ทั้งนี้ กลุ่มอาชีพของผู้แชร์ข่าวที่เข้าข่ายเป็นข่าวปลอมมากที่สุด 3 อ้นดับแรก ได้แก่ กลุ่มอาชีพคุณครูอาจารย์ 14.0% ตามมาด้วย กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มอาชีพช่างภาพ 9.4% และกลุ่มอาชีพวิศวกร 7.0%
“เราต้องขอขอบคุณสำนักข่าว และอินฟลูเอนเซอร์หลายราย ที่สนับสนุนการทำงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ในการสร้างการรับรู้และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องไปยังประชาชน และสาธารณะในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง” ชัยวุฒิกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในรอบปี 64 มีรายชื่อสำนักข่าว และ Influencer ที่ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมากสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ ไทยรัฐ จส.100 มติชน บางกอกโพสต์ FM91 Trafficpro ข่าวจริงประเทศไทย ฐานเศรษฐกิจ News.ch 7 โพสต์ทูเดย์ และคมชัดลึก ตามลำดับ
ส่วนภาพรวมผลการดำเนินการของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (วันที่ 1 พ.ย. 62 – 23 ธ.ค. 2564) มีข้อความข่าวที่ต้องคัดกรอง 455,121,428 ข้อความ หลังจากคัดกรองพบข้อความข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 13,262 เรื่องแบ่งเป็น โดยหมวดหมู่สุขภาพ 6,855 เรื่อง ตามมาด้วย หมวดหมู่นโยบายรัฐ 5,865 เรื่อง หมวดหมู่เศรษฐกิจ 282 เรื่อง และหมวดหมู่ภัยพิบัติ 260 เรื่อง
ด้าน อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวว่า ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเริ่มจัดเก็บข้อมูลการเปรียบเทียบ Trend ของหมวดหมู่ข่าวทั้ง 4 หมวด โดยระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 63 - 23 ธ.ค. 64 พบว่า หมวดนโยบาย มีแนวโน้มสูงสุด มียอดเฉลี่ยการพูดถึง 53,017 ครั้งต่อวัน คิดเป็น 46.77% โดยพบว่าข่าวปลอมสูง ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 เนื่องจากเป็นช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายออกมาเพื่อเยียวยาให้กับประชาชน มียอดการพูด การสนทนา การโพสต์ บทความ ถึงนโยบายเยียวยา การแชร์ข้อมูลความถี่สูงขึ้น
รองลงมาเป็น หมวดหมู่สุขภาพ มียอดเฉลี่ยการพูดถึง 29,329 ครั้งต่อวัน คิดเป็น 25.87% พบว่าข่าวปลอมสูงในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 เช่นกัน โดยคาดการณ์ในอนาคต มีแนวโน้มว่า หากมีการพบโรคระบาดใหม่ก็เป็นไปได้ว่าจะมีการนำประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพการรับประทาน การรักษาด้วยตนเองมาบิดเบือนและแชร์ข้อมูล เกิดความเข้าใจผิดวนซ้ำได้อีก
ส่วน หมวดหมู่เศรษฐกิจ มียอดเฉลี่ยการพูดถึง 15,966 ครั้งต่อวัน คิดเป็น 14.09% พบข่าวบิดเบือน และข่าวปลอมในช่วงที่มีการปรับ เปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าอุปโภคและบริโภค ส่วนหมวดหมู่ภัยพิบัติ มีแนวโน้มที่จำนวนการพูดถึงเฉลี่ย 15,042 ครั้งต่อวัน คิดเป็น 13.27% โดยพบข่าวปลอมสูงในบางช่วง ในสถานการณ์วิกฤตช่วงเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ กระแสข่าวเกี่ยวกับมีผู้ประสบภัยพิบัติของทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับในปี 2565 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม จะมุ่งเน้นกิจกรรมให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยครอบคลุมตั้งแต่ระดับเยาวชน จนถึงเครือข่ายภาคประชาชน โดยกลุ่มเป้าหมายนักเรียน นักศึกษา ได้จัดกิจกรรมจัดประกวดการผลิตคลิปวีดีโอสั้น เพื่อสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ทีมชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษาทีมละ 80,000 บาท เปิดรับผลงาน ช่วง ม.ค. 65 – มี.ค 65 และประกาศผล พ.ค. 65 โดยทุกคลิปวิดีโอที่ได้รับรางวัลจะได้รับการเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงบนสถานีโทรทัศน์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ชัยวุฒิ ยืนยัน Thailand pass พร้อม 100% รองรับนักท่องเที่ยวลงทะเบียนผ่านระบบดิจิทัล
- ประวิตร ลั่นไม่เลิกทะเลาะ ขอลาออก หลัง ธรรมนัส ปะทะ ชัยวุฒิ ปมปรับโครงสร้างพรรค
- ดราม่า พระเกี้ยว ชัยวุฒิ เชื่อทุกคนภูมิใจได้แบกเสลี่ยง เนติวิทย์ สวนให้มาแบกเอง
Advertisement