Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
"พิธีสืบพระชะตาหลวง" เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีสมมงคล 2568

"พิธีสืบพระชะตาหลวง" เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีสมมงคล 2568

10 ม.ค. 68
11:40 น.
|
237
แชร์

พิธีโบราณ "พิธีสืบพระชะตาหลวง" และแห่ไม้ค้ำโพธิ์หลวง เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีสมมงคล พระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ วัดพระเชตุพนฯ

เนื่องในโอกาส พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วราชอาณาจักร แสดงออกซึ่งความจงรักภักดี ความสามัคคี ร่วมใจกันในการเฉลิมฉลอง และถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสดังกล่าว นอกเหนือจากพระราชพิธีฯ แล้ว ภาครัฐบาล และเอกชน ได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองถวายพระพรชัยมงคล ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค โดยจัดกิจกรรมพร้อมกันในวันที่ 14 มกราคม 2568

ในส่วนของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ร่วมกับ คณะสงฆ์หนเหนือ นําโดย เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ จึงได้จัด "พิธีสืบพระชะตาหลวง" เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและถวายพระพรชัยมงคล ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 13 - 20 มกราคม 2568 โดยได้วางแผนจัดกิจกรรมหลักไว้ 5 อย่าง ดังนี้

1. พิธีฮอมบุญถวายเจ้าเหนือหัว โดยนิมนต์พระสงฆ์ จํานวน 74 รูป สวดชัยมงคลคาถา ฮอมบุญถวายเจ้าเหนือหัวตามแบบล้านนาดั้งเดิมถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมี เจ้าประคุณ สมเด็จ พระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เจ้าคณะใหญ่ หนเหนือ และเจ้าคณะภาค 4 ภาค 5 และภาค 7 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และอํานวยการ มีพระญาณวชิรวงศ์ เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เป็นผู้ดําเนินการ จัดทําซุ้มฮอมบุญถวายเจ้าเหนือหัว และเครื่องประกอบพิธี อย่างงดงามสมพระเกียรติยศ ณ พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และมีการโยงสายสิญจน์เป็นตาข่ายแก้วจากซุ้มฮอมบุญถวายเจ้าเหนือหัว ไปทั่วบริเวณปะรําพิธีหลัก และศาลารายทั้ง 10 หลัง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมพิธีได้รับ ฝ้ายมงคลคล้องศีรษะขณะประกอบพิธีด้วย

2. พิธีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีฮอมบุญถวายเจ้าเหนือหัว ภายหลังจากถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ที่มาเจริญชัยมงคลคาถา และคณะฆราวาสรับประทานอาหารกลางวันแล้ว ในภาคบ่ายจะเป็นการถวายไม้ค้ำโพธิ์ โดยการนําไม้ค้ำโพธิ์ จํานวน 73 ต้น เท่าพระชนมายุอันเป็นโบราณราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมาแต่ครั้งรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยแบ่งเป็นไม้แก่นซึ่งประกอบด้วยไม้มงคล 9 ต้น และไม้ไผ่ อีก 64 ต้น แห่ไปถวายยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถือเป็นวัดประจําพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยไม้ค้ำโพธิ์ทั้ง 73 ต้น จะได้รับการขัดล้างด้วยน้าขมิ้นส้มป่อยและประแป้งตลอดต้น จากนั้นนําผ้าขาวที่ทอชั่ว 1 คืนมา ห่อหุ้มที่ปลายไม้มีสวยดอกหรือกรวยใส่ข้าวตอกดอกไม้ และเทียนเป็นการขอขมาไม้ นอกจากนั้น ยังมีหมอนน้อยติดไว้ที่ปลายเพื่อรองรับกิ่งโพธิ์อีกครั้ง รูปแบบของขบวนจะเป็นแบบดั้งเดิมที่มีอุบาสกอุบาสิกา เชิญเครื่องสักการบูชา พร้อมทั้งอัญเชิญเสลี่ยงพระสงฆ์ที่เข้าร่วมพิธีนําหน้า ติดตามด้วยขบวนแห่ ไม้ค้ำโพธิ์ทั้ง 73 ต้น

พร้อมทั้งช่างฟ้อน วงฉิ่งฉาบกรับโหม่งและวงสะล้อซอซึง ตามประเพณีขบวนจะเริ่มจากบริเวณสวนสราญรมย์ แห่ไปยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ลานโพธิ์ลังกา) เมื่อถึงต้นโพธิ์ที่จะถวายไม้ค้ำ จะทําพิธีสมาทานศีล (นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป) จากนั้นกล่าวคําอธิษฐานถวายไม้ค้ำโพธิ์ ทําการค้ำไม้ที่ต้นโพธิ์ และกรวดน้ำถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายเครื่องสักการะตามแบบล้านนาโบราณ และฟ้อนบวงสรวงสมโภชเป็นอันเสร็จพิธี

