ในช่วงฝนตกแบบนี้ นอกจากจะสัญจรเดินทางลำบากแล้ว ยังเสี่ยงต่อการป่วยเป็นหวัด โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ ซึ่งระบาดในช่วงฤดูฝนมากกว่าฤดูหนาว จากสถิติกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ป่วยจากไข้หวัดใหญ่สะสม จำนวน 216,600 คน และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 7 คน ดังนั้นการดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่แพ้การวางแผนการเดินทางในช่วงหน้าฝน
ไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) โดยไข้หวัดใหญ่ที่แพร่กระจายในคนมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ได้แก่
สายพันธุ์ที่ระบาดทั่วไป คือ สายพันธุ์ A และ B ซึ่งไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ที่พบบ่อย คือ H1N1, H3N2 ส่วนไข้หวัดสายพันธุ์ B ที่พบบ่อย คือ สายพันธุ์ Victoria, Yamagata ส่วนสายพันธุ์ C หากติดเชื้อ มักจะไม่แสดงอาการ จึงทำให้ไม่เกิดแพร่การระบาด
หรืออาจสามารถแยกไข้หวัดใหญ่ในออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
ไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการที่รุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา อาการมักเกิดขึ้นทันทีแบบไม่ทันได้ตั้งตัว โดยผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ มักมีไข้สูงติดต่อกันหลายวัน อาจมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย ต่างจากไข้หวัดธรรมดา ที่ผู้ป่วยมักจะค่อย ๆ แสดงอาการ มีไข้แต่ไม่สูงมากนัก
ทั้งนี้ ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ ได้แก่ ปอดอักเสบ (หากผู้ป่วยเป็นโรคปอดหรือถุงลมโป่งพอง อาการจะยิ่งรุนแรง) หลอดลมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัส และเยื้อหุ้มสมองอักเสบ (ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ) มักเกิดกับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต โรคเอดส์
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่คล้ายกับการติดเชื้อไข้หวัดทั่วไป สามารถติดต่อผ่านการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วยเข้าไป รวมถึงการสัมผัสมือหรือการใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย โดยการแพร่ระบาดเกิดขึ้นได้ง่ายในพื้นที่แออัด ซึ่งผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการ
โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคใกล้ตัว ซึ่งแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ดังนั้นควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี ตรวจสอบว่าเข้าข่ายเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไม่ เพื่อรักษาและป้องกันไม่แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถพักรักษาตัวที่บ้านได้ แต่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนควรไปพบแพทย์โดยทันที การใช้ยาต้านไวรัสจะช่วยให้หายป่วยได้เร็วขึ้นและป้องกันอาการไม่ให้ทรุดหนัก แต่ผู้ป่วยควรได้รับยาภายใน 48 ชั่วโมง หลังเริ่มป่วย ซึ่งจะได้ผลการรักษาที่ดีกว่าได้ยาหลัง 48 ชั่วโมง ไปแล้ว
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่อาการไม่รุนแรง ปกติอาจจะมีอาการราว 7-10 วัน สามารถพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ โดยต้องดูแลตัวเองดังนี้
การพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ หากผู้ป่วยยังมีอาการไม่มากและยังพอกินอาหารได้ ให้กินยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก พร้อมกับการเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำอุณภูมิปกติ
ถึงแม้ว่าไข้หวัดใหญ่จะสามารถหายเองได้ แต่ถ้าหากละเลยไม่ใส่ใจ ก็อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต อีกทั้งยังเพิ่มการแพร่ระบาดไปสู่ผู้อื่น ดังนั้นหากมีอาการป่วยควรสังเกตและดูแลตัวเองให้ดี และควรปรึกษาแพทย์
Advertisement