วันที่ 25 ธ.ค. 67 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการ สปส. กล่าวว่า ในปี 68 กระทรวงแรงงาน โดยสปส. ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ เพื่อดูแลผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง โดยผู้ประกันตนจะได้รับการวินิจฉัยรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพแบบครบวงจร ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยจนสิ้นสุดการรักษา ซึ่งผู้ประกันตนสามารถตัดสินใจร่วมกับแพทย์ที่ทำการรักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิ เพื่อขอเข้ารับการรักษา ระบบจะทำการเลือกสถานพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็งที่ทำความตกลงไว้กับ สปส. เป็นการเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพในการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง และเพิ่มการเข้าถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการรักษารวมถึงการเข้าถึงยาที่เป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
“จะเห็นได้ว่าการเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับจากโครงการ SSO Cancer Care ประมาณ 100,000 คน/ปี มีสถานพยาบาลที่ทำความตกลงดูแลรักษาโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงบริการได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สปส. มีความมุ่งมั่นพัฒนาสิทธิประโยชน์ด้านการรักษา เพื่อดูแลสุขภาพของผู้ประกันตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศ ผู้ประกันตนสามารถสอบถาม เพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือโทร.สายด่วน 1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการ ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง)”
สำหรับรายชื่อสถานพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็งที่เข้าร่วมให้บริการผู้ประกันตนอย่างครบวงจร ในโครงการ “SSO Cancer Care” จำนวน 19 แห่ง ได้แก่ 1. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 2. โรงพยาบาลราชวิถี 3. โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี 4. โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี 5. โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี 6. โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
7. โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี 8. โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง 9. โรงพยาบาลมะเร็งมหาวชิราลงกรณธัญบุรี 10. โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ 11. โรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ 12. โรงพยาบาลศูนย์พุทธชินราช 13. โรงพยาบาลศูนย์มหาราชนครศรีธรรมราช 14. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
15. โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งขนาดเล็กแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา 16. โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งวิภารามอมตะนครขนาดเล็ก 17. โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ 18. โรงพยาบาลทั่วไปร้อยเอ็ด และ 19. โรงพยาบาลศูนย์สวรรค์ประชารักษ์
สำหรับรายชื่อสถานพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็งที่เข้าร่วมให้บริการผู้ประกันตน ประเภทการให้บริการเคมีบำบัด จำนวน 29 โครงการ ได้แก่ 1. โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งกรุงเทพขนาดเล็ก 2. โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพระยอง โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งชนาดเล็ก 3. โรงพยาบาลตำรวจ 4. โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 5. โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช 6. โรงพยาบาลศูนย์ชัยภูมิ 7. โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี 8. โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม
9. โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 10. โรงพยาบาลเลิดสิน 11. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 12. โรงพยาบาลทั่วไปชุมแพ 13. โรงพยาบาลทั่วไปบ้านโป่ง 14. โรงพยาบาลทั่วไปพหลพลพยุหเสนา 15. โรงพยาบาลทั่วไปสิชล 16. โรงพยาบาลบึงกาฬ 17. โรงพยาบาลทั่วไปพัทลุง 18. โรงพยาบาลทั่วไปมหาสารคาม 19. โรงพยาบาลทั่วไปโพธาราม 20. โรงพยาบาลทั่วไปหนองคาย
21. โรงพยาบาลทั่วไปกำแพงเพชร 22. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่จุรีเวช 23. โรงพยาบาลทั่วไปมุกดาหาร 24. โรงพยาบาลทั่วไปน่าน 25. โรงพยาบาลทั่วไปท่าศาลา 26. โรงพยาบาลบ้านหมี่ 27. โรงพยาบาลเชียงใหม่ใกล้หมอ 28. โรงพยาบาลพุทธโสธร 29. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และ 30. โรงพยาบาลทั่วไปลำพูน
ส่วนรายชื่อสถานพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็งที่เข้าร่วมให้บริการผู้ประกันตน ประเภทการให้บริการรังสีรักษา จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย 1. โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งกรุงเทพขนาดเล็ก 2. โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพระยอง โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งขนาดเล็ก และ 3. โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งขนาดเล็กรังสีรักษาราชธานี
Advertisement