Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
7 เหตุผล ในการแจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง อบจ. กันถูกตัดสิทธิ มีอะไรบ้าง?

7 เหตุผล ในการแจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง อบจ. กันถูกตัดสิทธิ มีอะไรบ้าง?

21 ม.ค. 68
16:33 น.
|
411
แชร์

กกต. แจง 7 เหตุผลจำเป็นสำหรับผู้ที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. 1 กุมภาพันธ์ 2568 มีอะไรบ้าง แต่อย่าลืมต้องทำเรื่องแจ้ง กันถูกตัดสิทธิทางการเมือง 2 ปี

ตามที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในวันเสาร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่เวลา 18.00 - 17.00 น. โดยมีจังหวัดที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 47 จังหวัด และอีก 29 จังหวัด จัดให้มีการเลือกตั้งเฉพาะสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด นั้น

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เตรียมความพร้อมไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสีของบัตรเลือกตั้ง ดังนี้

1. ตรวจสอบรายชื่อ และลำดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ประกาศไว้ ณ หน้าที่เลือกตั้ง หรือจากหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน (ส.ถ./ผ.ถ. 1/6) หรือจากแอปพลิเคชัน Smart Vote

2. ยื่นหลักฐานที่ใช้แสดงตนในการลงคะแนนเลือกตั้ง ได้แก่

-บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรประชาชนที่หมดอายุก็ใช้ได้)

- บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ, ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ต

- หลักฐานภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดผ่านแอปพลิเคชันของหน่วยงานของรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แอปพลิเคชัน ThaID (บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์), แอปพลิเคชัน DLT QR LICENCE (ใบอนุญาตขับขี่อิเล็กทรอนิกส์) และแอปพลิเคชันบัตรคนพิการ (บัตรประจำตัวคนพิการอิเล็กทรอนิกส์)

โดยให้ยื่นต่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) พร้อมลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

3. รับบัตรเลือกตั้ง ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือลงที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง โดยรับบัตรเลือกตั้ง ดังนี้

- จังหวัดที่เลือกตั้งสมาชิก อบจ. และนายก อบจ. จะได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

- จังหวัดที่เลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. อย่างเดียว จะได้รับบัตรเลือกตั้ง 1 ใบ

4. เข้าคูหาลงคะแนนทำเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทำเครื่องหมาย ดังนี้

ทำเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้ง ไม่เกินหนึ่งหมายเลข หรือหากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครผู้ใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาท X ในช่องไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด

5. พับบัตรเลือกตั้ง แล้วหย่อนใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเสาร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 สามารถแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ในช่วงก่อนวันเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 25 – 31 มกราคม 2568 และในช่วงหลังวันเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 2 – 8 กุมภาพันธ์ 2568 ตามแบบ ส.ถ./ผ.ถ. 1/8 หรือทำเป็นหนังสือซึ่งอย่างน้อยต้องระบุหมายเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้านให้ชัดเจน พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่าไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ด้วยเหตุใด ยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วยตนเอง หรือทำเป็นหนังสือมอบหมายให้บุคคลอื่นไปยื่นแทน หรือ จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือ แจ้งเหตุผ่านช่องทางออนไลน์ คลิกที่นี่ หรือทำผ่านแอปพลิเคชัน Smart Vote หรือแจ้งทางเว็บไซต์ของสำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย www.bora.dopa.go.th

7 สาเหตุจำเป็น ที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. ประกอบด้วย

1. มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล

2. เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

3. เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

4. เดินทางออกนอกราชอาณาจักร

5. มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร

6. ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง และ

7. มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด

กรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แจ้งเหตุไว้แล้ว หากในวันเลือกตั้งเหตุดังกล่าวได้สิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งได้

หากท่านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะถูกจำกัดสิทธิอะไรบ้าง ?

1. สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (สถ./ผถ.) หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

2. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน

3. เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (สถ./ผถ.)

4. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

5. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

"การถูกจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง"

Advertisement

แชร์
7 เหตุผล ในการแจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง อบจ. กันถูกตัดสิทธิ มีอะไรบ้าง?