“ภาษี” ความหมาย ใครได้ผลประโยชน์
จากกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะ กว่า 50 ชีวิต ต้องบินเดินทางไปร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 "UNGA78" ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 18-26 กันยายน 2566 ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์การใช้งบประมาณในการเหมาลำเครื่องบินสูงถึง 30 ล้านบาท และกรณีของนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯคนที่ 1 พร้อมกับ สส.พรรคก้าวไกล และ สส.พรรคเพื่อไทย รวม 12 ชีวิต เบิกงบประมาณ 1.3 ล้านบาท เพื่อเดินทางไปยังสาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อศึกษาดูงานด้านระบบสารสนเทศการประชุมของรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ การบริหารจัดการแรงงานของคนไทยในสาธารณรัฐสิงค์โปร์ และการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในวันที่ 21-25 กันยานยน 2566 โดยจากทั้ง 2 กรณี ทำให้ แฮชแท็ก #ภาษีกู ติดเทรนโซเชียลในช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้
วันนี้ ทีมข่าวอมรินทร์ทีวี ออนไลน์ จะพาไปดูความหมายและที่มาของคำว่า “ภาษี” มีกี่ประเภท ใครต้องเสียภาษีอย่าง เพื่อจะได้ทำความเข้าใจกับภาษีมากยิ่งขึ้น
ภาษี (Tax) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 หมายถึง เงินที่มีกฎหมายกำหนดให้รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคลในเหตุต่าง ๆ เช่น การมีรายได้ การมีทรัพย์สิน การประกอบกิจการ การบริโภค เพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศหรือท้องถิ่น หรือหากอ้างอิงจาก iTAX “ภาษี” หมายถึง ภาระที่ประชาชนมีหน้าที่ต้องนำส่งให้ภาครัฐตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อสนับสนุนรัฐและกิจการของรัฐ
ประชาชนสามารถแบ่งภาษีออกเป็น 2 ประเภท แบบง่าย ๆ ได้แก่
ภาษีในประเทศไทยอาจสืบย้อนไปได้ไกลถึงยุคสุโขทัย โดยศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งเป็นยุคที่ต้องมีการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน ผู้แพ้สงครามจะต้องส่งทรัพย์สินและผู้คนเป็นเครื่องบรรณาการมอบให้กับผู้ชนะสงคราม โดยอาจถือว่าเป็นการจัดเก็บภาษีรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ยังมี "จังกอบ" ซึ่งเป็นภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากพ่อค้าที่นำสินค้าเข้ามาขายในสุโขทัย
ในปัจจุบัน รัฐอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการจัดเก็บภาษีจากประชาชน โดยกรมสังกัดกระทรวงการคลังเป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลจัดเก็บ ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร
“ภาษี” เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับจัดเก็บรายได้ของประเทศ เพื่อใช้จัดการระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ “ภาษี” ยังสะท้อนนโยบายการคลังของภาครัฐ รวมถึงสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม โดยการเสียภาษีของประชาชน สุดท้ายผลจะย้อนกลับมายังประชาชน ผ่านการบริหารเงินของรัฐ
Advertisement