แต่ส่วนการนำไปทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่แจ้งว่ามีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ต้องไปขออนุญาตตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุข เพราะมี พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 ควบคุมอยู่ นอกจากนี้การนำไปทำเป็นอาหารหรือเป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อขายนั้น พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ยังไม่ปลดล็อคให้สามารถนำพืชกระท่อมไปทำอาหารหรือผสมในอาหารเพื่อจำหน่ายได้ โดยประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424 ) พ.ศ. 2564 ออกตามความใน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้อาหารที่ปรุงจากพืชกระท่อมเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย หรือแม้กระทั่งน้ำต้มกระท่อมที่ไม่ได้ผสมกับสิ่งใดเลยก็เป็นสิ่งที่ห้ามผลิตเพื่อจำหน่ายตามประกาศฉบับนี้ การฝ่าฝืน ผลิต และขาย อาหาร ที่ พ.ร.บ. อาหาร ห้าม มีโทษตามมาตรา 50 จำคุก 6 เดือน - 2 ปี ปรับ 5,000 - 20,000 บาท
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอาง ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ จากพืชกระท่อมได้อย่างเต็มที่ กระทรวงสาธารณสุขจึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ จากพืชกระท่อมเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอางได้เรื่องนี้เป็นอุปสรรคในการค้าขายแบบชาวบ้าน ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. .... คณะกรรมาธิการฯ
ซึ่งตนเป็น ประธานฯ ได้มีข้อสังเกตเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจะส่งให้กระทรวงสาธารณสุขรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว แต่สำหรับในช่วงนี้ที่ประกาศยังไม่ถูกแก้ไข หากผู้ประกอบการที่อยากจะพัฒนาต่อยอดเพื่อสกัดหรือแปรรูปพืชกระท่อมโดยใช้ประโยชน์จากสารสำคัญในใบกระท่อมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือยาแผนโบราณ ที่มีสรรพคุณในการบำบัดหรือบรรเทาออาการต่าง ๆ นั้น สามารถขอคำแนะนำหรือติดต่อได้ที่ กองควบคุมผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อย.เตือน ก่อนทำผลิตภัณฑ์ ใบกระท่อม พืชกระท่อม ขาย ต้องขออนุญาต
- ม.อ. เผยผลวิจัย พืชกระท่อม ต้านซึมเศร้า บรรเทาอาการพาร์กินสัน
- ทำความรู้จัก ใบกระท่อม หลังปลดล็อก มีสรรพคุณทางยา บรรเทาโรค
Advertisement