ทั้งนี้ นางนพรัตน์ กุลหิรัญ ผู้ก่อตั้ง บริษัทชัยเสรีเม็ททอลแอนด์รับเบอร์จำกัด กล่าวว่า บริษัทเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2506 และเริ่มค่าขายกับกองทัพไทยมีสัญญาฉบับแรกในสมัยพลเอกประภาสจารุเสถียรเป็นผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ.2511 โดยมีสัญญาซ่อมบำรุงรถค่าขายอะไหล่รถให้กับกองทัพส่วนมากคือการซ่อมรถต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้รวมระยะเวลา 54ปี แล้ว สิ่งที่โรงงานเราทำคือ
1.การซ่อมรถให้กองทัพทุกชนิดตั้งแต่รถจิ๊บ M151 รถบรรทุกทหาร M35 รถกู้ซ่อมรถถังทุกชนิดรถถังจีนรถถัง อเมริกัน M113M60M48
ส่วนเรื่องที่ 2. เนื่องจากเราซ่อมรถมาเยอะโดยเฉพาะรถเกราะล้อยางรถข้อต่อสายพานหรือที่เขาเรียกว่ารถถังในโลกนี้มี 2 แบบ ประเภทแบบตีนตะขาบ ซึ่งบริษัทชัยเสรีของเราได้ผลิตช่วงล่างทั้งหมดของรถถังขายไปทั่วโลก 44 ประเทศ หมายถึงขายโดยตรงถึงกองทัพในแต่ละประเทศ
และ 3. ชัยเสรีสามารถผลิตรถเกราะล้อยางที่เราออกแบบเองโดยคิดค้นดัดแปลงรถปิกอัพมาติดเกราะ แต่มีน้ำหนักมากจึงไม่ประสบความสำเร็จเราเอารถฮัมวี่มาติดเกราะก็ไม่ดีอีก เนื่องจากรถแต่ละชนิดที่เขาทำมาได้คำนวณน้ำหนักที่เหมาะสมแล้วเมื่อเพิ่มเกราะไปการเคลื่อนที่ก็ลำบากเราจึงคิดค้นออกแบบใหม่เป็นรถเกราะล้อยางที่สามารถกันกระสุนกันระเบิดรถเกราะของเราจะไม่เหมือนรถเกราะของประเทศต่างๆที่กันเฉพาะห้องผู้โดยสารซึ่งรถเกราะล้อยางของเราสามารถป้องกันได้ทั้งคันเลยและใต้ท้องรถก็สามารถกันระเบิดได้เราพัฒนาถึง5แบบจึงประสบความสำเร็จและสามารถขายให้กองทัพ
อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเมื่อผลิตแล้วประเทศผู้ผลิตไม่ได้ใช้ก็อย่าหวังว่าจะไปขายให้ประเทศต่างๆได้ เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมป้องกันประเทศมีความสำคัญมากก็คือเมื่อเราผลิตแล้วประเทศไทยเราต้องใช้ก่อน เมื่อเราขายให้กองทัพไทยได้ เราก็ขายให้กองทัพมาเลเซีย อินโดนิเชีย รวมถึงขายให้กับ UN เนื่องจากเราซ่อมรถให้กับ UN ทุกชนิดประสบการณ์ในการซ่อมรถมาอย่างยาวนานจึงได้รับความไว้วางใจจากหลายๆประเทศทั่วโลกแต่ประเทศไทยของเรามีแอคชั่นน้อยในเรื่องแบบนี้เพราะถือเป็นหน้าตาของประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มของประเทศอาเซียนไม่มีประเทศใดที่ผลิตและซ่อมนอกจากประเทศไทยซึ่งก็มีคติอยู่ข้องหนึ่งคือ ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ
ต่อมาทางพระราชาจิกมีแห่งประเทศภูฏานได้ทำสอบรถเกราะจากทั่วโลกพบว่ารถของประเทศไทยราคาไม่สูง คุณภาพดี เหมาะกับประเทศเขาจึงได้จัดซื้อจำนวน 15 คัน โดยส่งคณะทหารมาฝึกการขับรถการบำรุงรักษาการซ่อมมีทั้งชุดที่ประจำการที่ประเทศภูฏานและประจำการที่สหประชาชาติทั้งหมดนี้มีสัญญาเรียบร้อยแล้วโดยวันที่ 19 พ.ย.64 เวลา14.00 น. เราจะมีการส่งมอบที่กระทรวงกลาโหมศรีสมานนนทบุรี ซึ่งจะมีทูตานุทูตผู้แทนพระองค์ของพระราชาจิก มีเอกอัครราชทูตประเทศภูฏาน นับว่าเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ส่งรถเกราะล้อยางไปประจำการที่สหประชาชาติ
ชัยเสรีของเรา ทำการตลาดกับประเทศต่างๆในการซื้อขายได้โดยตรงอยู่แล้วแต่เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลจึงเจรจาและการทำสัญญาซื้อขายรถเกราะล้อยางแบบรัฐต่อรัฐ (GovernmenttoGovernment:GtoG) โดยเสนอขายจากรัฐบาลเราไปยังรัฐบาลหลายๆประเทศ ซึ่งก็มีประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สามารถผลิตยุทโธปกรณ์จำหน่ายไปทั่วโลกในสภาวะแบบนี้รัฐบาลต้องมีผลงานและแสดงถึงรัฐบาลไทยมีความเข้มแข็งเป็นหนึ่งในผู้นำอาเซียนได้เซ็น MOU กับกองทัพฟิลิปปินส์ ในโครงการขายรถเกราะล้อยางจำนวน 900 คัน โดยล็อตแรกจำนวน 200 คัน ก่อน เพราะฉะนั้นคนขายต้องตามคนซื้อถ้าเราจะไปตั้งกฎเกณฑ์โน้นนี่นั่นมากมายและใครจะมาซื้อของเราการที่เราได้งานแบบนี้ดีตรงนี้ทำให้คนงานเรามีงานทำในสภาวะเหตุการณ์แบบนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- กองทัพอากาศ แจงแล้ว ปมซื้อ เครื่องบิน AT-6TH ราคา 4,500 ล้านบาท โปร่งใส คุ้มค่า
- ชะลอ เรือดำน้ำ กองทัพเรือออกคลิปแถลง ลำที่ 2 และ 3 ไม่ขอรับการจัดสรรงบ
- ทร.แจงซื้อ รถถัง ก่อนโควิดระบาด หลังฝ่ายค้านถล่ม มาถึงเร็วกว่าวัคซีน
Advertisement