How To วิธีดูแลผู้สูงอายุ ระหว่างน้ำท่วม เทคนิคเกลี่ยกล่อมให้ไม่ตื่นตูม อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยช่วงน้ำท่วม ถ้าไม่อพยพ ก็ต้องหาวิธีอยู่ร่วมกัน!
เชื่อกันว่าหลายบ้านที่ประสบภัย น้ำท่วม 2567 ในช่วงเวลานี้ บางทีอาจต้องพบเจอกับเรื่องเหนื่อยใจภายในครอบครัว ที่บางครั้งอาจเกิดขึ้นได้เพราะความห่วงบ้าน ผู้สูงอายุหลายคนอาจมีนิสัยเสียดายหรือห่วงบ้าน บางครอบครัวอาจเลือกไม่อพยบและย้ายไปอยู่บนหลังคา เพียงเพราะว่าอย่างน้อยก็ได้อยู่ใกล้บ้านตัวเอง ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจเป็นบ่อเกิดที่ทำให้เป็นปากเสียงภายในครอบครัวได้ Amarin Online ได้รวบรวม วิธีดูแลผู้สูงอายุ ระหว่างน้ำท่วม เทคนิคการเกลี่ยกล่อมให้ไม่ตื่นตูม เพราะถ้าไม่หนีออกจากบ้าน ก็ต้องหาตรงการในการอยู่ร่วมกันให้ดี
กรมอนามัยให้คำแนะนำไว้ว่า สถานการณ์น้ำท่วม 2567 ที่เกิดขึ้นนี้ ประชาชนยังคงต้องติดตามรายงานสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มวัยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ต้องเพิ่มความระมัดระวัง ไม่ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง หรืออยู่ใกล้น้ำโดยขาดความปลอดภัย ความประมาทอาจอาจทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ลื่นล้ม หรือได้รับบาดเจ็บ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
นอกจากนี้แล้ว บางบ้านอาจเจอกับน้ำท่วมต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้อาหารที่ได้รับมาอาจเป็นปัญหาได้ ดังนั้นแล้ว เมื่อได้รับอาหาร ก่อนกินควรสังเกตวันเวลาที่ผลิต และระยะเวลาในการบริโภคถ้ามีการระบุไว้ หากพบว่ามีกลิ่นผิดปกติ เหม็นบูด ควรทิ้งอย่าเสียดาย ในกรณีที่จำเป็นต้องบริโภคอาหารแปรรูป ควรตรวจดูสภาพผลิตภัณฑ์ อาทิ สี กลิ่น กระป๋อง หรือภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ต้องไม่ฉีกขาด กระป๋องไม่ปูดบวมหรือเป็นสนิม และสังเกตวันหมดอายุ
วิธีดูแลผู้สูงอายุ ระหว่างน้ำท่วม ขณะที่ไม่สามารถอพยพได้
ในสถานการณ์ที่เกิดน้ำท่วม และไม่สามารถอพยพผู้สูงอายุออกจากพื้นที่ได้ การดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัยและสุขภาพดี เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก และนี่คือ 5 วิธีที่สามารถนำไปใช้ เพื่อดูแลผู้สูงอายุในช่วงเวลานี้
การจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัย
การจัดอาการและน้ำดื่ม
การดูแลสุขอนามัย
การดูแลสุขภาพจิต
การสื่อสารและเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
นอกจากขั้นตอนข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรมีติดบ้านไว้ แม้ว่าจะไม่มีเหตุน้ำท่วมก็คือ ไฟฉาย ไฟสำรอง หรือนกหวีด โดยสองสิ่งนี้ถือเป็นของที่ควรมีเผื่อไว้ แม้จะไม่มีเรื่องให้ใช้งานก็ตาม รวมไปถึงควรต้องหมั่นติดตามข้อมูล ข่าวสาร การแจ้งเตือนจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นช่องทางเสียงตามสาย วิทยุ โทรทัศน์ หรือออนไลน์ต่าง ๆ
ที่สำคัญ หากคุณเป็นคนที่ต้องคอยออกไปหาอาหารหรือคอยขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ ควรฝากเพื่อนบ้านให้ช่วยดูแลไว้ด้วย จะได้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาซึ่งกันและกัน และต้องไม่ลืมจดเบอร์ฉุกเฉินไว้ให้สมาชิกครอบครัว
ที่มา : กรมอนามัย (thaihealth.or.th) / กรมกิจการผู้สูงอายุ (1 , 2)
Advertisement