3. การสาธิตภูมิปัญญาในการจัดเตรียมเครื่องประกอบพิธีกรรม โดยจะนําพ่อครูแม่ครูผู้รู้พื้นฐานล้านนามาสาธิตการจัดเตรียมเครื่องสักการะ และเครื่องประกอบพิธีกรรมตลอดจนวิถีชีวิตในงานปอยต่าง ๆ เช่น การประกอบ อาหารพื้นเมืองเพื่อเลี้ยงดูผู้มาร่วมพิธี การละเล่น ฟ้อนรําต่าง ๆ เพื่อให้ผู้มาร่วม งานรู้สึกเพลิดเพลินไม่เบื่อหน่ายหรือเหน็ดเหนื่อยในช่วงเวลาการเตรียมงาน ในการนี้ จะเป็นศาลาราย สาธิต กิจกรรมประกอบพิธีสืบพระชะตาหลวง

3.1 การสาธิตการทําเครื่องสักการะประกอบพิธี ได้แก่การเย็บบายศรี แบบล้านนา การทําหมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นเทียน ต้นผึ้ง การเย็บสวยดอกหรือ กรวยดอกไม้สดแบบล้านมา การทําบอกน้ำ บอกทราย การจีบพลู – หมากเป็นหงส์ประดับซุ้ม การห่อเมี่ยง การมวนบุหรี่ขี้โย การทําบันได ไม้ค้ำ ขัวไต่ ซึ่งการสาธิตเหล่านี้จะแสดงขั้นตอนการประดิษฐ์ตั้งแต่เป็นวัตถุดิบจนสําเร็จสิ้นพร้อมใช้งาน

3.2 การสาธิตการทําฝ้ายสายสิญจน์ นับตั้งแต่การอืดฝ้าย ดีดฝ้าย ปั้นหลอดและดึงให้เป็นเส้นฝ้าย ตลอดจนสาธิตการทอผ้าขาวเพื่อใช้ห่อไม้ค้ำโพธิ์ รวมถึงการทอผ้าห่อคัมภีร์ที่จะใช้เทศน์และสวดในงานพิธีครั้งนี้ นอกจากนั้น ยังมีการสาธิตการทําหมอนหน้าหกน้อยที่ใช้รองรับกิ่งโพธิ์ในบริเวณที่สัมผัสไม้ค้ำ โดยโบราณเชื่อว่าจะช่วยไม่ให้กิ่งโพธิ์ช้ำ และทําให้กิ่งโพธิ์มีเครื่องรองรับ อันจะส่งผลดีให้แก่ผู้ถวายด้วย

3.3 เป็นการสาธิตการฝั้นเทียนพระชะตา โดยกําหนดเส้นฝ้ายไส้เทียนเท่าพระชนมายุ ขี้ผึ้งที่นํามาใช้เป็นขี้ผึ้งบริสุทธิ์ กรรมวิธีฝั้นเทียนทําตามแบบล้านนาโบราณโดยตลอดทุกขั้นตอน จากนั้นเป็นการสาธิตการทําผางประทีป เพื่อใช้ตามไฟให้แสงสว่างและถวายเป็นพุทธบูชา และราชสักการะ รวมทั้งการสาธิตการจารคัมภีร์ใบลานตามแบบโบราณเพื่อถวายเป็นเครื่องประกอบกัณฑ์เทศน์ในการแสดงพระธรรมเทศนาด้วย

3.4 การสาธิตการทําช่อตุง ซึ่งเป็นธงหรือตุงประเภทต่าง ๆ มีประโยชน์ใช้สอยและมีความหมายแตกต่างกันเพื่อใช้ประกอบพิธีสืบพระชะตาหลวงในครั้งนี้ นอกจากนั้น ยังมีการสาธิตการทําโคมและฉลุกระดาษสําหรับประกอบพิธีโดยพ่อครูที่มีฝีมือเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง

3.5 การสาธิตการทําเครื่องจักสานต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบพิธี เช่น การสานก๋วยแบบต่าง ๆ ชะลอม พานขันดอกไม้ ที่ใช้เป็นเครื่องบูชาต่าง ๆ การทํา สะตวงหรือกระทง การสานก้านมะพร้าวเพื่อใช้ประดับตกแต่งบริเวณราชวัติพิธี

3.6 การสาธิตการประดับตกแต่งไม้ค้ำทั้ง 73 ต้น โดยการแกะสลัก การเขียนสี ทาสี การฉลุกระดาษประดับต่าง ๆ โดยไม้ค้ำเหล่านี้จะแห่ไปค้ำโพธิ์ ถวายเป็นพุทธบูชาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลต่อไป

