ที่งานประชุมต่อต้านการหลอกลวง ASAS "ธัชชัย ปิตะนีละบุตร" เผยเอเชียกำลังเผชิญปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ จนก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นปัญหาระดับประเทศ ล่าสุดไทยจัดตั้งศูนย์ AOC ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามโจรออนไลน์อย่างบูรณาการ และทันเวลา
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา ที่งานประชุมต่อต้านการหลอกลวง Anti-Scam Asia Summit (ASAS) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมในการประชุมและอภิปราย ในหัวข้อ Private Public Collaboration : The Possibilities & the Roadblocks ร่วมกับเจ้าหน้าที่ หน่วยงานความปลอดภัยไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และนิวซีแลนด์ด้วย
พล.ต.ท.ธัชชัย เผยถึงการเข้าร่วมงานประชุม ASAS ครั้งนี้ว่า เราต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการแก้ไขปัญหาเรื่องอาชญากรรมออนไลน์ และได้เห็นภาพรวมด้วยว่า แต่ละประเทศมีปัญหาเรื่องอาชญากรรมออนไลน์เป็นอย่างไรบ้าง ก็พบว่า ปัญหาที่ประเทศไทยพบที่กำลังเผชิญในปัจจุบันก็เหมือนกับทั่วโลก แต่ก็มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยในเชิงความเสียหาย
พล.ต.ท.ธัชชัย กล่าวต่อว่า ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ หรือ Anti Online Scam Operation Center (AOC) แบบ One Stop Service สำหรับประชาชน เพื่อใช้ติดตามสถานการณ์ สั่งการ และปฏิบัติการป้องกันปราบปรามโจรออนไลน์อย่างบูรณาการ และทันเวลา
"ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์มีการก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นปัญหาระดับประเทศ และเป็นปัญหาที่ต้องการการจัดการที่รวดเร็ว และสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด คือข้อมูล และความเร็ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลคนไทยในการใช้โทรศัพท์ หรือบัญชีธนาคารต่างๆ ตรงนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นใจความสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้" พล.ต.ท.ธัชชัย กล่าว
อย่างไรก็ดี Jeff Kuo ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ที่สามารถระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก เพื่อรู้ทันสายมิจฉาชีพ สำหรับสมาร์ทโฟน ในฐานะ พันธมิตรองค์กร GASA (The Global Anti-Scam Alliance) และผู้ร่วมจัดงานประชุม ASAS ได้เผยคะแนนความเชื่อมั่นในความมั่นใจเกินเหตุ จนนำไปสู่ความผิดพลาด ดังนี้ อันดับ 1 อินโดนีเซีย 80 คะแนน, จีน 78.6 คะแนน, ฟิลิปปินส์ 74 คะแนน, ไต้หวัน 67.1 คะแนน, เกาหลีใต้ 61.3 คะแนน และ อันดับ 6 ประเทศไทย 63.3 คะแนน ตามลำดับ และยังพบช่องทางที่ใช้ในการหลอกลวงเหยื่อ
ในส่วนของดิจิทัลแพลตฟอร์ม ยังพบว่า เฟซบุ๊ก 47.3%, Line 40.4%, Gmail 10.6%, Instagram 6.1% และ google 5.1% ที่อาชญากรรมใช้ในการหลอกเหยื่อทางออนไลน์ มากที่สุดตามลำดับ
ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น พล.ต.ท.ธัชชัย กล่าวถึงแนวทางการในการป้องกันว่า
พล.ต.ท.ธัชชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า ส่วนตัวเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ เข้าใจเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่ต้องทำควบคู่กันไปคือ กฎหมาย PDPA "ปัจจุบันประชาชนมีความรู้ แต่เสียรู้ตอบกลับข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไปโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นเลขบัตรประชาชน, เส้นทางธุรกรรม, ทำอะไรที่ไหนเมื่อไร, บอกจนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น" บางทีประชานก็รู้ตัวแต่เพราะความไม่แน่ใจ เลยตกเป็นเหยื่อได้ง่าย
เมื่อถามว่า ในวงการตำรวจมีเจ้าหน้าที่โดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงหรือไม่ ? พล.ต.ท.ธัชชัย ตอบว่า มีครับ หมอโรพยาบาลตำรวจโดนไป 2 ล้านกว่าบาท และตำรวจที่เกษียณแล้ว แต่ในหน้าที่ยังไม่พบ "ผมเองยังรับโทรศัพท์จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทุกอาทิตย์ เขาบอกให้ผมไปคุยกับตำรวจเชียงราย ซึ่งเรารู้ข้อมูลส่วนตัวผมหมดเลย ผมก็คุยนะ เพราะผมต้องการรู้ข้อมูลจากแก๊งคอล" แต่ฝากบอกพี่น้องคนไทย ไม่ควรคุยเล่นกับแก๊งคอล เนื่องจากมีความเสี่ยงจะถูก AI จับ และนำไปหลอกเหยื่อท่านอื่นเพิ่ม ทางที่ดีควรตัดสายทิ้งไปเลย.
Advertisement