Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
แร่ลิเทียม คืออะไร หลังไทยประกาศพบแหล่งใหญ่ 14 ล้านตัน สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก

แร่ลิเทียม คืออะไร หลังไทยประกาศพบแหล่งใหญ่ 14 ล้านตัน สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก

19 ม.ค. 67
14:21 น.
|
4.6K
แชร์

แร่ลิเทียม คืออะไร หลังไทยประกาศพบแหล่งใหญ่ 14 ล้านตัน สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก จุดประกายความหวังเป็นเรือธงให้ไทยเป็นแหล่งผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

จากกรณีที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้เปิดเผยว่า ประเทศไทยสำรวจพบ แร่ลิเธียมกว่า 14,800,000 ล้านตัน ใน 2 แหล่งของจังหวัดพังงา ได้แก่ แหล่งเรืองเกียรติ และแหล่งบางอีตุ้ม ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่ค้นพบแร่ลิเทียมมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากโบลิเวีย (21 ล้านตัน) และอาร์เจนตินา (19 ล้านตัน) นับว่าเป็นข่าวดีต่อภาพรวมอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากแร่ลิเทียมเป็นแร่หลักหรือวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) 100%

แร่ลิเทียม คืออะไร

แร่ลิเทียม (Lithium) เป็นธาตุของแข็งที่เบาที่สุดในบรรดาโลหะทั้งหมด มีความหนาแน่นเพียงครึ่งเท่าของน้ำ ซึ่งลิเทียมโลหะสีเงิน จะมีความอ่อนนิ่มมากจนตัดด้วยมีดที่คมได้ ลิเทียมที่อยู่ในรูปโลหะบริสุทธิ์จะติดไฟได้ง่ายและระเบิดได้ค่อนข้างง่าย เมื่อแตะกับอากาศ และโดยเฉพาะกับน้ำ ไฟจากลิเทียมนั้นดับได้ยาก

ลิเทียมสามารถนำไปผลิตแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ (Rechargeable Battery) ซึ่งแบตเตอรี่เหล่านี้ถูกนำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า และสมาร์ทโฟน (Smartphone) นอกจากนั้นลิเทียมยังถูกนำไปใช้ในการผลิตเซรามิกและแก้ว และการผลิตจารบี เป็นต้น

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ระบุว่า ในปัจจุบันวัตถุดิบที่นิยมนำมาผลิตแบตเตอรี่คือ ลิเทียม ซึ่งมี 2 ประเภทคือ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และแบตเตอรี่ลิเทียมโลหะ เนื่องจากลิเทียมเป็นวัตถุดิบที่ให้คุณภาพสูงเมื่อนำมาผลิตเป็นแบตเตอรี่ และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ (Rechargeable Battery)

แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery) เริ่มใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) โดยนิยมใช้กับโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก แบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องมีการเก็บประจุไฟมาก อาทิ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น หุ่นยนต์เช็ดกระจก หุ่นยนต์ตัดหญ้า อีกทั้งแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนมีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เช่น รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า คุณสมบัติหลักของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน คือ การจ่ายไฟที่แรง และคงที่อยู่ตลอดเวลา แม้ในขณะแบตเตอรี่ใกล้จะหมด เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ชนิดอื่นกับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนนั้นพบว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนสามารถชาร์จได้เร็วกว่า ใช้งานได้นานกว่า และมีความหนาแน่นของพลังงานที่สูงกว่า จึงทำให้มีระยะเวลาการใช้งานที่นานขึ้นในน้ำหนักที่เบาลง อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในระยะที่เต็มประสิทธิภาพ จะอยู่ระหว่าง 1.0-1.5 ปีขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งานว่ามากหรือน้อย รวมไปถึงการดูแลรักษา และหลังจากนั้นก็จะเสื่อมลง และถึงแม้ว่าเราจะเก็บแบตเตอรี่ชนิดนี้เอาไว้เฉยๆ โดยไม่ได้ใช้งานอะไรเลย แบตเตอรี่ก็สามารถเสื่อมประสิทธิภาพลงได้

Advertisement

แชร์
แร่ลิเทียม คืออะไร หลังไทยประกาศพบแหล่งใหญ่ 14 ล้านตัน สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก