Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เปิดจุดเริ่มต้นเชื้อ "ฝีดาษลิง Mpox" พบในลิงเลี้ยงไว้ทดลอง

เปิดจุดเริ่มต้นเชื้อ "ฝีดาษลิง Mpox" พบในลิงเลี้ยงไว้ทดลอง

21 ส.ค. 67
16:03 น.
|
683
แชร์

เปิดจุดเริ่มต้นการระบาดของเชื้อไวรัส ฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง (Mpox) พบครั้งแรกในลิงเลี้ยงไว้ทดลอง ก่อนพบในมนุษย์ที่คองโก

วันที่ 21 สิงหาคม 2567 ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร (Mpox) โดย ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า 

"ฝีดาษวานร พบและรายงานครั้งแรก เป็นการระบาดในลิงที่เลี้ยงไว้ทดลอง ลิงมีอาการและแยกเชื้อได้ในกลุ่มของ ฝีดาษ (poxvirus) จึงเรียกว่าฝีดาษลิง (Monkeypox) เมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว

จนกระทั่งอีก 10 กว่าปีต่อมา พบโรคนี้ในมนุษย์ที่คองโก ไม่ทราบแน่ชัดว่าติดมาจากสัตว์ใด และก็พบเรื่อยมา ต่อมาจึงเข้าใจว่าสัตว์นำโรค น่าจะเป็นสัตว์ตระกูลฟันแทะหรือหนู และสามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้

การตั้งชื่อ ฝีดาษลิงหรือฝีดาษวานร ก็เพราะพบครั้งแรกในลิง แต่ความเป็นจริงการติดต่อสู่คน ไม่ทราบว่าเป็นสัตว์ชนิดใด น่าจะเป็นสัตว์ในตระกูลฟันแทะ ในระยะหลังนี้องค์การอนามัยโลกเองจะตั้งชื่อโรคที่เกิดจากไวรัส หรือโรคอุบัติใหม่ จะไม่ใช้ชื่อสถานที่ สัตว์นำโรค บุคคล มาตั้งเป็นชื่อโรค เพราะจะทำให้เกิดบาดแผลต่อสิ่งนั้น หรือแนวคิดทัศนคติทางลบต่อสิ่งนั้นๆ องค์การอนามัยโลกจึงตั้งชื่อว่า "Mpox" สำหรับประเทศไทย ผู้ที่ตั้งชื่อว่า ฝีดาษวานร คือ ศ. นพ. ประเสริฐ ทองเจริญ

วิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคฝีดาษลิง

นพ. สุนทร สุนทรชาติ ผอ.สำนักอนามัย (สนอ.) ให้คำแนะนำ วิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคฝีดาษลิง โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยว หรือย่านพักอาศัยของนักท่องเที่ยวต่างชาติจากกลุ่มประเทศแอฟริกา

โดยในระยะฟักตัว 7-21 วัน ผู้ป่วยมักเริ่มด้วยอาการไข้และผื่น ส่วนการแพร่กระจายเชื้อและการติดต่อส่วนใหญ่จะเป็นการสัมผัสผื่นผู้ป่วยโดยตรงในระยะแพร่เชื้อ หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยยืนยันอาจติดต่อทางละอองฝอยได้ โดยเฉพาะหากมีการทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็ก (contact transmission & droplet transmission) หากพบผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ (suspected case) ในพื้นที่ให้แจ้งทีมสอบสวนโรคในพื้นที่ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) และสำนักอนามัย กทม.

ขณะที่การรักษาเป็นแบบประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย เช่น ลดไข้ ลดอาการไม่สบายจากตุ่มหนอง และดูแลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ต้องแยกกักผู้ป่วย 21 วัน ส่วนการรักษาจำเพาะ ยาต้านไวรัสจำเพาะเป็นยาที่ใช้ในการรักษาอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย ได้แก่ ยา Tecovirimat (TPOXX) ซึ่งมีจำนวนจำกัด และให้ในรายที่ป่วยรุนแรงเท่านั้น

Advertisement

แชร์
เปิดจุดเริ่มต้นเชื้อ "ฝีดาษลิง Mpox" พบในลิงเลี้ยงไว้ทดลอง