นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงหลังประชุมครม.ในวันนี้(24 มี.ค.) ถึงมาตรการดูแลเยียวยาระยะที่ 2 ต่อแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในประกันสังคม และผู้ประกอบ รายละเอียดดังนี้
มาตรการดูแลเยียวยาแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในประกันสังคม (ราว 3 ล้านคน)
เพิ่มสภาพคล่อง
1. มอบเงินสนับสนุนคนละ 5,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน
2. เพิ่มสินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาท/คน (ดอกเบี้ย 0.1 % ไม่ต้องมีหลักประกัน)
3. สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาท/คน (ดอกเบี้ย 0.35% ใช้หลักประกัน)
4. โรงรับจำนำดอกเบี้ยต่ำ 0.125% /เดือน
ลดภาระ
1. ยืดเวลาเสียภาษี (ถึงส.ค.63)
2. หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่ม
3. ยกเว้นภาษีเงินได้ค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรการแพทย์
เพิ่มทักษะ
1. จัดฝึกอบรม เพิ่มทักษะอาชีพ รวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้
มาตรการดูแลเยียวยาผู้ประกอบการ
เพิ่มสภาพคล่อง
1.สินเชื่อรายย่อย ไม่เกิน 3 ล้านบาท (วงเงิน 10,000 ล้านบาท / ดอกเบี้ย 3% 2 ปีแรก)
ลดภาระ
1.ยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
-ภ.ง.ด. 50 จากเดิม พ.ค. เป็น ส.ค.63
-ภ.ง.ด.51 จาก ส.ค. เป็น ก.ย.63
2.ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้กับผู้ประกอบการที่ได้รัผลกระทบ
- เลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบและชำระภาษีทุกประเภท 1 เดือน
3.ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้อุตสาหกรรมน้ำมัน(เป็นเวลา 3 เดือน)
- เลื่อนการยื่นและชำระภาษีภายใน 0 วันเป็นภายใน 5 วันของเดือนถัดไป
4.ยกเว้นอากรนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโควิด-19 เป็นวเลา 6 เดือน (ถึงก.ย.63)
5.ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรัปรุงโครงสร้างหนี้ (Non-Bank)
-ให้เจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 63
Advertisement