Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ภาคเหนือจมบาดาล วิกฤตการณ์ต้องรอด! หวั่นจะซ้ำรอยน้ำท่วมใหญ่ปี 54 หรือไม่

ภาคเหนือจมบาดาล วิกฤตการณ์ต้องรอด! หวั่นจะซ้ำรอยน้ำท่วมใหญ่ปี 54 หรือไม่

23 ส.ค. 67
17:15 น.
|
4.6K
แชร์

ภาคเหนือจมบาดาล วิกฤตการณ์ต้องรอด! หวั่นจะซ้ำรอยน้ำท่วมใหญ่ปี 54 หรือไม่ มวลน้ำตอนนี้อยู่ตรงไหน เขื่อนยังรับความจุได้อีกเยอะหรือไม่

ภาคเหนือจมบาดาลคำนี้อาจไม่เกินจริง หากดูจากภาพสถานการณ์น้ำท่วมในทุกพื้นที่ของภาคเหนือตอนนี้ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

สำนักวิชาการธรณีไทยเผยภาพแผนที่ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำ สีแดง จังหวัดเชียงรายและน่าน ได้รับผลกระทบหนัก สีส้ม จังหวัดแพร่ คือบริเวณที่น้ำเริ่มเข้ามาไหลในพื้นที่ สีเหลือง จังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลก คือต้องเฝ้าระวัง

สำหรับฝั่งเชียงราย มีแม่น้ำ 2 สายสำคัญคือ แม่น้ำสายกับแม่น้ำอิง แม่น้ำสองเส้นนี้ถูกหนุนด้วยน้ำโขงจากปริมาณฝนที่ตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน ทำให้น้ำมีปริมาณสูงขึ้น เกิดการระบายไม่ทัน หลังจากนั้นน้ำจากทั้งสองเส้นนี้ จะตัดลงแม่น้ำยมทำให้จังหวัดแพร่เริ่มได้รับผลกระทบด้วย

596767

ปัจจุบันนี้ภาคเหนือมีมวลน้ำ 3 ก้อน คือ

มวลน้ำก้อนแรก คือ ฝนที่ตกในจังหวัดน่าน ก่อนไหลไปลงเขื่อนสิริกิติ์ ที่มีความจุอ่าง 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยข้อมูลจาก คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2567 สามารถรองรับได้อีก 35% หรือราว 3,303 ล้านลูกบาศก์เมตร ด้านกรมชลประทาน เผยว่า อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำฮิ และ อ่างเก็บน้ำห้วยแฮต ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดน่าน ปัจจุบันเก็บน้ำเกินความจุไปแล้ว คือ 6,109 ล้านลูกบาศก์เมตร (101.820%) และ 5,186 ล้านลูกบาศก์เมตร (103.720%) ตามลำดับ

1724386745366

1724403618640

ขณะเดียวกัน เทศบาลเมืองน่านได้เผยว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำน่าน เมื่อเวลา 21.00 น. ของวันที่ 22 ส.ค.67 อยู่ที่ 8.72 เมตร สูงกว่าระดับพนังกั้นน้ำและสูงกว่าสถิติน้ำท่วมใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2549 ที่ระดับ 8.42 เมตร ซึ่งมวลน้ำได้ไหลเข้าสู่เขตเศรษฐกิจของจังหวัด ทั้งตลาด โรงพยาบาล สำนักงานต่างๆ ประชาชนได้รับผลกระทบจำนวนมาก

มวลน้ำก้อนที่ 2 คือ ฝนที่ตกในจังหวัดเชียงราย และพะเยา มวลน้ำก้อนนี้จะไหลลงสู่แม่น้ำโขง แต่ฝนตกหนักที่ สปป.ลาวจะยิ่งทำให้แม่น้ำโขงใน จ.หนองคาย และ นครพนม มีระดับเพิ่มสูงขึ้น

มวลน้ำก้อนที่ 3 ไหลมาจากจังหวัดแพร่ และยังรับน้ำสะสมจากจังหวัดพะเยา ซึ่งน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่แม่น้ำยม

456679131_911265594372742_553

ทั้งนี้ มวลน้ำทั้งหมดจะลงมาบรรจบกันที่สุโขทัยกับพิษณุโลก สิ่งนี้คือจุดที่หลายคนมีความกังวล ถึงปลายทางของสถานการณ์ว่าจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน แล้วน้ำท่วมครั้งนี้จะรุนแรงเหมือนน้ำท่วมใหญ่ปี 54 หรือไม่ ที่ครั้งนั้นทำเศรษฐกิจไทยพังเสียหายถึง 1.44 ล้านล้านบาท

