Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
รู้จัก โรคหัวใจขาดเลือด หากปล่อยให้รุนแรง อาจถึงขั้นกล้ามเนื้อหัวใจตายจนเสียชีวิต

รู้จัก โรคหัวใจขาดเลือด หากปล่อยให้รุนแรง อาจถึงขั้นกล้ามเนื้อหัวใจตายจนเสียชีวิต

22 ส.ค. 66
14:29 น.
|
1.2K
แชร์

รู้จัก โรคหัวใจขาดเลือด หากปล่อยให้รุนแรง อาจถึงขั้นเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย จนเสียชีวิต

โรคหัวใจขาดเลือด เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน จากการที่หลอดเลือดเกิดการแข็งตัว มีไขมันสะสมอยู่ในผนังของหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดเดินทางไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ลดลง เป็นผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ อาจรุนแรงถึงขั้นเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากเกร็ดเลือดและลิ่มเลือดอุดตันอีกด้วย

อาการของภาวะหัวใจขาดเลือด

เจ็บแน่นหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะออกแรง พักแล้วดีขึ้นโดยจะรู้สึกแน่นๆ อึดอัดบริเวณกลางหน้าอก ลิ้นปี่ หรือค่อนมาทางซ้าย เจ็บลึกๆ หายใจไม่สะดวก อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด บางรายนอกจากแน่นหน้าอกแล้ว ยังอาจเจ็บร้าวไปที่หัวไหล่ แขน หรือ คอ ซึ่งอาการเหล่านั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำงานหนัก การออกกำลังกายอย่างหักโหม การมีเพศสัมพันธ์ หรือ เมื่อมีอารมณ์โกรธ โมโห ตื่นเต้น ตกใจ หรือแม้กระทั่งการอาบน้ำเย็น หรือ อยู่ในอากาศเย็นที่เย็นมากก็เช่นกัน

สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด

มักจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อก็จะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้มากกว่าผู้อื่น และมักมีความรุนแรง ของโรคมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

1. เพศชาย หรือเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด มากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า
2. สูบบุหรี่
3. ไขมันในเลือดสูง (โคเลสเตอรอลรวม หรือโคเลสเตอรอลแอล ดี แอล ชนิดร้าย)
4. ไขมันโคเลสเตอรอล เอช ดีแอล (ชนิดดี) ต่ำ
5. โรคความดันโลหิตสูง
6. โรคเบาหวาน
7. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะน้ำหนักเกิน และไม่ชอบออกกำลังกาย
8. มีบุคลิกภาพเจ้าอารมณ์ โกรธ โมโหง่าย เครียดเป็นประจำ
9. มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดของคนในครอบครัว

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด

1. การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่สำคัญ เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น
2. การรักษาด้วยการใช้ยา ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรง เช่น ยาเพื่อช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก ยาเพื่อใช้สลายลิ่มเลือด
3. การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยบอลลูน เพื่อที่จะดันหลอดเลือดที่ตีบให้ขยายออกจะได้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น
4. การรักษาโดยการผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจใหม่ โดยการใช้หลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำที่ขา มาต่อหลอดเลือดหัวใจ เพื่อเพิ่มทางเดินของเลือดที่จะมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น

Advertisement

แชร์
รู้จัก โรคหัวใจขาดเลือด หากปล่อยให้รุนแรง อาจถึงขั้นกล้ามเนื้อหัวใจตายจนเสียชีวิต