3.7 การสาธิตการทําอาหารคาวหวานแบบพื้นเมือง สําหรับผู้มาร่วมพิธี รวมถึงอาหารคาวหวานที่จะใช้ประกอบพิธีสืบพระชะตาหลวงด้วย

4. การแสดงศิลปวัฒนธรรม เป็นการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน และการละเล่นต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของงานพิธี บางครั้งการแสดงพื้นบ้านเหล่านี้จะมีการแฝงคติธรรมทางพระพุทธศาสนาไว้ด้วยเพื่อเป็นการสั่งสอนพระพุทธศาสนาให้แก่กุลบุตรกุลธิดา และผู้มาร่วมงานทั้งหลายให้เพลิดเพลินใจ การแสดงศิลปวัฒนธรรมในงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาส่งพ่อครูแม่ครูมาสาธิตการแสดงต่าง ๆ ได้แก่ วงสะล้อซอซึง การฟ้อน ดาบไฟ การฟ้อนเจิง ฟ้อนเล็บ ฟ้อนก๋ายลาย ฟ้อนผางประทีป ฟ้อนปีติ ฟ้อนนก กิงกะลา เป็นต้น

5. กาดมั่ว หรือ ตลาดพื้นบ้านล้านนา เป็นการสาธิตชีวิตประจําวันของชาวล้านนาในอดีต ให้เห็นสภาพชีวิตของประชาชนทั่วไปที่ออกไปเดินซื้อ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ การดํารงชีวิตที่เรียบง่ายปราศจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ การค้าขายที่อาศัยร่มไม้ชายคาหรือเพียงร่มคันเดียวก็สามารถใช้เป็นเครื่องก๋าบังแดดประกอบการค้าขายได้ บรรยากาศในกาดมั่วจะเป็นการจําหน่ายข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งอาหารสดอาหารแห้ง ของเล่นแบบโบราณ ผู้เข้าร่วม กิจกรรมในกาดมั่วทั้งผู้สาธิต และผู้ร่วมงานจะแต่งกายตามแบบล้านนาดั้งเดิม

คณะกรรมการจัดพิธีสืบพระชะตาหลวง ได้จัดเตรียมเครื่องประกอบพิธีตั้งแต่วันที่ 13 - 20 มกราคม 2568 ร่วมกันดําเนินการจัดกิจกรรมที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีการสาธิตภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา โดยพ่อครูแม่ครูพื้นบ้านจากล้านนา การจัดงานครั้งนี้ เจ้าประคุณ สมเด็จ พระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ และเจ้าคณะภาค 4 ภาค 5 และภาค 7 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีพระญาณวชิรวงศ์ เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ รับผิดชอบการจัดพิธี และศาสนพิธี พิธีสืบพระชะตาหลวง ได้นิมนต์พระสงฆ์ที่เคารพนับถือ 74 รูป และจากวัดที่มีชื่อเป็นมงคล และมีความหมายในพิธีสืบพระชะตาหลวง มีวัดดวงดี วัดดับภัย วัดลอยเคราะห์ วัดชัยพระเกียรติ วัดหมื่นล้าน วัดป่าดาราภิรมย์ วัดหม้อคําตวง วัดเจดีย์หลวง วัดชัยมงคล และวัดป่าแป๋ มาสวดชัยมงคลคาถาสืบพระชะตาหลวง ตามแบบล้านนาดั้งเดิม โดยมีการโยงสายสิญจน์เป็นตาข่ายแก้วจากซุ้มพระชะตาหลวงไปทั่วบริเวณพิธี เพื่อให้ผู้เข้าร่วมพิธีได้รับฝ้ายมงคลคล้องศีรษะประกอบพิธี

ส่วนพิธีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ซึ่งจะตั้งขบวนแห่จากสวนสราญรมย์ ไปวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ลานโพธิ์ลังกา) เพื่อเชิญไปค้ำถวายรอบต้นโพธิ์ ประกอบด้วยไม้มงคล ที่เป็นไม้แก่น 9 ต้น และไม้ไผ่สีสุก 64 ต้น จํานวน 73 ต้น ไม้มงคล 9 ต้น มีดังนี้ ไม้ขนุน ไม้แก้ว ไม้มุจลินทร์ ไม้สะบันงา ไม้จัน ไม้บุนนาค ไม้สารภี ไม้อโศก และไม้คําสุก ที่ต้นไม้มงคลแกะสลักรูปงูใหญ่ (ปีมะโรง) อย่างสวยงามซึ่งเป็นปีพระราชสมภพอยู่ บนปลายยอดไม้ค้ำทุกต้น และไม้ค้ำโพธิ์ทั้ง 73 ต้นนี้ ได้รับการขัดล้างด้วยน้ำขมิ้น

Advertisement

แชร์
"พิธีสืบพระชะตาหลวง" เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีสมมงคล 2568