อิทธิพลครอบครัวและสังคม กุญแจสำคัญช่วยไขกับดักการศึกษาเด็กไทย?
แม้ว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจะเกิดจากแรงกดดันด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่เศรษฐฐานะหรือเศรษฐกิจเชิงสังคมที่ดีขึ้นเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้รับประกันว่าเด็กและเยาวชนจะสามารถคงอยู่ในระบบการศึกษา หรือมีผลลัพธ์การเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ เนื่องจากบริบทแวดล้อมทางครอบครัวและสังคมได้เข้ามามีบทบาทต่อพฤติกรรม อารมณ์และทัศนคดิของพวกเขามากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเส้นทางเดินทางการศึกษา แต่ยังส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการเรียนรู้อีกด้วย เด็กหนึ่งคนโดยเฉพาะกลุ่มที่มาจากครัวเรือนยากจนและยากจนพิเศษ ต้องเผชิญกับปัญหาทับซ้อนกันในหลายมิติ ได้แก่
- สถานภาพครัวเรือนที่เปราะบาง เกือบครึ่งหนึ่งของนักเรียนยากจนพิเศษ (ชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3) เติบโตมาในครอบครัวแหว่งกลางหรือข้ามรุ่น (เด็กอาศัยอยู่ร่วมกับปู่ย่าตายาย) กลุ่มดังกล่าวไม่ได้รับความอบอุ่นและการเอาใจใส่จากครอบครัวอย่างเต็มที่ และส่งผลต่อพัฒนาการด้านร่างกายทางอารมณ์ และการเรียนรู้ของเด็กตามมา สัดส่วนนักเรียนยากจนพิเศษจากครัวเรือนแหว่งกลางดังกล่าว ยังสอดคล้องกับข้อมูลภาระพึ่งพิงที่ชี้ว่า ครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษกว่าร้อยละ 40 มีผู้สูงอายุเกิน 60 ปีในครอบครัว นอกจากนี้ หลายครัวเรือนยังต้องเผชิญภาระพึ่งพิงในมิติอื่นเพิ่มเติม กล่าวคือ ร้อยละ 37 มีรายได้หลักจากการพึ่งพิงรัฐสวัสดิการ ร้อยละ 35 มีคนว่างงานอยู่ในครัวเรือนและอีกร้อยละ 10 ต้องดูแลคนพิการหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
- กับดักความคิดของผู้ปกครองในเรื่องการศึกษาและรายได้ ผู้ปกครองของนักเรียนยากจนพิเศษ (ชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3) ร้อยละ 66 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีเพียงร้อยละ 20 ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 13 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และไม่ถึงร้อยละ 1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า อีกทั้งผู้ปกครองจากครัวเรือนยากจนส่วนใหญ่ยังติดกับดักความคิดที่ว่าการศึกษาไม่สามรถเปลี่ยนแปลงอนาคตให้ดีกว่าเดิมได้ และการจบการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไม่ได้เพิ่มฐานรายได้ไปมากกว่ารายได้ขั้นต่ำที่รัฐกำหนด ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อทัศนคติของผู้ปกครองในการสนับสนุนการศึกษาหรือการเรียนรู้ของบุตรในระยะยาว และอาจนำไปสู่การปิดกั้นกรอบความคิดแบบเติบโตของเด็กและเยาวชน
- ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต ด้วยพื้นฐานครัวเรือนที่มีสภาพเปราะบางและบกพร่องในหลายมิติเป็นทุนเดิม เด็กและเยาวชนยากจนและยากจนพิเศษบางส่วนไม่สามารถข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพหรือระบบส่งเสริมการศึกษา และต้องก้าวผ่านแต่ละช่วงวัยในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เช่น สภาพบ้านที่แร้นแค้น และการเข้าไม่ถึงแหล่งน้ำดื่มสะอาด อันส่งผลให้พัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาไม่เป็นไปตามเกณฑ์หรือสมวัย และร่างกายไม่แข็งแรงหรือสมบูรณ์ ปัญหาพัฒนาการดังกล่าวพบได้ตั้งแต่เด็กปฐมวัย (อายุ 0-6 ปี) ซึ่งรายงานสถานการณ์พัฒนาการสงสัยล่าซ้าของกรมอนามัย สะท้อนให้เห็นว่า ในปี 2562-2565 เด็กปฐมวัยมีความเสี่ยงเรื่องพัฒนาการมากกว่าวัยอื่น โดยเฉพาะในด้านการใช้ภาษาและด้านเข้าใจภาษา แม้ว่าพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและด้านสติปัญญาจะดีขึ้นก็ตาม
นอกจากนี้ เมื่อเด็กก้าวเข้าสู่วัยเรียน (อายุ 6-18 ปี) ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มเติม ทั้งการเจ็บป่วยจนต้องขาดเรียนและภาวะอ้วน อันเกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม วิธีการเลี้ยงดูของครอบครัว การใช้ชีวิตประจำวันของเด็กและการขาดความรอบรู้เรื่องสารอาหาร (food literacy) เป็นสำคัญ
