Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ศาลรัฐธรรมนูญ แถลงปฏิญญากรุงเทพฯ ฐานะประธานสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย

ศาลรัฐธรรมนูญ แถลงปฏิญญากรุงเทพฯ ฐานะประธานสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย

20 ก.ย. 67
14:12 น.
|
120
แชร์

ศาลรัฐธรรมนูญ แถลงปฏิญญากรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย ส่งเสริมความยุติธรรม สันติสุข และสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 18-19 กันยายน 2567 ที่โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก กรุงเทพมหานคร มีการประชุมใหญ่สมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (The Association of Asian Constitutional Courts and Equivalent Institutions : AACC) ครั้งที่ 6 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมีนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวเปิดการประชุมใหญ่ภายใต้กรอบการดำเนินการของสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย 14 ประเทศ และกลุ่มภูมิภาคศาลรัฐธรรมนูญอีก 4 ภูมิภาค

957471

เป็นเวทีในการนำเสนอบทความในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หลักนิติธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ของบรรดาประเทศสมาชิก

ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในฐานะประธานการประชุมได้กำหนดหัวข้อหลักของการประชุม คือ "ศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าในการเสริมสร้างความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมที่ยั่งยืน" และกำหนดหัวข้อย่อย 3 หัวข้อ  ได้แก่

- บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าในการเสริมสร้างความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมที่ยั่งยืน

- พัฒนาการของกระบวนการยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญเพื่อความยุติธรรมที่ยั่งยืนในโลกที่เปลี่ยนแปลง

- ความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญในฐานะรากฐานของการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

โดยศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะดำรงตำแหน่งประธานสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (AACC) ในระหว่างปี พ.ศ. 2566 - 2568

150460

นอกจากนี้ ยังมีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างสมาคมศาลรัฐธรรมนูญแห่งเอเชียและสถาบันเทียบเท่า (AACC) และการประชุมว่าด้วยความยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญอิเบโร-อเมริกัน (CIJC) โดยนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในฐานะประธานสมาคมศาลรัฐธรรมนูญแห่งเอเชียและสถาบันเทียบเท่า (AACC) กับนาย Enrique Arnaldo Alcubilla ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญแห่งสเปนและประธานการประชุมว่าด้วยความยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งอิเบโร-อเมริกัน (CIJC)

524684

ที่ประชุม AACC ได้ร่วมกันจัดทำปฏิญญากรุงเทพมหานคร (Bangkok Declaration) สาระสำคัญคือการยึดหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ หลักการแบ่งแยกอำนาจ การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน และความจำเป็นของหลักความเป็นอิสระของตุลาการ ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานของความยุติธรรม สันติภาพ และเสถียรภาพในสังคมโลก ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ที่ประชุมได้คำนึงถึงบทบาทอันสำคัญของความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญในการส่งเสริมสนับสนุนสังคมให้มีความยั่งยืนด้วยการยึดหลักนิติธรรม การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานนั้นในการจัดการกับปัญหาระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การบริหารจัดการทรัพยากร และความยุติธรรมทางสังคม นอกจากนี้ สมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชียเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเคารพและร่วมมือซึ่งกันและกันด้วยการปรับเปลี่ยนกรอบการทำงานตามรัฐธรรมนูญเพื่อความท้าทายใหม่ ๆ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและประกันการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แม้ในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้งอันจะนำไปสู่ความยั่งยืนและสันติภาพ รวมถึงการให้ความสำคัญของการประกันในการเข้าถึงความยุติธรรม ในฐานะส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะรักษาสันติภาพที่ยั่งยืนและเสถียรภาพในสังคมรัฐ เพื่อที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและส่งเสริม "ความยุติธรรมทางสภาพอากาศ (Climate Justice)"

433416

ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการสมาชิกสมาคม AACC ที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงแนวทางการส่งเสริมความยุติธรรม สันติสุข และสิทธิมนุษยชน รวมถึงการร่วมกันไม่สนับสนุนต่อการกระทำใด ๆ อันเป็นภัยแก่ชีวิต ความมั่นคง เสรีภาพ ตลอดจนศักดิ์ศรีของปัจเจกบุคคลและประเทศชาติ เพื่อนำไปสู่สังคมที่สันติและยั่งยืน และได้แสดงความห่วงใยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ ปาเลสไตน์ ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า สมาชิกสมาคมฯ จะร่วมกันไม่สนับสนุนต่อการกระทำใด ๆ อันเป็นภัยแก่ชีวิต ความมั่นคง เสรีภาพ ของประเทศชาติและประชาชน ซึ่งรวมถึงชาวปาเลสไตน์

140273

สมาชิกสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชียมีจุดยืนร่วมกันในการอุทิศตนให้แก่หลักความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุนให้ประชาคมมีความกว้างขวางขึ้น เพื่อความเป็นธรรมและโลกที่เท่าเทียม มุ่งมั่นสู่เป้าหมายร่วมกัน เสริมสร้างความร่วมมือกับศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งอื่นในระดับโลกต่อไป โดยการสนับสนุนของคณะกรรมการเวนิสและสถาบันสหประชาชาติ รวมถึงความร่วมมือในระดับระหว่างภูมิภาคและในภูมิภาคของสมาคมอื่นและประชาคมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งเสริมหลักนิติธรรมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่เด่นชัดในการเป็นผู้นำการพัฒนาทางวิชาการของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงความสำเร็จของการจัดการประชุมใหญ่ (Congress) และการประชุมคณะกรรมการสมาชิก (BoMM) ในประเทศไทย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนางานของสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชียต่อไปในอนาคต

921032

Advertisement

แชร์
ศาลรัฐธรรมนูญ แถลงปฏิญญากรุงเทพฯ ฐานะประธานสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย