"ไอ้คางดำ" รุกถิ่นเพิ่ม 16 จังหวัด ค้นบันทึกพบผู้นำเข้าไม่ส่งตัวอย่างปลา 50 ตัว ด้านอธิบดีกรมประมงให้ 15 เดือนตัดตอนปล่อยปลาผสมพันธุ์ให้เป็นหมัน
นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง แถลงล่าสุดวันนี้ (17 กรกฎาคม) เรื่องการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ โดยเริ่มต้นด้วยการพูดถึงรายละเอียดของปลาหมอคางดำ เป็นปลาวงศ์เดียวกับปลานิลและปลาหมอเทศ ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแคมเมอรูน แถบแอฟริกา ขนาดตัวใหญ่สุดยาวถึง 20 กว่าเซนติเมตร โดยมีแหล่งอาศัยบริเวณปากแม่น้ำ บริเวณป่าชายเลน ริมชายฝั่ง
แหล่งอาศัยชอบอยู่ตามปากแม่น้ำบริเวณป่าชายเลนสามารถชนความเค็ม ในช่วงกว้างได้ หมายความว่าอยู่ในความเข้มความกร่อย และน้ำจืด ที่สำคัญคือปลาชนิดนี้สามารถปรับตัวได้ดี และทนต่อสภาพที่มีค่าออกซิเจนต่ำ สามารถวางขายได้ดีในน้ำกร่อยและน้ำจืดที่ซึ่งการวางไข่แต่ละครั้งมีจำนวนไข่ 30-900 ฟอง ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือปลาชนิดนี้สามารถวางไข่ทั้งปีทุก 22 วันและชอบอยู่รวมฝูง
ส่วนการกินอาหารสามารถกินได้ทุกประเภททั้งพืชน้ำและแพลงตอนพืช แพลงต้อนสัตว์ รวมถึงลูกพันธุ์สัตว์น้ำขนาดเล็ก แต่ส่วนใหญ่จากที่ผ่าท้องดูที่กระเพาะพบว่าร้อยละ 94 เป็นปลากิรพืช มีส่วนที่จะกินลูกสัตว์น้ำอื่นด้วย แต่หลักๆปลาชนิดนี้จะกินพืช
ส่วนการรุกรานในอเมริกา ยุโรป รวมถึงประเทศไทยโดยเฉพาะในไทยพบการระบาดไปแล้วจากเดิม 14 จังหวัด เพิ่มเป็น 16 จังหวัด ซึ่งการระบาดในวงกว้างอาจมาจากหลายสาเหตุ ทั้งปลาเดินทางได้เองหรือมีมนุษย์เอาไปเป็นปลาเหยื่อ หรือ นำไปในแหล่งน้ำที่ใกล้เคียง โดยทางกรมประมงเองได้พยายามสื่อสารประชาสัมพันธ์เรื่องการขนย้ายการนำไปเป็นปลาเหยื่อหรือนำไปเป็นอาหารสัตว์น้ำ จะต้องทำให้ปลาตายเพื่อป้องกันการหลุดรอดออกไป
ส่วนผลกระทบว่าทำไมปลาตัวนี้ถึงเป็นปลารุกรานเพราะปลาได้มีการแก่งแย่งอาหารและที่อยู่กับสัตว์น้ำพื้นเมือง ทำให้สัตว์น้ำมีจำนวนลดลง กระทบกับชาวประมง และ เกษตรกร รวมถึงทำให้สูญเสียความหลากหลายทางระบบนิเวศ เพราะ ปลาชนิดนี้ไปยึดครองพื้นที่ทำให้ระบบนิเวศขาดความสมดุลด้านห่วงโซ่อาหาร
การเข้ามาของปลาหมอคางดำในประเทศไทย ซึ่งเป็นไฮไลท์สำคัญที่มีคำถามกันว่าปลาชนิดนี้เข้ามาได้อย่างไรมีกฎหมายอย่างไรคุ้มครอง ทางอธิบดีกรมประมงชี้แจงว่า ข้อกฎหมายสมัยนั้นใช้พระราชบัญญัติประมง 2490 มีมาตราหนึ่งคือมาตรา 54 “ ห้ามมิให้นำสัตว์น้ำชนิดหนึ่งชนิดใด ตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่”