ขณะเดียวกัน ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาวะเสี่ยงซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายในกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 10- 18 ปี อันเกิดจากแรงกดดันจากทั้งสภาพแวดล้อมในครอบครัวและชุมชน เช่น ความรุนแรงในครอบครัวที่ส่วนใหญ่เกิดจากยาเสพติดและสุรา การขาดความอบอุ่นและความใส่ใจจากผู้ปกครองเพราะครัวเรือนมีลักษณะแหว่งกลาง ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยจากการอยู่ในชุมชนที่บกพร่องด้วยคุณภาพชีวิต สังคมภายในโรงเรียน อาทิ การถูกกลั่นแกล้ง การลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์จากทั้งเด็กและเยาวซนวัยเดียวกันหรือจากครู จำนวนครูที่ไม่เพียงพออันส่งผลต่อความเอาใจใส่ต่อนักเรียน และชั่วโมงเรียนที่มากเกินไป ตลอดจนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กดดันให้เกิดความเครียดและการให้ความสำคัญกับการสอบแข่งขัน และ เทคโนโลยีที่เข้ามามีอิทธิพลตั้งแต่การเรียนออนไลน์ในช่วงการแพร่ ระบาดโควิด-19 ทำให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสเข้าถึงสื่อสังคม (social media) มากขึ้น แต่โอกาสก็มาพร้อมความเสี่ยง เพราะการเข้าไปอยู่ในสังคมออนไลน์ทำให้เด็กและเยาวชนเริ่มเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับชีวิตคนอื่นมากขึ้น ตลอดจนต้องการได้รับความสนใจและการยอมรับจากผู้คนในสังคมออนไลน์
ทั้งนี้ ผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไม่เพียงทำให้เด็กและเยาวชนต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 แต่ยังส่งผลให้วิกฤตด้านสุขภาพจิตรุนแรงยิ่งขึ้น กล่าวคือ นักเรียนมีภาวตึงเครียดสะสมมาตั้งแต่ช่วงเรียนออนไลน์ระหว่างการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ทำให้เด็กและเยาวซนขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนานจนก่อให้เกิดเป็นพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม เป็นความเครียด กดดัน และความกลัวเมื่อต้องกลับเข้ามาเรียนร่วมกับเพื่อนในสถานศึกษาอีกครั้ง ตลอดจนปัญหาเรื่องสมาธิ
- ปัญหาทางสังคม ความซับซ้อนหลากหลายของปัญหา ไม่ว่าจะเป็นความด้อยโอกสของครัวเรือน ความเปราะบางของครัวเรือน ทัศนคติของผู้ปกครอง และสุขภาวกายและใจล้วนแล้วแต่มีผลต่อกันและกัน ได้ถูกฉายออกมาเป็นประเด็นปัญหาสังคมที่สำคัญ เช่น ปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะฐานความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของการกระทำความผิด ทั้งหมดของเด็กและเยาวซนในสถานพินิจ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาเสพติดของเด็กและเยาวซน ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ตั้งแต่ระดับชุมชนที่มีแหล่งซื้อขายยาเสพติด ระดับครอบครัวและบุคคลรอบข้างที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และระดับตัวเด็กและเยาวชนเอง ที่ต้องเผชิญกับการหลุดออกนอกระบบการศึกษา มีพฤติกรรมเลียนแบบการสูบบุหรี่และดื่มสุรา และมีความเชื่อเชิงบวกต่อการเสพยาเสพติด ตลอดจนถูกตีตรามาจากการถูกกล่าวหาจากบุดคลรอบข้างว่ามีพฤติกรรมการเสพยาเสพติดจนตัดสินใจทำตามข้อกล่าวหานั้น นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เยาวชนต้องออกจากระบบการศึกษาก่อนเวลาอันควร การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เป็นปัญหาที่พบมากในกลุ่มเยาวซนอายุ 18-25 ปี และพบมากขึ้นในกลุ่มอายุต่ำกว่า 18 ปี ส่งผลให้เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเพศหญิง ต้องเลิกเรียนกลางคันหรือออกจากระบบการศึกษาก่อนกำหนดเพื่อมาดูแลบุตรหรือทำงานเพื่อส่งเสียบุตร ทั้งนี้การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ดังกล่าวคือหนึ่งต้นตอสำคัญของปัญหาเยาวซน (อายุ 15-24 ปี) ที่ไม่อยู่ในระบบการศึกษา การจ้างงาน หรือการฝึกอบรม ซึ่งกว่าร้อยละ 70 เป็นผู้หญิง
ปัญหาสังคมที่กล่าวมาอาจจะส่งผลกระทบทางลบเป็นลูกโซ่ต่อไปยังโอกาสการศึกษาเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพการคงอยู่ในระบบการศึกษาโดยไม่หลุดออกกลางคัน ความสามารถในการศึกษาเรียนรู้ ระดับทักษะและความสามารถโอกาสการหางานทำ ตลอดจนรายได้ที่จะได้รับจากงานที่ทำ และหากไม่มีความช่วยเหลือที่เหมาะสมและตรงจุดปัญหาทั้งหมด จะยิ่งซ้ำเติมความด้อยโอกาสของครัวเรือน ความเปราะบางครัวเรือน ทัศนคติของผู้ปกครอง และสุขภาวะกายใจจนกลายเป็นวงกลม เป็นวงจรความยากจนข้ามรุ่นในสังคมไทย อย่างไม่สิ้นสุด
กุญแจสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับตัวเด็กและเยาวชนที่ยากจนหรือด้อยโอกาส กสศ. จึงได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงนที่มืองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาดังกล่าว เช่น กรมสุขภาพจิต และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ ) พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสังกัด สพฐ. ให้ครอบคลุมถึงความเสี่ยงด้านพฤติกรรม อารมณ์ สังคม และสุขภาพจิต และเน้นให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว สังคมในโรงเรียนการสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพระหว่างโรงเรียนและครอบครัว (school-family partnerships) ตลอดจนชุมซนแวดล้อมผ่านการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมและการออกแบบการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังกล่าวมากขึ้น