หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า
โควิด 19 ในเด็ก และการให้วัคซีน ยง ภู่วรวรรณ 20 กันยายน 2564 โรคโควิด 19 ในเด็ก อายุ 12 -17 ปี จะมีอาการไม่มาก หรือเสียชีวิตน้อยมาก
จากการศึกษาในอเมริกาช่วงการระบาด 120 วัน เด็กวัยรุ่น 1 ล้านคน ผู้ชายเสียชีวิต 2 คน ถ้าเป็นผู้หญิงเสียชีวิต 1 คน
การติดเชื้อในเด็กส่วนมากจะรับเชื้อมาจากผู้ใหญ่ เช่นผู้ปกครอง ครอบครัว ครูและบุคลากรในโรงเรียน
เมื่อเด็กมารวมกันเป็นกลุ่ม จะเป็นต้นเหตุของการระบาดได้ การให้วัคซีนในผู้ใหญ่จึงมีความสำคัญในการป้องกันเด็ก และการให้วัคซีนในเด็กจะต้องมีความปลอดภัยสูง วัคซีน mRNA อาการข้างเคียงที่สำคัญคือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อายุน้อยพบมากกว่าผู้ที่สูงอายุ เพศชายพบมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่พบในเข็มที่ 2 มากกว่าเข็มแรก ประเทศ อังกฤษ สวีเดน และฮ่องกง ให้ฉีดเพียงเข็มเดียว
การฉีดเข็มเดียวภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น ไม่เพียงพอ เมื่อมีวัคซีน mRNA กระทรวงสาธารณสุข ให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องการ วัคซีน mRNA มีอยู่ข้อหนึ่งว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดใดมาก็ตาม สามารถฉีดวัคซีน pfizer เป็นเข็มที่ 2 โดยกำหนดระยะห่างตามวัคซีนเข็มแรก
บุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนเชื้อตาย sinovac หรือ sinopharm แล้วฉีด pfizer เข็มที่ 2 น่าจะได้มีการรวบรวมอาการข้างเคียง
ทางศูนย์ก็ยินดีที่จะตรวจภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังจากการฉีดดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ในเด็กวัยรุ่น ในการให้วัคซีน mRNA เพียงเข็มเดียว เพื่อลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ภาพจาก AFP
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- หมอยง เผย ฉีดเข็ม 3 ในผู้ได้วัคซีนเชื้อตาย 2 ครั้ง กระตุ้นภูมิขัดขวางเดลตาได้ดี
- หมอยง เผย วัคซีนไม่ช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ แต่สามารถลดความรุนแรงโรค อัตราตาย
- หมอยง เผย ยิ่งภูมิสูงขึ้นมาก ก็จะลดลงเร็ว เชื่อ โควิด ไม่หมดไปอย่างแน่นอน เราต้องอยู่กับมันให้ได้