไขปัญหา หรือบอกต่อข้อแนะนำแก่ผู้ใกล้ชิดได้ โดยศึกษาข้อมูลได้ทาง www.bot.or.th/app/doctordebt/ 

ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบสามารถศึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือได้ที่ผู้ให้บริการทางการเงินของท่าน ผ่านช่องทางต่าง ๆ 

สำหรับลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพ ธปท. สนับสนุนให้ทยอยชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพักชำระเงินต้น และ/หรือดอกเบี้ย จะยังคงมีการคิดดอกเบี้ยตามระยะเวลาการกู้ยืมอยู่ ซึ่งจะทำให้ภาระการชำระหนี้ของลูกหนี้เพิ่มขึ้นในระยะยาว 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

มหาดไทย เตือน ทวงหนี้ มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน ลูกหนี้แจ้งตำรวจได้
เช็กเงื่อนไข! ธ.ก.ส.เปิด พักหนี้ตามความสมัครใจ ครอบคลุมลูกค้า 3.5 ล้านคน
พักหนี้ออมสิน ไม่ต้องไปสาขา ยื่นเรื่องผ่านแอพฯ MyMo ได้เลย

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม