Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
Big Ocean บอยแบนด์ที่บกพร่องทางการได้ยิน เปิดสังคมโลกที่มีต่อผู้พิการ

Big Ocean บอยแบนด์ที่บกพร่องทางการได้ยิน เปิดสังคมโลกที่มีต่อผู้พิการ

14 ก.ย. 67
10:34 น.
|
494
แชร์

ทำความรู้จัก Big Ocean ไอดอลผู้พิการทางหู บอยแบนด์ที่บกพร่องทางการได้ยินวงแรกของโลก กลุ่มที่อยากเปิดประตูใบใหม่แห่งเสียงเพลง

เมื่อพูดถึงอาชีพการเป็นไอดอล หลายคนต้องนึกถึงการร้องดี เต้นเก่ง ครองเวทีได้ แต่ไม่เสมอไป เมื่อ Big Ocean ก้าวเข้าสู่การเป็นไอดอล ที่มาพร้อมกับความบกพร่องทางการได้ยิน ขึ้นเวทีพร้อมกับการใส่เครื่องช่วยฟัง จับจังหวะผ่านแรงสั่นสะเทือน เชื่อมโยงผู้สูญเสียการได้ยินเข้าสู่โลกของดนตรีผ่านเสียงเพลง ภาษามือ และการเต้น

 

  • เพราะดนตรีไม่มีกำแพงทางภาษา

หลายคนนิยมฟังเพลงที่ไม่ใช่ภาษาแม่ของตัวเอง ดั่งเช่น แฟนเพลงตะวันตก แฟนเพลงเกาหลี แฟนเพลงญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งรสนิยมการฟังเพลงเหล่านี้ ส่วนเป็นความชื่นชอบส่วนบุคคลทั้งนั้น โดยหลายคนเชื่อว่าดนตรีไม่มีกำแพงทางภาษา เมื่อเนื้อเพลงที่ฟังจะไม่สามารถแปฃออก ก็แต่สามารถร้องตามได้เมื่อฟังบ่อย ๆ เข้า แต่กลับกันหาเพลงนี้อยู่ใกล้กับคนที่มีปัญหาบกพร่องทางการได้ยิน ย่อมเป็นเรื่องที่น่าเสียดายในการรับความบันเทิงนี้ได้

อย่างที่ทราบกันดีว่า วงการเคป็อปพยายามทำลายกรอบแนวคิดเดิมหลายครั้ง รวมไปถึงการเปิดโลกให้ "ผู้พิการทางการได้ยิน" ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำกัน โดยเพิ่ม "ภาษามือ" เข้ามาในบทเพลง บางเพลงเปลี่ยนจากการใช้ท่าเต้นยาก ๆ ด้วยการใช้ภาษามือสื่อสาร บางเพลงใช้ภาษามือในการเสนอเพลงให้ลึกซึ้งขึ้นในมิวสิควิดีโอ และบางคอนเสิร์ตก็มีล่ามภาษามืออยู่ทั้งบนเวที และในจอ LED ซึ่งการเพิ่มเติมเรื่องเหล่านี้เข้ามา ถือเป็นหนึ่งในการเปิดประตูแห่งความสุนทรีย์ให้กับคนหูหนวกได้ไม่น้อย

 

  • จุดเริ่มต้นของการเปิดโลกบทเพลงให้คนหูหนวก

T-ARA - TIAMO
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2016 วง T-ARA ได้ปล่อยเพลงจังหวะกลางอย่าง TIAMO มาให้แฟนคลับฟัง โดยเป็นการปล่อยเพลงด้วยสมาชิก 6 ดั้งเดิมครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปทำงานส่วนตัว ซึ่งในท่อนสุดท้ายของคอรัส ได้ทำท่าเต้นเป็นนิ้วก้อยและนิ้วโป้ง ที่มีความหมายว่า "ถึงคนที่ฉันรัก" เข้ากับเนื้อเพลงและอารมณ์ของเพลง

BTOB - Missing You
Missing You หนึ่งในเพลงอมตะของวง BTOB ที่ปล่อยออกมาในปี 2017 ในประโยคแรกของท่อนคอรัสมีความหมายว่า "ฉันใช้เวลาเป็นปีในการคิดถึงคุณ" วงได้เอาภาษามือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของท่าเต้น โดยทำท่าภาษามือตอนที่ร้องคำว่า "ปี, ผ่านไป, คิดถึง" ซึ่งเพลงนี้มีความหมายมากยิ่งขึ้น เมื่อสมาชิกเอาไปให้ผู้พิการทางการได้ยินฟัง และขอให้สอนท่าภาษามือ เพื่อให้สื่อสารกันได้อย่างถูกจุด