หมายความว่าสัตว์น้ำที่นำเข้ามาในประเทศไทยจะต้องได้รับอนุญาต โดยสัตว์น้ำต้องมีชื่ออยู่ในพระราชกฤษฎีกา สมัยนั้นเองได้มีการออก พระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้นำสัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักรก็มีปลาหมอคางดำอยู่ในบัญชีท้ายด้วย ซึ่งก็มีการแก้กฎหมายในปี 2528 ซึ่งเจตนาของกฎหมายในวัตถุประสงค์ 2 เรื่อง 1.ป้องกันไม่ให้โรคระบาดเข้ามาในประเทศไทย 2.ป้องกันสุขอนามัยของคนในชาติไม่ให้มีค่าสารต่างๆ ตกค้างติดมากับสัตว์น้ำ
ทีนี้การนำเข้าปลาหมอคางดำในครั้งนั้น ทางกรมประมงมีกลไกเมื่อ 14 ปีที่แล้ว ทางกรมประมงได้มีกลไก ที่จะควบคุมการนำเข้า โดยทางกรมประมงได้ตั้งคณะกรรมการมาชุดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่าคณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัยและความหลากหลายทางชีวภาพของกรมประมง โดยมีอธิบดีเป็นประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ดังนั้นการจะนำสัตว์เหล่านี้เข้ามาก็จะต้องผ่านคณะกรรมการชุดนี้เพื่อให้ความเห็น โดยเมื่อปี 2553 อนุมติให้นำเข้าได้โดยมีเงื่อนไข 2 ข้อ
1.เก็บตัวอย่างครีบดองในน้ำยาเก็บตัวอย่าง ส่งให้กลุ่มวิจัยความหลากหลายชีวภาพสัตว์น้ำจืด สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด
2.เมื่อสิ้นสุดการทดลองให้รายงานผลการศึกษา หากผลไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และ ไม่ประสงค์จะทำการศึกษาต่อให้ทำลายปลาชุดดังกล่าวทั้งหมดโดยแจ้งกรมประมงเพื่อส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ การทำลายต่อไป
อันนี้คือเงื่อนไขของคณะกรรมการชุดดังกล่าวซึ่งเมื่อมีเงื่อนไขเช่นนี้ จึงมีการอนุญาตให้โดยระบบให้นำเข้า โดยจากการที่กรมประมงสืบค้นข้อมูลพบว่า ทางผู้รับอนุญาต ได้นำเข้าปลาหมอคางดำ จำนวน 2,000 ตัว เมื่อเดือนธันวาคม 2553 ผ่านด่านตรวจสัตว์น้ำสุวรรณภูมิ ก่อนนำเข้าฟาร์มเพาะเลี้ยงในจังหวัดสมุทรสงคราม
ทีนี้ตามที่มีข้อกล่าวอ้างว่าบริษัทได้นำส่ง ตัวอย่าง 50 ตัวให้กับกลุ่มวิจัยความหลากหลายชีวภาพสัตว์น้ำจืด ณ ขณะนั้น ทางกรมประมงขอเรียนแจ้งว่า โดยระบบจัดเก็บตัวอย่างเพื่อการอ้างอิง ประชากรกลุ่มวิจัยความหลากหลายชีวภาพฯ เค้ามีการจัดเก็บอยู่ 2 ลักษณะ
1.ตัวอย่างอ้างอิง เป็นการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำทั้งตัวในขวดแก้วด้วย น้ำยาฟอร์มาลีนอ่ะ
2.ห้องปฏิบัติการธนาคารดีเอ็นเอ เป็นการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ สัตว์น้ำครีบปลาและเลือดเพื่อตรวจสอบสารพันธุกรรม ในการอ้างอิงประชากร ซึ่งจากการตรวจสอบโดยทางอธิบดีกรมประมงได้เรียกผอ.กอง ที่ดูแลกลุ่มงานนี้มาตรวจข้อมูล โดยเอาสมุดบันทึกลงทะเบียนในการรองรับข้อมูลที่นำเข้าสัตว์น้ำมาดู ซึ่งสมุดนี้มีบันทึกตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป จึงมีการตรวจสอบข้อมูลในเดือนธันวาคม 2553-เดือนมกราคม 2554
ไม่พบข้อมูลการนำส่งขวดปลา 50 ตัว ในสมุดคุมที่กรมประมงคุมอยู่ ตั้งแต่บัดนั้นถึงบัดนี้ ซึ่งทางกรมประมงได้ให้เจ้าหน้าที่หาข้อมูลแต่ก็ไม่มีขวดที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด จึงขอยืนยันว่าขณะนี้กรมประมงไม่มีการรับตัวอย่างปลาจำนวน 50 ตัวจากบริษัทผู้นำเข้าแต่อย่างใด
สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาเรื่องปลาหมอคางดำของกรมประมง ทางกรมประมงได้ดำเนินการด้วยมาหลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงพื้นที่รับปัญหาก็ได้ทำมาเป็นระยะ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯเข้ามาให้ดำเนินการเรื่องนี้เป็นวาระสำคัญ และให้แก้ปัญหาให้กับพี่น้องชาวประมงให้ได้ โดยได้มีการตั้งคณะทำงานระดับกระทรวงขึ้นมาชุดหนึ่ง มีจำนวน 47 คน โดยได้ประชุมไปแล้วสองครั้ง ซึ่งที่ประชุมวางกรอบเห็นชอบให้ ตั้งคณะทำงานใน พื้นที่ที่พบการระบาดของปลาหมอคางดำ และ พื้นที่กันชนเพื่อป้องกันการระบาด ขณะที่เมื่อวานนี้ ที่ได้ประชุมเห็นชอบแผน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนและเสนอครม.ต่อไป
สำหรับมาตรการที่ทางกรมประมงดำเนินการมี 6 เรื่อง
1.การควบคุม-กำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการระบาด ตรงนี้ทางกรมประมงได้ทำ อย่างต่อเนื่อง กำจัดปลาหมอคางดำไปได้เกือบ 1 พันตัน โดยการกำจัดจะแล้วแต่บริบทของพื้นที่อย่างจังหวัดสมุทรสาคร ที่มีการระบาดหนักที่สุด โดยใช้อวนรุน ซึ่งจริงๆเป็นเครื่องมือห้ามใช้ในแม่น้ำลำคลอง แต่ใช้กำจัดปลาหมอคางดำได้
2.กำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยปล่อยปลาผู้นักล่า หากพบการระบาดพื้นที่น้ำจืด-น้ำเค็มอย่างต่อเนื่องเข้าไปควบคุมในธรรมชาติ
3.การนำไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปทำปลาป่น 500 กว่าตัน ทำเมนูอาหารสารพัดเมนู
4.สำรวจด้วย Google ให้แจ้งเข้ามาว่ามีปลาหมอคางดำเกิดที่ไหน ป้องกันไม่ให้ระบาดไปมากกว่านี้
5.การสร้างความรับรู้ตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการปลาหมอคางดำ
6.การศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหา โดยได้มีการทำปลาหมอคางดำ เพื่อให้ไปควบคุมกันในธรรมชาติให้เป็นหมัน โดยวิธีการเหนี่ยวนำโครโมโซม และจะมีการพัฒนานำไปสู่การควบคุมประชากรปลาหมอคางดำ
