Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สบส.-แพทยสภา สอบ หมอเกศ อู้ฟู่ 126 ล้าน รายได้แขวนป้ายหมอ 2.1 แสน/ปี

สบส.-แพทยสภา สอบ หมอเกศ อู้ฟู่ 126 ล้าน รายได้แขวนป้ายหมอ 2.1 แสน/ปี

26 ม.ค. 68
13:37 น.
|
177
แชร์

สบส.-แพทยสภา ตรวจสอบ สว.หมอเกศ รวยอู้ฟู่ 126 ล้าน อ้างรายได้แขวนป้ายหมอปีละ 2.1 แสน ต่อปี

จากกรณีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในจำนวนนี้มี พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย หรือหมอเกศ ที่เข้ารับตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) มีทรัพย์สินรวมมูลค่ากว่า 126 ล้านบาท หนี้สิน 43 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีการชี้แจงต่อ ป.ป.ช.ว่า มีรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการแขวนป้ายหมอ ทำรายได้ 210,000 บาท ต่อปี ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ารายได้ดังกล่าวมีที่มาอย่างไร เนื่องจากประกาศของแพทยสภากำหนดห้ามแพทย์ทำการแขวนป้าย โดยไม่ได้ทำการตรวจรักษาจริงเข้าข่ายมีความผิดตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525

โดยแหล่งข่าวระดับสูงจากแพทยสภา กล่าวถึงกรณีที่มารายได้ของแพทย์ ไม่ควรมาจากการแขวนป้าย มีแต่รายได้จากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมม ตามมาตรา 40 (6) ดังนั้น การที่แจ้งว่ามีรายได้จากการแขวนป้ายนี้ เป็นรายได้ตามมาตรา 40 (1) หรือไม่ ซึ่งถามเป็นมาตรา 40 (1) จะคือรายได้ที่แน่นอนทุกเดือน ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับการแขวนป้าย แต่การแขวนป้ายนั้น เป็นสิ่งที่ห้ามกระทำ มีโทษรุนแรง

ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ระบุว่า ต้องดูว่าทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส. ) ว่าแพทย์หญิงคนดังกล่าวมีชื่อเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่ไหน และได้เข้าไปดูแลผู้ป่วย ดูแลกิจการจริงๆ หรือไม่ แพทยสภามีหน้าที่ในการรับรองส่งต่อ จากสบส.ว่ามีการแขวนป้ายจริงหรือไม่

ถามว่าหากแขวนป้ายหมอต้องทำงานจริงๆ หากไม่ปฏิบัติงานจริงจะมีความผิดหรือไม่ ทพ.อาคม กล่าวว่า หากไม่ปฏิบัติตามก็จะมีความผิดฐานละเลย ไม่ดูแลคลินิกให้เรียบร้อย โทษส่วนใหญ่จะไปตกที่ผู้รับอนุญาตที่ไม่จัดหาผู้ดำเนินการ หรือผู้ประกอบกิจการที่ทำหน้าที่ดำเนินการ หากไม่ดูแลให้เรียบร้อยก็จะมีโทษ ส่วนโทษก็อาจจะไม่ถึงขนาดปิดกิจการ อย่างกรณีผู้ดำเนินการไม่อยู่ หรือคลินิกไม่มีผู้ดำเนินการ ทางผู้ประกอบกิจการก็จะมีโทษจำคุก 5 ปี หรือปรับ 1แสนบาท ส่วนผู้ดำเนินการไม่ดูแลอย่างใกล้ชิดก็จะมีโทษปล่อยปละละเลย ไม่ทำหน้าที่จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท

ทั้งนี้ หากผู้ดำเนินการมีความผิด ก็จะส่งเรื่องให้ทางแพทยสภาพิจารณาในเรื่องจรรยาบรรณต่อไป

Advertisement

แชร์
สบส.-แพทยสภา สอบ หมอเกศ อู้ฟู่ 126 ล้าน รายได้แขวนป้ายหมอ 2.1 แสน/ปี