BTS - Permission to Dance
หนึ่งในเพลงขึ้นหิ้งของ BTS ที่ใช้ท่าเต้นหลังจากคอรัสด้วยภาษามือ โดยใช้เป็นภาษามือสากล ด้วยการชูนิ้วโป้งทั้งสองมือ ขยับสลับขึ้นลงที่หมายถึงความสนุก นอกจากนี้ยังมีท่าที่ยกมืออีกข้างหนึ่งพร้อมทำรูปตัว A บนฝ่ามือ ที่สื่อถึงการเต้น ส่วนการชูนิ้วเป็นรูปตัว V ทั้ง 2 มือหมายถึงความสงบ

 

Weki Meki - Butterfly
ต่อมาในปี 2018 Weki Meki ได้ปล่อยเพลง Butterfly ออกมาในรูปแบบดิจิทัลซิงเกิล โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งข้อความความหมายดี ๆ ให้กับผู้ฟัง นอกจากนี้ในงานแสดงโชว์เคส ในงาน PyeongChang Winter Olympics สมาชิกยังได้ใช้ภาษามือเป็นท่าเต้นทุกท่อนที่แสดงในงาน โดยหวังว่านักกีฬาทุกคนที่ได้เห็นและฟัง จะได้รับกำลังใจดี ๆ ทุกคน และเป็นการสื่อสารว่าพวกเธอพร้อมที่จะสนับสนุนนักกีฬาทุกคน

 

  • จากจุดเริ่มต้นสู่การเดบิวต์ Big Ocean

Big Ocean เป็นการรวมตัวเพื่อความฝันของเด็กฝึกทั้ง 3 คน ฮยอนจิน (Hyunjin), จีซอก (Jiseok) และชานยอน (Chan-yeon) ผ่านแนวเพลง S-Pop หรือ Sign Language Pop ที่จะมาเป็นสีสันใหม่ให้กับวงการ K-POP ภายใต้ค่าย PARASTAR Entertainment โดยความตั้งใจของชาแอรี ประธานค่ายที่อยากให้เสียงเพลงเข้าถึง แม้กระทั่งกลุ่มคนที่สูญเสียการได้ยิน

pic4
สมาชิกวง Big Ocean
(จากซ้ายไปขวา) จีซอก, ฮยอนจิน, และ ชานยอน

 

บิ๊ก โอเชียน (Big Ocean) ถือเป็นกลุ่มผู้บกพร่องทางการได้ยินวงแรกของเกาหลีใต้ ที่ประธานค่ายสร้างขึ้นพร้อมกับคำถามว่า "ทำไมกลุ่มผู้พิการจึงไม่สามารถเป็นไอดอลได้" ถึงแม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และโครงการถูกพับเก็บไประยะหนึ่ง แต่ในที่สุดเธอก็ได้เปิดตัวเด็กหนุ่มทั้ง 3 สู่สายตาสาธารณะ โดยเธอกล่าวว่า "ในช่วงเริ่มต้น มีศิลปินฝึกหัดอยู่ทั้งหมด 7 คน แต่ว่ามีเพียงผู้ที่ผ่านเกณฑ์เพียง 3 คนเท่านั้น หลังผ่านการฝึกหัดอย่างเข้มข้นราวหนึ่งปีครึ่ง"

Big Ocean เดบิวต์ในวันที่ 20 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวันคนพิการของเกาหลีใต้ โดยเลือกใช้เพลงรีเมคอย่าง Hope ของวง H.O.T จาก SM Entertainment ที่เป็นหนึ่งในบริษัทที่ลงทุนกับค่าย ส่วนเหตุผลที่เลือกใช้เพลงนี้ในการเปิดตัว เพราะต้องการให้ผู้ฟังเข้าถึงวงได้ง่ายขึ้น โดยใช้ชื่อเพลงว่า "Glow" ที่ผสมผสานท่าเต้นที่เป็นภาษามือเกาหลี อเมริกัน และภาษามือในประเทศต่าง ๆ

 

 

  • หนทางสู่การเป็นสมาชิก Big Ocean

ParaStar Entertainment เปิดตัวโครงการเดบิวต์นี้โดยเชื่อว่า ดนตรีสามารถเอาชนะอุปสรรคด้านภาษา และข้อจำกัดทางกายภาพ ผ่านวัฒนธรรมเค-ป็อป โดยคำนึงถึงแนวเพลงใหม่อย่าง S-Pop ย่อมาจาก Sign Language Pop หรือป๊อปภาษามือ หมายถึงแนวเพลงของผู้สูญเสียการได้ยิน ผ่านการร้องเพลง ในภาษามือเกาหลี (KSL) ภาษามืออเมริกัน (ASL) และภาษามือสากล (ISL)

