หนุ่มแชร์ประสบการณ์ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ (stroke) ในวัย 27 ปี เกือบเป็นอัมพาตตลอดชีวิต
18 กรกฎาคม 2566 ผู้ใช้ Tiktok รายหนึ่งโพสต์เรื่องราวประสบการณ์ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบในวัย 27 ปี ที่เกือบทำเอาเป็นอัมพาตตลอดชีวิตโดยเรื่องราวระบุว่า
“ผมเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือที่เรียกว่า stroke ในวัย 27 ปีเท่านั้น และเกือบเป็นอัมพาตไปตลอดชีวิต โรคหลอดเลือดสมองตีบมักจะเกิดคนในวัย 45 ปีขึ้นไป แต่ของผมเกิดตอนอายุ 27 ปี
เคสของผมไม่สามารถระบุสาเหตุได้ จึงต้องทานยาไปตลอดชีวิต ช่วงนั้นผมทำงานที่กรุงเทพ ฯ เริ่มมีอาการช่วงเช้าก่อนไปทำงาน มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ปากเบี้ยว ไม่สามารถทรงตัวได้ ผมคลานออกมาจากบ้านเพื่อจะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน
พี่ๆ ในหมู่บ้านก็ช่วยเรียกรถพยาบาลเพื่อนำผมไปส่งที่โรงพยาบาล เมื่อไปถึงโรงพยาบาลคุณหมอได้ให้ยาสลายลิ่มเลือด แต่ว่ายาไม่ตอบสนอง หมอก็ได้ทำ MRI หมอก็ได้ใส่สายสวนลากลิ่มเลือด ด้วยวิธีการนี้จึงไม่ได้ผ่าเปิดกะโหลก ถึงหมอจะไม่ระบุสาเหตุนะครับ แต่ผมคิดว่าสาเหตุหนึ่งมาจากงานที่ผมทำอยู่ด้วย รายได้อาจจะดีนะครับ แต่ต้องแลกกับความกดดันตลอดเวลา ดื่มเหล้าค่อนข้างบ่อย พักผ่อนน้อยและนอนดึกเป็นประจำ อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมเป็น stroke
อาการหลังเป็น ผมจะมีอาการชาที่มือด้านขวา เขียนหนังสือก็ลำบาก และที่สำคัญผมอ่านหนังสือไม่ออก ผมต้องหัดอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ แล้วก็คิดเลขใหม่ ใช้เวลาพักฟื้นกว่า 3-4 เดือน"
@phumitad เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบตอนอายุแค่ 27 ปีเท่านั้น #หลอดเลือดตีบในสมอง #เส้นเลือดสมองตีบ #เส้นเลือดสมองตีบ #อัมพาต #สุขภาพดี ♬ original sound - moody
โดยข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เผยว่า โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก
ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีหลายสาเหตุ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้มักมีสาเหตุจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้
เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น
อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (transient ischemic attack: TIA) อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป
การป้องกันเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด และควรป้องกันก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น
ผู้ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันแล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามผลและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้ามีการใช้ยาผิด ประมาทเลินเล่อ หรือไม่มีการติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป
ข้อมูลจากโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Advertisement