ผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนเล่นน้ำบางแสน ระวังสารพิษในสาหร่ายบลูม
นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก เตือน กรณีการเล่นน้ำที่มีสาหร่ายบลูมในทะเลชายหายบางแสน จ.ชลบุรี โดยระบุว่า เล่นน้ำบางแสนช่วงนี้ ระวังสารพิษจากสาหร่ายบลูมในทะเล
1.แพลงก์ตอนบลูมในทะเลบางแสนทำให้น้ำทะเลมีสีเขียวขุ่นส่วนหนึ่งมาจากการเติบโตของสาหรายสีน้ำเงินแกมเขียวอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีเซลล์คล้ายแบคทีเรียเรียกว่า "cyanobacteria"สามารถผลิตสารพิษออกมาหลายชนิดเรียกว่า "cyanotoxins" ซึ่ง หากลงไปเล่นสัมผัสน้ำ,กินน้ำหรือหายใจเข้าไปอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้โดยอาจทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง, อาเจียน,วิง เวียนหัว,เกิดอาการระะคายเคืองต่อตาและผิวหนัง ,เกิดภูมิแพ้, หายใจลำบาก เป็นต้น
2.สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจะสร้างสารพิษ ได้แก่ อานาทอกซิน และนีโอซาซิทอกซินซึ่งจะมีผลต่อระบบประสาท และทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้าและอ่อนแรง รวมทั้งยังสร้างสารพิษที่มีผลต่อระบบการทำ งานของตับ มี 2 ชนิด ได้แก่ ไมโครซิสติน และโนดูลาริน ซึ่งเซลล์ตับจะถูกสารพิษนี้เข้าไปทำลาย มีผลต่อระบบการควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ อีกทั้งยังไปยับยั้งต่อระบบการทำงานของเอนไซม์ได้ด้วย
3.ลงไปเล่นน้ำหรือกินอาหารทะเลไม่สุกในช่วงแพลงก์ตอนบลูมช่วงนี้อาจได้รับสารพิษ cyanotoxinsจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวได้ จึงไม่ควรลงไปเล่นสัมผัสซึ่งปรากฎการณ์สาหร่ายสะพรั่ง ดังกล่าวจะเกิดประมาณ 1 สัปดาห์แต่สารพิษจะสะสมอยู่ประมาณ 3 สัปดาห์
ขอบคุณภาพ เพจชอบจังบางแสน
Advertisement