แม้จะบกพร่องทางการได้ยิน แต่ก็ยังสามารถสื่อสารผ่านการพูดและได้ยินเสียง ผ่านการใช้เครื่องช่วยฟัง โดยอาศัยการจับจังหวะเพลงผ่านแรงสั่นสะเทือนจากนาฬิกา เครื่องเมโทรนอม เทคโนโลยี รวมถึงฝึกซ้อมอย่างหนัก เพราะสมาชิกแต่ละคน มีระดับของการสูญเสียการได้ยินที่ต่างกัน การเริ่มต้นฝึกซ้อมจึงไม่ง่ายนัก

pic7
อุปกรณ์สั่นสะเทือน

 

สมาชิกของวงประกอบไปด้วย สมาชิก 3 คน ได้แก่ อีชานยอน (Lee Chanyeon) อายุ 26 ปี รับหน้าที่แร็ปเปอร์, พัคฮยอนจิน (Park Hyunjin) อายุ 25 ปี รับหน้าที่นักร้องหลัก และคิมจีซอก (Kim Jiseok) อายุ 21 ปี รับหน้าที่แร็ปเปอร์ โดยพวกเขามีระดับการสูญเสียการได้ยินในระดับที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต คิมจีซอกหูหนวกแต่กำเนิด, พัคฮยอนจิน สูญเสียการได้ยินตอนอายุ 3 ขวบ และ อีชานยอน หูหนวกตอนที่เขาอายุ 18 ปี

อย่างที่ได้กล่าวว่าทั้งสามคน มีความสามารถในการได้ยินเสียงแตกต่างกัน หมายความว่าแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง ต่อเสียงเดียวกันแตกต่างกันไป โดยต้องผ่านการจดจำว่า ต้องเริ่มร้องและหยุดร้องตรงไหน ออกเสียงอย่างไร เนื่องจากไม่ได้ยินเสียงครบ 100% จึงต้องพึ่งพาประสาทหูเทียม และอุปกรณ์ช่วยการได้ยินเสียง รวมถึงใช้การอ่านริมฝีปากในการสื่อสาร

pic5
สมาชิกวง Big Ocean
(จากซ้ายไปขวา) จีซอก, ฮยอนจิน, และ ชานยอน

 

  • การส่งเสียงเชียร์ไม่ได้จำเป็นกับสมาชิกวง

วัฒนธรรมของการเข้าชมไอดอลในห้องอัด สตูดิโอถ่ายทำ หรือแม้กระทั่งในการเปิดตัว อาจมีเสียงตะโกน เสียงเชียร์ จากบรรดาแฟนเพลงที่ดังกึกก้อ แต่สำหรับพวกเขาทั้งสามคนแล้ว ความเงียบของแฟนคลับ ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ท้อใจ แต่ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นเรื่องที่น่าประทับใจมากกว่า

เพราะประสาทการรับเสียงไม่เหมือนคนปกติ ที่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์หลายอย่าง ทำให้แฟนคลับเองก็หลีกเลี่ยงที่จะตะโกน เพื่อไม่ให้ Big Ocean หลุดจากเสียงดนตรีแบคกิ้งแทร็ค (backing track) จนทำให้การแสดงมีปัญฆา กลับส่งกำลังใจด้วยการโยกตัวตาม หรือชูแขนให้กำลังใจแทน

pic6
สมาชิกวง Big Ocean
(จากซ้ายไปขวา) จีซอก, ฮยอนจิน, และ ชานยอน

 

ถึงจะไม่โดดเด่น แต่ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการเพลงเกาหลี ที่เปิดพื้นที่ให้ความหลากหลายของสังคม ได้ออกมาแสดงความสามารถของตัวเอง และความแตกต่างเหล่านั้นก็นับเป็นสีสันใหม่ ๆ ที่สำคัญการเดบิวต์ของ Big Ocean ได้แสดงให้โลกเห็นว่า "ถ้าหากมีความตั้งใจจริง ทุกสิ่งในโลกก็เป็นจริงได้ ถึงจะไม่ยิน แต่ดนตรีจะเป็นสื่อกลาง ที่ทำให้คนทุกความแตกต่างเชื่อมหากัน"

Advertisement

แชร์
Big Ocean บอยแบนด์ที่บกพร่องทางการได้ยิน เปิดสังคมโลกที่มีต่อผู้พิการ