ทิ้งท้ายเพิ่มเติมเรื่องมาตรการ ณ วันนั้นกับวันนี้ เมื่อกรมประมงมีประสบการณ์เรื่องดังกล่าวแล้ว โดยจะมีเรื่องข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อมีเหตุ เพื่อป้องกันมิให้เกิดในอนาคต ยืนยันไม่ใช้ “วัวหายล้อมคอก” จึงมาแก้กฎหมายเมื่อปี 2558 และใส่ไว้ในมาตรา 65 ห้ามมิให้ผู้ใดนำสัตว์น้ำจากต่างประเทศ ที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และบางชนิดก็ห้ามเพาะเลี้ยง ให้ออกเป็นประกาศกระทรวง
ส่วนการลงโทษผู้กระทำผิดเงื่อนไขยังไม่ชัดเจน โดยอธิบดีกรมประมงได้มีการเสนอโทษทางอาญา และโทษปรับ รับผิดชอบในสังคมในฐานะผู้ก่อ ส่วนจะรับผิดชอบอย่างไรคงต้องประชุมหาวิธีกาคืนธรรมชาติให้ดีดั่งเดิม ซึ่งจะต้องใส่ไว้ในตัวบทกฎหมายที่จะต้องผ่านสภา ซึ่งทางอธิบดียืนยันว่าจะเป็นคนผลักดันเรื่องการแก้โทษให้สำเร็จให้ได้ ย้ำไม่ใช่วัวหายล้อมคอก แต่เรามองว่าสิ่งเหล่านี้ มันจะเกิดกับคนรุ่นถัดไป ที่จะมองว่าคนรุ่นเราไม่ได้ส่งมอบทรัพยากรที่มีค่าที่สมบูรณ์ให้
สุดท้ายในการฟื้นฟูระบบนิเวศ ก็จะต้องดำเนินการปล่อยปลาพื้นเมืองเดิมลงในระบบนิเวศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมประมง ที่จำแผนปล่อยปลาคืนสู่ระบบนิเวศ พร้อมทั้งขอบคุณเครือข่ายที่ได้จุดประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อให้ร่วมแก้ปัญหาในวันนี้ และกรมประมงจะไม่ทำให้เรื่องนี้ยืดเยื้อ
นักข่าวถามย้ำถึงการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ จะต้องใช้เวลาเท่าใดกว่าจะยุติได้ ซึ่งทางอธิบดีระบุว่า แผนที่จะทำคือ 12+3 คือ 15 เดือนที่จะแก้ปัญหานี้ ประกอบกับการคิดนวัตกรรมทำหมัน จะปล่อยปลาพันธุ์ขยาย ช่วงเดือนธันวาคม เพื่อไปผสมพันธุ์ปลาธรรมชาติให้เป็นหมัน ซึ่งน่าจะควบคุมไม่ให้ขยายเพิ่มขึ้น ส่วนแผนระยะยาว คือ 3 ปี มีแนวคิดเรื่อง การปรับแก้จีโนม (Genome editing ซึ่งเป็นการปรับแต่งจีโนมในปลาหมอคางดำ ให้ประชากรล่มสลาย
ทิ้งท้ายกับสิ่งที่สังคมอยากรู้ นักข่าวถามต้นตอที่ทำให้ปลาหมอคางดำระบาด เกิดจากสาเหตุใด ทั้งๆ ที่มีการอนุญาตให้เอกชนรายเดียวนำเข้าปลา และยังไม่ส่งตัวอย่างปลาให้กรมประมง ทั้งๆ ที่ผ่านมา 14 ปีแล้ว โดยทางอธิบดีกรมประมงสรุปท้ายว่าเป็นการค้นหาร่วมกัน ทางกรมประมงกำลังแก้ปัญหานี้ แต่การจะให้อธิบดีชี้ตรงๆ ณ เวลานี้ กับเงื่อนไขกฎหมายที่ได้ไล่เรียง ตัวอธิบดีเองก็ยังตอบตรงๆ ไม่ได้ ในใจก็คิดไม่ต่างจากนักข่าว แต่พูดออกมาโดยตรงในลักษณะการชี้มันพูดไม่ได้ แต่เมื่อถึงวันหนึ่ง ทุกอย่างมีหลักฐานทางกฎหมาย จึงจะมีการดำเนินการตามขั้นตอน
Advertisement