31-ywall_01

ล่าสุดนักเขียนชื่อดังอย่าง ภาณุ ตรัยเวช ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านทางเฟซบุ๊กว่า “สังคมไทยต้องหยุดเอาน้ำท่วมปี 54 มาเป็นมาตรฐานของ “น้ำท่วม” ได้แล้ว แต่ให้เอาเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงรายแบบนี้เป็นมาตรฐานแทน เพราะน้ำที่ท่วมส่วนใหญ่ทุกครั้งล้วนเกิดจากฝนตกใหญ่ ทำให้น้ำไหลลงมาเร็วเกิดขีดจำกัด การระบายน้ำออกไม่สามารถทำได้ทันท่วงที เนื่องจากสิ่งนี้เป็นการจัดการของคน ไม่ใช่ธรรมชาติ ดังนั้นวิธีที่ป้องกันได้ดีที่สุดคือคน นั่นหมายถึงหน่วยงานท้องถิ่นต้องเท่าทัน พร้อมในการระบายน้ำ

456508904_930601839112433_146_1

ส่วนเพจเฟซบุ๊ก “มิตรเอิร์ธ” เพจวิทยาศาสตร์ชื่อดังได้ออกมาช่วยวิเคราะห์คลายความกังวลเรื่องนี้อีกด้วยว่า น้ำท่วมภาคเหนือปีนี้ ภาคกลางจะไม่ได้รับผลกระทบเหมือนปี 54 เพราะน้ำส่วนใหญ่จะไหลลงแม่น้ำโขง โดยน้ำจากพะเยาและเชียงรายจะไหลลงลุ่มน้ำโขง ส่วนน้ำที่น่านจะไหลลงลุ่มแม่น้ำน่าน ซึ่งส่วนนี้ยังมีเขื่อนสิริกิติ์ช่วยบริหารจัดการ ตลอดถึงบริเวณลุ่มน้ำปิงก็ยังมีเขื่อนภูมิพลช่วยจัดการอยู่ ซึ่งจากการสำรวจปริมาณน้ำในอ่างผ่านทาง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) วันที่ 22 สิงหาคม 2567 พบว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์อยู่ที่ 6,152.72 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุสูงสุด 10,508 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนภูมิพล ปริมาณน้ำอยู่ที่ 5,789.69 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุสูงสุด 13,642 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งนับว่ายังเก็บน้ำได้อีกแบบไม่ต้องเป็นกังวลมาก

148878

166669

อย่างไรก็ตาม ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ได้วิเคราะห์เรื่องนี้ว่า โอกาสที่จะน้ำท่วมซ้ำรอยปี 54 นั้นมีน้อย เพราะในปีนั้นไทยเผชิญกับพายุหลายลูก แต่ปีนี้มีแค่ 1-2 ลูก ส่วนฝนที่ตกหนักก็เกิดจากร่องมรสุม ปริมาณฝนยังไม่เยอะเท่าปี 54 จึงนับว่ายังห่างไกลมากที่จะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร พบว่าในปี 2554 มีปริมาณฝนรวมตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤจิกายน 2554 อยู่ที่ 1,781 มิลลิเมตร มากกว่าค่าเฉลี่ย 407 มิลลิเมตร

ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากพายุที่เคลื่อนตัวมาจากทะเลจีนใต้ ทั้งหมด 5 ลูก ได้แก่

26 มิ.ย.54 พายุโซนร้อนไหหม่า ส่งผลให้ภาคเหนือทุบสถิติฝนตกหนัก 24 ชม. วัดได้ 335.2 มิลลิเมตร ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน
25 ก.ค.54 พายุโซนร้อนนกเตน พัดถล่มซ้ำพื้นที่เดิมอีก ทำให้ปริมาณน้ำยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และกระทบไปถึงภาคอีสาน สถิติฝนสูงสุดที่อ.เมือง จ.หนองคาย 408.9 มิลลิเมตร
23 ก.ย.54 ไต้ฝุ่นเนสาด ขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม แต่ส่งผลกระทบกับไทย
28 ก.ย. 54 พายุโซนร้อนไหถ่าง กระทบกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณฝนหนักมากสุด 152.3 มิลลิเมตร ที่อ.นาทม จ.นครพนม
5 ต.ค.54 พายุนาลแก ที่อิทธิพลของพายุส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นและทำให้มีฝนมากในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก

afp__20111115__hkg5575845__v1

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลแล้ว จึงคาดว่าอุทกภัยในปี 2567 ที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ น่าจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงเหมือนมหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 แต่อย่างไรก็ตาม ทุกภาคส่วนก็ยังต้องเฝ้าระวัง และหาทางป้องกันเพื่อรับมือได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดวิกฤติขึ้นมาจริงๆ

Advertisement

แชร์
ภาคเหนือจมบาดาล วิกฤตการณ์ต้องรอด! หวั่นจะซ้ำรอยน้ำท่วมใหญ่ปี 54 หรือไม่