"อเวจี" คือ นรกขุมลึกที่สุดตามคติไตรภูมิ “โลกนรก” เป็นมหานรกสำหรับลงทัณฑ์ผู้ทำกรรมหนัก แต่ไม่ได้มีสถานที่ตั้งและไม่เกี่ยวกับ "ปอยเปต"
"ตกอเวจีปอยเปตแสนล้านภพแสนล้านชาติชั่วนิจนิรันดร์เดี๋ยวนี้ค่ะ" วลีคุ้นหูจากโลกออนไลน์ที่หลายคนคงได้ยินมาบ้างและเกิดความสงสัยว่า "อเวจีปอยเปต" คืออะไร อยู่ที่ไหน แล้วใครไปได้บ้าง
คำว่า อเวจี หรือ อวิจี คือนรกขุมลึกที่สุดในบรรดามหานรก 8 ขุมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ตามรากศัพท์ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต "อวีจิ" แปลว่า "ปราศจากคลื่น"หรือ"ไม่มีการหยุดพัก" (ลงโทษไม่มีการพัก) เป็นนรกขุมที่ต่ำที่สุดที่ผู้กระทำอนันตริยกรรมจะไปเกิด อนันตริยกรรมหรือครุกรรมที่ทำให้เกิดในนรกภูมินี้ ได้แก่
ขุมนรกอเวจีจะล้อมด้วยกำแพงเหล็กที่เปลวไฟลุกท่วม สัตว์นรกจะถูกเพลิงเผาผลาญด้วยอิริยาบถต่าง ๆ ทั้ง นั่ง ยืน หรือนอน ตามกรรมของตน อยู่ห้องสี่เหลี่ยมและหลาวเหล็กเสียบทะลุร่างตรึงให้แน่นิ่งไม่สามารถขยับร่างกายได้ อายุของสัตว์นรกขุมนี้คือ 1 กัลป์ ซึ่งเนิ่นนานราวการเกิดและแตกดับของโลกในคติฮินดูกับพุทธศาสนา
บุคคลสำคัญที่เคยใช้กรรมอยู่ในอเวจีนรก คือ พระเทวทัต ผู้ทำอนันตริยกรรม หรือการพยายามปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า หลังสิ้นชีพพระเทวทัตก็ลงมาเกิดในมหานรกขุมนี้ทันทีในร่างสัตว์นรกสูง 300 โยชน์ เสวยทุกข์ในห้องสี่เหลี่ยมพร้อมหลาวเหล็กขนาดเท่าต้นตาล แท่งแรกแทงจากข้างหลังทะลุด้านหน้า แท่งที่ 2 แทงทะลุสีข้างซ้าย-ขวา และแท่งสุดท้ายเสียบกลางศรีษะทะลุกลางลำตัวลงมาด้านล่าง โดยปลายหลาวเหล็กทุกด้านถูกยึดติดเพดานของห้องสี่เหลี่ยนนั้น
ตามคติไตรภูมิ “โลกนรก” หรือ “นิรยภูมิ” เป็นส่วนหนึ่งของอบายภูมิหรือทุคติภูมิ 4 (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกามภูมิ) ประกอบด้วยพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล มีนรกหลายขุมซ้อนทับกันหลานชั้น แต่ละชั้นก็มีนรกบริวารรวมนับร้อยขุม
นิรยภูมิจะแบ่งออกเป็น “มหานรก” ที่มีด้วยกัน 8 ขุมใหญ่ ที่ตั้งซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ และแยกกันอย่างชัดเจนอยู่ลึกลงไปใต้โลกมนุษย์ของเรา มนุษย์ที่ทำกรรมชั่ว เมื่อเสียชีวิตจะลงไปเกิดเป็นสัตว์นรกในชั้นเหล่านี้เพื่อใช้กรรม เรียงจากชั้นบนสุดลงไปยังชั้นล่างสุดได้ ดังนี้
ปอยเปต เป็นเมืองชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งอยู่ที่ตำบลปอยเปต อำเภออูร์ชเรา จังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา อยู่ติดกับอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย ตัวเมืองมีบ่อนกาสิโนเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นผู้ใช้บริการ เนื่องจากการพนันในประเทศไทยผิดกฎหมาย
ข้อมูลจาก : Silapawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม , wikipedia
Advertisement