นักวิจัยด้านกุ้ง จุฬาฯ - สวทช. คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น 2567 ขณะที่ นักวิจัยจากสถาบันวิทยสิริเมธี –ม.สงขลานครินทร์ คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่
วันที่ 15 ส.ค.67 ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงเปิดตัว ผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 43
โดยมี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานพิธี และมอบโล่รางวัล ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล ประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและผู้ที่ได้รับรางวัล ร่วมงานแถลงข่าว
ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส กล่าวว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องสนับสนุนนักวิจัยและผู้นำกลุ่มนักวิจัยให้พัฒนางานในระดับ “วิจัยขั้นแนวหน้า” อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม สามารถช่วยผลักดันประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งหากจะเปรียบเทียบประเทศไทยกับเกาหลีใต้ จะพบว่า ในปี 2513 นั้น ทั้งสองประเทศ มี GDP ต่อหัวในระดับเดียวกันคือ 260 และ 269 เหรียญสหรัฐ แต่ในช่วง 30 ปีถัดมา คือปี 2543 ประเทศเกาหลีใต้มี GDP ต่อหัวสูงจากเดิม 44 เท่า และประมาณการว่าในปี 2567 จะก้าวกระโดดมากกว่า 130 เท่า คือสูงถึง 34,165 เหรียญสหรัฐ ปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้ลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก คือมากกว่า 5% ของ GDP การที่ภาครัฐและเอกชนเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม ส่งผลให้นักวิจัยของของประเทศได้รับสิทธิบัตรสูงถึง 10% ในปี 2564 จากจำนวน 1.6 ล้านสิทธิบัตรทั้งหมดของโลก ซึ่งอยู่ในอันดับ 4 รองจากประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่นเท่านั้น และมีปริมาณเกือบ 10 เท่าของสหราชอาณาจักร
“สำหรับประเทศไทย การวิจัยและพัฒนาในลักษณะ “งานวิจัยขั้นแนวหน้า” (Frontier Research) ที่ครอบคลุมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Energy and Environment) วัสดุขั้นสูง (Advanced Materials) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) รวมทั้งการส่งเสริมความเป็นเลิศในสาขาวิจัยที่สร้างศักยภาพให้กับประเทศ จะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและสอดรับกับทิศทางของโลก รวมทั้งการเลือกพัฒนาอุตสาหกรรมให้ถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสม
จึงเป็นส่วนผสมสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทยในเวทีโลก และช่วยปลดล็อกให้ประเทศไทยหลุดจากสภาวะ “กับดักรายได้ปานกลาง” ได้”
สำหรับในปีนี้ ผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2567 ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัล 400,000 บาท ได้แก่
ทั้งนี้ ผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ.2567 ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัล 100,000 บาท ได้แก่
Advertisement