Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ข้อควรรู้ก่อนเข้า "โครงการสมัครใจลาออก" ลูกจ้างต้องได้เงินชดเชยเท่าไร สิทธิคุ้มครองทางกฎหมาย

ข้อควรรู้ก่อนเข้า "โครงการสมัครใจลาออก" ลูกจ้างต้องได้เงินชดเชยเท่าไร สิทธิคุ้มครองทางกฎหมาย

15 ส.ค. 67
14:17 น.
|
2.4K
แชร์

"โครงการสมัครใจลาออก"แตกต่างจาก "เลิกจ้าง" อย่างไร เงินชดเชยลูกจ้างต้องได้เท่าไร ข้อควรระวังก่อนเซ็นยินยอม

โครงการสมัครใจลาออก คืออะไร แตกต่างจาก เลิกจ้าง อย่างไร

นายณรงค์ฤทธิ์ วรรณโส ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้ข้อมูลว่า "โครงการสมัครใจลาออก ถ้าลงรายละเอียดแล้วเป็นเรื่องการตกลงเลิกสัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นเหตุให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง โดยนายจ้างจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับลูกจ้างที่เข้าโครงการอาจจะมากหรือน้อยกว่าค่าชดเชยที่จะได้รับหากมีการเลิกจ้าง (การตกลงเลิกสัญญาจ้าง จึงมิใช่การเลิกจ้างหรือการลาออก หรือการบอกเลิกสัญญาจ้างของนายจ้างหรือลูกจ้าง )

และในทางปฏิบัตินายจ้างจะให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกสำทับเข้าไปอีก (ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเขียน) เพื่อลดการฟ้องร้องจากลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าถูกนายจ้างเลิกจ้าง หากมีการฟ้องร้องก็เอาใบลาออกไปสืบพยานว่าลูกจ้างลาออกเองมิใช่นายจ้างเลิกจ้าง

ประเด็น เวลาแจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแก่เจ้าหน้าที่ประกันสังคม หากนายจ้างว่าลูกจ้างลาออก เงินทดแทนการว่างงานอาจได้น้อยกว่าแจ้งว่า สิ้นสุดสัญญาจ้างเพราะเหตุตกลงเลิกสัญญาจ้าง ฉะนั้น จึงควรแจ้งตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น"

โครงการสมัครใจลาออก คืออะไร ต้องได้เงินชดเชยเท่าไร

ในเมื่อ อยู่ไปก็ไลฟ์บอย บริษัทเปิดโครงการสมัครใจลาออก ลูกจ้างอย่างเราต้องพิจารณาอะไรบ้าง รวมถึงข้อพึงระวังป้องกันการปัญหาการฟ้องร้องในภายหลัง คำแนะจาก คลินิกกฎหมายแรงงาน แนะไว้ 3 ข้อ ดังนี้ 

1. ศาลเคยตัดสินไว้หลายคดีว่า โครงการสมัครใจลาออก หรือ early retire หรือเกษียณอายุก่อนกำหนด ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง แต่เป็นการที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงเลิกสัญญา ลูกจ้างจึงไปฟ้องเรียกค่าชดเชย ค่ายอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายอ้างว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ได้ เพราะไม่ถือว่านายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้าง

2. อย่างไรก็ตามแม้จะไม่ใช่เลิกจ้าง และลูกจ้างไม่ได้ลาออก สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่า การสมัครใจลาออก ทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง มีผลให้ลูกจ้าง หรือ ผู้ประกันตน "ว่างงาน" ตามกฎหมายประกันสังคม ดังนั้น เมื่อคำนึกถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายประกันสังคม และเจตนาของนายจ้างที่จัดให้มีโครงการก็เพื่อลดคนลง จึงควรให้ ลูกจ้างได้รับเงินว่างงานในอัตราเดียวกับกรณีว่างงานเพราะถูกเลิกจ้าง (ไม่ใช่ลาออก) ตามบันทึก สคก.เรื่องเสร็จที่ 940/2555 ส.ค.2555

3. เมื่อลูกจ้างตัดสินใจเข้าโครงการสมัครใจลาออกหรือเกษียณอายุก่อนกำหนดไปแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และค่าเสียหายอ้างว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีก

ดังนั้นหาก ลูกจ้างประสงค์เข้าร่วมโครงการสมัครใจลาออก อาจจะต้องพิจารณาในหลายปัจจัย เช่น อายุงานของตน และค่าชดเชยที่อาจจะได้รับในกรณีเลิกจ้าง และก็ต้องพิจารณาในอีกมุมหนึ่งด้วยว่า หากจะขอรับตามอัตราค่าชดเชย ค่าตกใจและค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (กรณีเลิกจ้างไม่มีเหตุอันสมควร) ด้วยว่า บริษัทสามารถจ่ายได้หรือไม่ เพราะเมื่อบริษัทจ่ายไม่ได้ และวันหนึ่งบริษัทไม่อาจแบกรับภาระหนี้สิน หรือมีผลประกอบการถดถอยลงไปลูกจ้างก็อาจจะได้รับผลกระทบเช่นกัน

ดังนั้น ในการประกาศ โครงการสมัครใจลาออก หรือ Early Retire หรือ เกษียณก่อนกำหนด นายจ้างจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ลูกจ้างควรจะได้รับด้วย รวมถึงลูกจ้างก็ต้องพิจารณาถึงผลประกอบการและสถานะทางการเงินของบริษัท รวมถึงช่องทางการทำกินอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย

ขอบคุณข้อมูล : คลินิกกฎหมายแรงงาน, Facebook Narongrit Wannaso

โครงการสมัครใจลาออก  Early Retire เกษียณก่อนกำหนด

Advertisement

แชร์
ข้อควรรู้ก่อนเข้า "โครงการสมัครใจลาออก" ลูกจ้างต้องได้เงินชดเชยเท่าไร สิทธิคุ้มครองทางกฎหมาย