Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ชมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ-ขยายพันธุ์ "ต้นเอเดลไวส์" ดอกไม้สายใยรัก ที่โครงการหลวง

ชมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ-ขยายพันธุ์ "ต้นเอเดลไวส์" ดอกไม้สายใยรัก ที่โครงการหลวง

14 ก.ค. 66
21:47 น.
|
491
แชร์

เยี่ยมชมโครงการหลวง 54 ชมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และขยายพันธุ์ของต้นเอเดลไวส์ ดอกไม้สายใยรัก ในพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

13-14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา อมรินทร์ทีวี ออนไลน์ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโครงการหลวง 54 ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่, สวนกุหลาบหลวง ศูนย์ฯ ทุ่งเริง อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ และ อาคารเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวงชนกาธิเบศรดำริ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ชมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และขยายพันธุ์ของต้นเอเดลไวส์ ดอกไม้สายใยรัก ในพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

322456

ปักหมุดที่แรก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ พูดคุยกับ นายศิริชัย แซ่เจียม หัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ บอกว่า ที่นี่เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการหลวงเกี่ยวกับพืชผักและไม้ผลเมืองหนาว มีผลิตผลเด่นที่สร้างรายได้ให้มากมาย อาทิ ผักกาดหอมห่อ กะหล่ำปลีแดง ผักกาดขาวปลี พลับ สาลี่ สตรอว์เบอร์รี และเคปกู้ดเบอร์รี ที่มีผลผลิตตลอดปี รวมถึงได้มีการพัฒนาเรื่องการปลูกพืชผักปลอดภัย โดยการไม่ใช้สารเคมีจึงทำให้ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วประเทศ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

131407

โดยที่นี่ "พลับ" ถือเป็นผลผลิตเด่น พันธุ์พลับที่ปลูกในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ ที่สำคัญได้แก่ พันธุ์ Xichu หรือ P2 เป็นพลับฝาดนำพันธุ์มาจากประเทศไต้หวัน ผลมีรูปทรงเหลี่ยมค่อนข้างแบน ผลผลิตมีคุณภาพดี สีเหลืองสม่ำเสมอทั้งผล หลังจากขจัดความฝาดแล้วเนื้อผลยังรักษาความกรอบได้ดี พันธุ์ Fuyu เป็นพลับหวานนำพันธุ์มาจากหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกกา ผลทรงกลมค่อนข้างแบน มีสีเหลืองพันธุ์ Hyakume เป็นพลับหวาน สีเนื้อไม่คงที่ ดอกที่ผสมเกสรและติดเมล็ดเนื้อจะเป็นสีน้ำตาล รสหวานไม่ฝาด ถ้าไม่ติดเมล็ดเนื้อสีเหลือง ผลพลับจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน นอกจากรับประทานสดแล้ว พลับสามารถนำไปแปรรูปเป็นพลับแห้งได้ พันธุ์ที่ใช้ทำพลับแห้ง ได้แก่ พันธุ์ P1,P3,P4, chiya,Tarenashi และ Nightingde

182933

140448

ไปต่อที่ กลุ่มหัตถกรรมบ้านแม่ป่าเกียะของชนเผ่าปกาเกอะญอ ต่อด้วยสวนกุหลาบหลวง ศูนย์ฯ ทุ่งเริง อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งรวบรวมและเรียนรู้สายพันธุ์กุหลาบ กว่า 200 สายพันธุ์ เช่น Miniature Roses, Midnight Blue Rose, Pink Peach Rose และ Bevelry Rose เป็นต้น รวมทั้งมีการจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม จากผลผลิตโครงการหลวงทุ่งเริง อาทิ สัมตำอะโวคาโด ขนมจีนน้ำยา ปลาเทร้าต์ น้ำผักโครงการหลวงปั่น น้ำกุหลาบ รวมทั้งเค้กและไอศกรีมอะโวคารสชาติอร่อย

273045

702902

ปิดท้ายที่ ชมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และขยายพันธุ์ของต้นเอเดลไวส์ ราชินีดอกไม้แห่งเทือกเขาแอลป์ หรือ ดอกไม้สายใยรัก ในพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี  ที่อาคารเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวงชนกาธิเบศรดำริ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ อาคารปฏิบัติการเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ เก็บรักษาพันธุ์พืช ผลิตพืชปลอดโรค พัฒนางานอณุชีวโมเลกุลทางการเกษตร รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

ผลงานสำคัญที่ผ่านมาของโครงการหลวงในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเกิดประโยชน์ในภาพรวมของการเกษตรของประเทศไทย คือ การผลิตต้นแม่พันธุ์มันเทศปลอดโรคไวรัส ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้สามารถแก้ปัญหาโรคไวรัสในมันเทศ ที่เกิดจากการใช้ยอดพันธุ์จากต้นแม่ซ้ำๆ เป็นเวลานานนอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อลดการนำเข้า เก็บรักษา และเพาะขยายพันธุ์พืชพระราชทาน พันธุ์พืชเพื่อการวิจัยและพัฒนาอาชีพเกษตรกร รวมทั้งพันธุ์พืชในการปลูกสร้างป่าในโครงการสวมหมวกให้ดอยของโครงการหลวง

700273

713527

สำหรับ "ต้นเอเดลไวส์" โครงการหลวงได้นำไปวิจัย ทดสอบ ขยายพันธุ์ และปลูกเลี้ยง โดยเริ่มดำเนินการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในสภาพปลอดเชื้อ ที่แผนกเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านพืช มูลนิธิโครงการหลวง และต่อยอดขยายผลสู่งานผลิตของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ขยายพันธุ์โดยการทดลองผสมเกสรดอกเอเดลไวส์จากในแปลงจนติดเมล็ด ทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่มีรากแข็งแรง สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้ดี

712182

ปัจจุบันงานวิจัยและพัฒนาไม้ดอกร่วมกับงานผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพร ได้วิเคราะห์สารสำคัญเบื้องต้นในส่วนของต้น ใบ ดอก และรากของเอเดลไวส์ พบสารสำคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ ฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ แทนนิน และสเตอรอยด์ ซึ่งจะได้มีการศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นสารสกัดสามารถนําไปต่อยอด เพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร และเวชสำอางต่อไปในอนาคต จบวันด้วยรับประทานอาหารเย็น ณ ร้านครัวโครงการหลวง

360820

875030

Advertisement

แชร์
ชมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ-ขยายพันธุ์ "ต้นเอเดลไวส์" ดอกไม้สายใยรัก ที่โครงการหลวง