พายุโนรู แปลว่า กวางโร เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 5 ลำดับที่ 11 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ ส่งโดยประเทศเกาหลีใต้
ในปี 2560 พายุไต้ฝุ่นโนรู เริ่มก่อตัวขึ้นในวันที่ 19 กรกฎาคม และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนวันที่ 23 กรกฎาคม พายุโนรูมีความเร็วลมถึงระดับพายุไต้ฝุ่นและเป็นพายุไต้ฝุ่นลำดับแรกของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ในวันที่ 28 กรกฎาคม พายุโนรูอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน จนในวันที่ 30 กรกฎาคม พายุโนรูเริ่มทวีความรุนแรงและเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสภาพที่เอื้ออำนวย พายุไต้ฝุ่นโนรูทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็วเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกแรกของฤดูกาลในวันที่ 31 กรกฎาคม ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม พายุโนรูมีแนวโน้มอ่อนตัวลงเล็กน้อยในขณะที่โค้งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ หลังจากอยู่เหนือหมู่เกาะซัตสึนังก็อ่อนแรงลงเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้งในวันที่ 5 สิงหาคมหลังจากนั้นพายุเริ่มมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังภูมิภาคคันไซของญี่ปุ่นและขึ้นฝั่งในจังหวัดวากายามะเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม และสลายไปหนึ่งวันหลังจากนั้น
โดย เมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน "พายุโนรู" ฉบับที่ 1 โดยระบุว่า พายุดีเปรสชันบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกหรือด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “โนรู (NORU)” แล้ว และจะเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงทะเลจีนใต้ตอนกลางในช่วงวันที่ 25 - 26 กันยายน 2565 ก่อนจะหลายเป็น "พายุไต้ฝุ่นโนรู” ในวันที่ 25 กันยายน จนทำให้หลายหน่วยงานต้องออกมาเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้
ว่าที่ ร.ต.ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันตชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า แนวการเคลื่อนตัวขณะที่ผ่านทะเลจีนใต้ที่มีโอกาสสะสมพลังจากความชื้นและน้ำในทะเลจีนใต้ เข้าปะทะแนวชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในวันที่ 28 ก.ย.2565 และเคลื่อนตัวผ่านลาว ที่เจอสิ่งกีดขวางที่อาจส่งผลให้พายุอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงเช้ามืดวันที่ 29 ก.ย.
ว่าที่ ร.ต.ธนะสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับผลกระทบของ "พายุโนรู" จะคล้ายกับ "พายุเตี้ยนหมู่" ที่เคลื่อนผ่านไทยเมื่อปี 2564 แต่พายุโนรูมีขนาดและความรุนแรงมากกว่า ซึ่งทำให้มีฝนและลมแรงมากกว่าเตี้ยนหมู่ ซึ่งคาดการณ์ว่า พายุโนรูเข้าสู่ประเทศไทยจากโซนร้อนกลายเป็นดีเปรสชั่น ทำให้การเคลื่อนตัวพายุช้าลง ฝนตกแช่ติดต่อกันประมาณ 3 วัน ดังนั้นพื้นที่มีน้ำจำนวนมาก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ลาดเชิงเขาได้ อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาจะทำการประเมินพายุโนรู เป็นรายชั่วโมงและแจ้งเตือนประชาชน
ข้อมูลจาก : wikipedia ,
Advertisement