วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดยะลา สืบเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2567 ปริมาณฝนสะสม 2 วัน อยู่ที่ 579.8 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง และดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่ จังหวัดยะลา
ล่าสุดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดยะลา เช้านี้ 28 กรกฎาคม 2567 ยังมีฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยพื้นที่ตำบลรอบนอก ในเขตตัวเมืองยะลา ทั้ง 10 ตำบล มีน้ำท่วมโอบล้อมเมืองในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบแล้ว 5 อำเภอ
ทั้งนี้ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จังหวัดยะลา ได้สรุปสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดยะลา วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ตามที่ได้มีฝนตกหนักถึงหนักมากอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2567 ปริมาณฝนสะสม ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง และดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่จังหวัดยะลา ได้รับผลกระทบ 5 อำเภอ ประกอบด้วย (อำเภอเมืองยะลา อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหา รามัน และกาบัง) 45 ตำบล 26,565 หมู่บ้าน 27 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27,425 ครัวเรือน 107,741 คน อพยพ 63 ครัวเรือน275 คน ถนน 95 สาย สะพาน 10 แห่ง และเสาไฟฟ้า 6 ต้น
เช้านี้ ที่ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองจังหวัดยะลา สภาพบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 4 ต.หน้าถ้ำ อ.เมือง จ.ยะลา ได้รับผลกระทบเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับมวลน้ำจากคลองละแอ ในพื้นที่อำเภอยะหา ไหลลงมา ทำให้ประชาชนได้ต้องอพยพสิ่งของขึ้นชั้นสองของบ้าน ระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร พร้อมทั้งการประสานความช่วยเหลือจากทางเจ้าหน้าที่ เป็นการด่วน
ขณะที่พื้นที่ย่านเศรษฐกิจการค้า ที่ถนนศรีบำรุง ยะลาสายกลาง ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทางจังหวัดยะลา ได้มีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยร่วมบูรณาการฝ่าวิกฤตอุทกภัยน้ำท่วมยะลา ปี 67 เร่งดำเนินการ อพยพประชาชน ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก มาอยู่ในศูนย์พักพิงในที่ปลอดภัย พร้อมทั้งการอยู่แลอาหารการกินให้กับพี่น้องประชาน อย่างเต็มที่
Advertisement