โรคบูลิเมีย หรือ โรคล้วงคอ พฤติกรรมผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ มักเกิดกับคนที่กังวลเรื่องรูปร่างและน้ำหนัก อันตรายถึงชีวิต
โรคบูลิเมีย หรือ โรคล้วงคอ พฤติกรรมผิดปกติที่เกิดขึ้นกับทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยหลังรับประทานอาหารเข้าไปแล้วผู้ป่วยมักรู้สึกผิดและกลัวอ้วน อีกทั้งยังมีความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตัวเองทำให้ต้องพยายามกำจัดอาหารที่พึ่งกินเข้าไปออกมาโดยการ "ล้วงคอ" ให้ตัวเองอาเจียน ออกกำลังกายอย่างหนัก ใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ รวมทั้งอาจอดอาหารและจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทานด้วย ซึ่งโรค Bulimia เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่นเพศหญิง
สาเหตุของโรค ในทางการแพทย์ยังไม่มีระบุไว้อย่างแน่ชัดว่า โรคบูลิเมีย เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่โรคนี้อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกัน โดยพบว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางร่างกาย อารมณ์ สังคม หลายประการ เช่น ความไม่มั่นใจในตัวเอง ความผิดปกติทางจิตเวช ภาวะซึมเศร้า อาการย้ำคิดย้ำทำ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบางอย่างที่อาจทำให้มีโอกาสเกิด Bulimia มากขึ้น ได้แก่ การมีประวัติความผิดปกติของการรับประทานอาหารในครอบครัว มีเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์ เช่น การหย่าร้างหรือปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว การได้รับอิทธิพลจากสื่อ การมีภาวะเบื่ออาหารหรือเคยลดน้ำหนักมากๆ มาก่อน และการป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1
ในการรักษาโรค Bulimia นั้น อาจจำเป็นต้องใช้วิธีรักษาร่วมกันมากกว่า 1 วิธี ซึ่งการรักษาด้วยการฟื้นฟูสภาพจิตร่วมกับการใช้ยาต้านเศร้า และการให้ความร่วมมือกับแพทย์ นักจิตบำบัด เพื่อน และครอบครัว อาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาโรคนี้
โดยโรค Bulimia สามารถรักษาและบำบัดได้ ดังนี้
จิตบำบัด เป็นวิธีรักษาด้วยการพูดคุยบำบัดทางจิตกับผู้ให้คำปรึกษาพิเศษหรือจิตแพทย์ ซึ่งวิธีจิตบำบัดที่ใช้รักษาโรค Bulimia มีดังนี้
การใช้ยารักษา การใช้ยาต้านเศร้าควบคู่กับการพูดคุยบำบัดทางจิตอาจช่วยลดอาการของโรค Bulimia ได้ โดยยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรค Bulimia คือ ยาฟลูอ็อกซีทีน (Fluoxetine) ซึ่งเป็นยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors)
โภชนศึกษา แพทย์และนักโภชนาการอาจช่วยวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีน้ำหนักตัวเป็นปกติ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดี และได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังได้รับคำแนะนำในการลดน้ำหนักอย่างปลอดภัยอีกด้วย
การรักษาในโรงพยาบาล แม้ว่าผู้ป่วยโรค Bulimia อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเสมอไป แต่กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากและมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาทันที
การได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน การล้วงคออาเจียน และการใช้ยาระบายเป็นประจำ อาจทำให้เสี่ยงเกิดภาวะขาดสารอาหารและภาวะแทรกซ้อนได้หลายประการ ดังนี้
การอยู่ในยุคที่สื่อต่าง ๆ เผยแพร่ค่านิยมความผอมและรูปร่างที่ผิดไปจากความเป็นจริงอาจทำให้วัยรุ่นหมกมุ่นอยู่กับมายาคติในการมีรูปร่างที่ดี ดังนั้น นักวิชาการและผู้ปกครองควรกระตุ้นให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อรูปร่างของตนเอง และทำความเข้าใจว่าการมีน้ำหนักที่เหมาะสมนั้นไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างที่ผอมเสมอไป เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้
ข้อมูลจาก : pobpad, healthpromcornwall, krabinakharin
Advertisement