เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 22 พ.ย. 67 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีการประชุมประจำสัปดาห์ ซึ่งได้มีการหยิบยกคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เพื่อพิจารณารับหรือไม่รับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัย
หลังจากที่อัยการสูงสุด (อสส.) ได้ส่งบันทึกสอบถ้อยคำต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา ในประเด็นที่ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
นอกจากนี้ ทางอสส.ยังมีความเห็นแจ้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่าเรื่องนี้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ว่า เป็นการล้มล้างการปกครอง อัยการสูงสุด จึงมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของคณะทำงานที่เสนอมายัง อสส. ก่อนหน้านี้
สำหรับคำร้องที่นายธีรยุทธ ยื่นมี 6 ประเด็น ประกอบด้วย
ประเด็นที่ 1 นายทักษิณ สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่นายทักษิณ ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต
ประเด็นที่ 2 นายทักษิณ สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา
ประเด็นที่ 3 นายทักษิณ สั่งการให้พรรคเพื่อไทย ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิม ที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธธธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประเด็นที่ 4 นายทักษิณ สั่งการแทนพรรคเพื่อไทย โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของนายทักษิณ
ประเด็นที่ 5 นายทักษิณ สั่งการให้พรรคเพื่อไทย มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล
ประเด็นที่ 6 นายทักษิณ สั่งการให้พรรคเพื่อไทย นำนโยบายของนายทักษิณ ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
ล่าสุดเมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 22 พ.ย. 67 ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3-6 ไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอ ส่วนประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ2 มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา
โดยมีรายเอียดดังนี้
Advertisement